เมนู

กลับมาในกาลมีผมและหนวดขึ้นรุงรัง.
เขาไปสู่ที่ฝังทรัพย์ ด้วยสามารถแห่งเครื่องหมายอันมารดาและบิดา
ให้ไว้ ทราบความที่ทรัพย์ไม่เสียหาย จึงคิดว่า "ใคร ๆ ย่อมจำเรา
ไม่ได้. ถ้าเราจักขุดทรัพย์ขึ้นใช้สอยไซร้, ชนทั้งหลายพึงคิดว่า ' คน
เข็ญใจผู้หนึ่งขุดทรัพย์ขึ้นแล้ว, พึงจับเราแล้ว เบียดเบียน ถ้ากระไร
เราพึงทำการรับจ้างเป็นอยู่, ทีนั้น เขานุ่งผ้าเก่าผืนหนึ่ง ( เที่ยว) ถามว่า
"ใคร ๆ มีความต้องการด้วยคนรับจ้าง มีอยู่หรือ ?" (ไป) ถึงถนน
อันเป็นที่อยู่ของคนผู้จ้างแล้ว.

กุมภโฆสกรับจ้างทำงาน


ขณะนั้น พวกผู้จ้างเห็นเขาแล้ว กล่าวว่า " ถ้าเจ้าจักทำการ
งานของพวกเราได้สักอย่างหนึ่งไซร้, พวกเราจักให้ค่าจ้างสำหรับซื้อภัต."
เขาถามว่า " ชื่อว่าการงานอะไร ? ที่พวกท่านจักให้ทำ."
พวกผู้จ้างตอบว่า " การงานคือการปลุกและการตักเตือน, ถ้า
เจ้าอาจ (ทำ) ได้ไซร้, เจ้าจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เที่ยวบอกว่า " พ่อ
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงลุกขึ้น จงตระเตรียมเกวียนทั้งหลาย, จงเทียม
โคผู้ ในเวลาที่สัตว์พาหนะต่าง ๆ มีช้างและม้าเป็นต้นไปเพื่อต้องการ
กินหญ้า, แม่ทั้งหลาย แม้พวกท่านจงลุกขึ้นต้มยาคู หุงภัต" เขา
รับว่า " ได้จ๊ะ."
ลำดับนั้น พวกผู้จ้างได้ให้เรือนหลังหนึ่งแก่เขา เพื่อประโยชน์
แก่การอยู่ ณ ที่ใกล้. เขาได้การงานนั้นทุกวัน.

พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบฐานะของกุมภโฆสก


อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงพระนามว่า พิมพิสาร ได้ทรงสดับ
เสียงของเขาแล้ว. ก็ท้าวเธอได้เป็นผู้ทรงทราบเสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง,
เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า "นั่นเป็นเสียงของคนผู้มีทรัพย์มาก."
ขณะนั้น นางสนมของท้าวเธอคนหนึ่ง ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ใกล้คิดว่า
" ในหลวงจักไม่ตรัสเหลว ๆ ไหล ๆ, เราควรรู้จักชายนี้." จึงส่งชาย
ผู้หนึ่งไป (สืบ) ด้วยคำว่า "ไปเถิด พ่อ ท่านจงทราบบุรุษนั่น
(แล้วกลับมา )."
เขารีบไป พบกุมภโฆสกนั้นแล้ว ก็กลับมาบอกว่า "นั้นเป็น
มนุษย์กำพร้าคนหนึ่ง ซึ่งทำการรับจ้างของชนผู้จ้างหลาย."
พระราชา ทรงสดับถ้อยคำของบุรุษนั้นแล้ว ก็ทรงดุษณีภาพ,1
ในวันที่ 2 ก็ดี ในวันที่ 3 ก็ดี ครั้นทรงสดับเสียงของกุมภโฆสกนั้นแล้ว
ก็ตรัสอย่างนั้นเหมือนกัน.

นางสนมรับอาสาพระเจ้าพิมพิสาร


นางสนมแม้นั้น ก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน ส่ง (บุรุษ) ไปหลาย
ครั้ง เมื่อเขาบอกว่า " เป็นมนุษย์กำพร้า" จึงคิดว่า " ในหลวง
แม้ทรงสดับคำว่า ' นั่น มนุษย์กำพร้า' ก็ไม่ทรงเชื่อ ตรัสย้ำอยู่ว่า
' นั่นเสียงบุรุษผู้มีทรัพย์มาก ' ในข้อนี้ต้องมีเหตุ; ควรที่เราจะรู้จักชาย
นั้นตามความจริง. " นางสนมนั้น จึงกราบทูลพระราชาว่า "ข้าแต่สม-
มติเทพ ข้าพระบาท เมื่อได้ทรัพย์พันหนึ่งจักพาธิดาไป (ออกอุบาย)
ให้ทรัพย์นั่นเข้าสู่ราชสกุลจงได้."

1. นิ่งเฉย.