เมนู

เอตํ วิเสสโต ญตฺวา อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา
อปฺปมาเท ปโมทนฺตื อริยานํ โคจเร รตา
เต ฌายิโน สาตติถา นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ

"ความไม่ประมาทเป็นเครื่องถึงอมตะ1 ความ
ประมาทเป็นทางแห่งมัจจุ ผู้ไม่ประมาทแล้ว
ชื่อว่าย่อมไม่ตาย: ผู้ใดประมาทแล้ว ผู้นั้นย่อม
เป็นเหมือนคนตายแล้ว; บัณฑิตรู้ความนั่นโดย
แปลกกันแล้ว (ตั้งอยู่ ) ในความไม่ประมาท
บันเทิงอยู่ในความไม่ประมาท: ยินดีในธรรม
เป็นที่โคจรของพระอริยะทั้งหลาย, บัณฑิตผู้ไม่
ประมาทเหล่านั้น มีความเพ่ง มีความเพียรเป็น
ไปติดต่อ. บากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็นนักปราชญ์
ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยม."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาโท ย่อมแสดงเนื้อความกว้าง
คือ ถือเอาเนื้อความกว้างตั้งอยู่. จริงอยู่ พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก
แม้ทั้งสิ้น ซึ่งอาจารย์ทั้งหลายนำมากล่าวอยู่ ย่อมหยั่งลงสู่ความไม่ประมาท
นั่นเอง, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย

1. อมตํ ปทํ แปลว่า เป็นทางแห่งอมตะ ก็ได้ เป็นทางไม่ตาย ก็ได้.

รอยเท้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ของสัตว์ทั้งหลายผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน, รอย
เท้าทั้งปวงนั้น ย่อมถึงความประชุมลงในรอยเท้าช้าง, รอยเท้าช้าง อัน
ชาวโลกย่อมเรียกว่าเป็นยอดแห่งรอยเท้าเหล่านั้น. เพราะรอยเท้าช้างนี้
เป็นของใหญ่ แม้ฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง,
กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นรากเหง้า มีความไม่
ประมาทเป็นที่ประชุมลง, ความไม่ประมาท อันเรากล่าวว่า เป็นยอด
แห่งธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น เหมือนกันแล1."
ก็ความไม่ประมาทนั้นนั่น โดยอรรถ ชื่อว่า ความไม่อยู่ปราศจาก
สติ, เพราะคำว่า " ความไม่ประมาท" นั่น เป็นชื่อของสิอันตั้งมั่น
เป็นนิตย์.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อมตํ ปทํ, พระนิพพาน พระผู้มี-
พระภาคตรัสเรียกว่า อมตะ, เพราะพระนิพพานนั้น ชื่อว่าไม่แก่ไม่ตาย
เพราะความเป็นธรรมชาติไม่เกิด, เหตุนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกพระ-
นิพพานว่า อมตะ, สัตว์ทั้งหลายย่อมถึง อธิบายว่า ย่อมบรรลุอมตะ
ด้วยความไม่ประมาทนี้ เหตุนั้น ความไม่ประมาทนี้จึงชื่อว่า เป็นเครื่อง
ถึง; (ความไม่ประมาท) ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า " เป็นอุบายเครื่อง
บรรลุซึ่งอมตะ" จึงชื่อว่า อมตํ ปทํ.
ภาวะคือความมัวเมา ชื่อว่า ความประมาท. คำว่า ความ
ประมาทนั่น เป็นชื่อของการปล่อยสติ กล่าวคือ ความมีสติหลงลืม.
บทว่า มจฺจุโน แปลว่า แห่งความตาย. บทว่า ปทํ คือ
เป็นอุบาย ได้แก่เป็นหนทาง. จริงอยู่ ชนผู้ประมาทแล้ว ย่อมไม่

1. สํ. มหาวาร. 19/65.

เป็นไปล่วงซึ่งชาติได้, แม้เกิดแล้ว ก็ย่อมแก่ด้วย ย่อมตายด้วย เหตุนั้น
ความประมาท จึงชื่อว่าเป็นทางแห่งมัจจุ คือย่อมนำเข้าหาความตาย.
บาทพระคาถาว่า อปฺปมตฺตา น มียนฺติ ความว่า ก็ผู้ประกอบ
ด้วยสติ ชื่อว่า ผู้ไม่ประมาทแล้ว. ใคร ๆ ไม่พึงกำหนดว่า "ผู้ไม่
ประมาทแล้วย่อมไม่ตาย คือเป็นผู้ไม่แก่และไม่ตาย" ดังนี้, เพราะว่า
สัตว์ไร ๆ ชื่อว่าไม่แก่และไม่ตาย ย่อมไม่มี, แต่ชื่อว่าวัฏฏะของสัตว์
ผู้ประมาทแล้ว กำหนดไม่ได้; (วัฏฏะ) ของผู้ไม่ประมาทกำหนดได้;
เหตุนั้น สัตว์ผู้ประมาทแล้ว แม้เป็นอยู่ ก็ชื่อว่าตายแล้วโดยแท้ เพราะ
ความเป็นผู้ไม่พ้นจากทุกข์ มีชาติเป็นต้นได้, ส่วนผู้ไม่ประมาท เจริญ
อัปปมาทลักษณะแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งมรรคและผลโดยฉับพลัน ย่อมไม่
เกิดในอัตภาพที่ 2 และที่ 3; เหตุนั้นสัตว์ผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น เป็น
อยู่ก็ตาม ตายแล้วก็ตาม ชื่อว่าย่อมไม่ตายโดยแท้.
บาทพระคาถาว่า เย ปมตฺตา ยถา มตา ความว่า ส่วนสัตว์
เหล่าใดประมาทแล้ว, สัตว์เหล่านั้น ย่อมเป็นเหมือนสัตว์ที่ตายแล้ว
ด้วยการขาดชีวิตินทรีย์ มีวิญญาณไปปราศแล้วเช่นกับท่อนฟืนฉะนั้นเทียว
เพราะความที่ตนตายแล้วด้วยความตาย คือ ความประมาท; จริงอยู่
แม้จิตดวงหนึ่งว่า " เราจักถวายทาน, เราจักรักษาศีล เราจักทำอุโบสถ
กรรม" ดังนี้ ย่อมไม่เกิดขึ้น แม้แก่เขาทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ก่อน,
จิตดวงหนึ่งว่า "เราจักบำเพ็ญวัตรทั้งหลาย มีอาจริยวัตรและอุปัชฌาย-
วัตรเป็นต้น, เราจักสมาทานธุดงค์, เราจักเจริญภาวนา" ดังนี้ ย่อม
ไม่เกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้น แม้ผู้เป็นบรรพชิต ดังจิตดวงหนึ่งไม่เกิดขึ้น
แก่สัตว์ที่ตายแล้วฉะนั้น, สัตว์ผู้ประมาทแล้วนั้น จะเป็นผู้มีอะไรเป็น

เครื่องกระทำให้ต่างจากสัตว์ผู้ตายแล้วเล่า ? เพราะฉะนั้น ย่อมเป็นเหมือน
คนตายแล้ว."
บาทพระคาถาว่า เอตํ วิเสสโต ญตฺวา ความว่า รู้ความนั้น
โดยแปลกกันว่า " การแล่นออกจากวัฏฏะของผู้ประมาทแล้วย่อมไม่มี,
ของผู้ไม่ประมาทแล้ว มีอยู่."
มีปุจฉาว่า "ก็ใครเล่า ย่อมรู้ความแปลกกันนั่น ?"
มีวิสัชนาว่า " บัณฑิตทั้งหลาย ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทย่อมรู้."
อธิบายว่า บัณฑิต คือผู้มีเมธา ได้แก่ ผู้มีปัญญาเหล่าใด ตั้งอยู่
ในความไม่ประมาทของตนแล้ว เจริญความไม่ประมาทอยู่ บัณฑิตเหล่า
นั้น ย่อมรู้เหตุอันแปลกกันนั่น.
บาทพระคาถาว่า อปฺปมาเท ปโมทนฺติ ความว่า บัณฑิตเหล่านั้น
ครั้นรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมบันเทิง คือ เป็นผู้มีหน้ายิ้มแย้ม ได้แก่ ยินดี
ร่าเริง ในความไม่ประมาทของตนนั้น.
บาทพระคาถาว่า อริยานํ โคจเร รตา ความว่า บัณฑิตเหล่า
นั้น บันเทิงอยู่ในความไม่ประมาทอย่างนั้น เจริญความไม่ประมาทนั้น
แล้ว ย่อมเป็นผู้ยินดี คือ ยินดียิ่งในโพธิปักขิยธรรม 37 เเยกออก
เป็นสติปัฏฐาน 4 เป็นต้น และในโลกุตรธรรม 9 ประการ อันนับ
ว่าเป็นธรรมเครื่องโคจรของพระอริยะทั้งหลาย คือ พระพุทธเจ้า พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
สองบทว่า เต ฌายิโน ความว่า บัณฑิตผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น
เป็นผู้มีความเพ่งด้วยฌานทั้งสองอย่าง คือ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน กล่าว

คือ สมาบัติ 81, และด้วยลักขณูปนิชฌาน กล่าวคือ วิปัสสนามรรค
และผล.
บทว่า สาตติกา ความว่า เป็นผู้มีความเพียร ซึ่งเป็นไปทาง
กายและทางจิต เป็นไปแล้วติดต่อ จำเดิมแต่กาลเป็นที่ออกบวชจนถึง
การบรรลุพระอรหัต.
บาทพระคาถาว่า นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา ความว่า ผู้ประกอบ
ด้วยความเพียรเห็นปานนี้ว่า "ผลนั้นใด อันบุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยว
แรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยัง
ไม่บรรลุผลนั้น แล้วหยุดความเพียรเสีย จักไม่มี2" (เช่นนี้) ชื่อว่า
บากบั่นมั่น ชื่อว่า เป็นไปแล้วเป็นนิตย์ เหตุไม่ท้อถอยในระหว่าง.
ในคำว่า ผุสนฺติ นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
การถูกต้องมี 2 คือ ญาณผุสนา (การถูกต้องด้วยญาณ),
วิปากผุสนา ( การถูกต้องด้วยวิบาก). ในผุสนา 2 อย่างนั้น มรรค 4
ชื่อว่า ญาณผุสนา. ผล 4 ชื่อว่า วิปากผุสนา. ในผุสนา 2 อย่างนั้น
วิปากผุสนา พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาในบทว่า ผุสนฺติ นี้.
บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ เมื่อทำนิพพานให้แจ้งด้วยอริยผล ชื่อว่า ย่อม
ทำนิพพานให้แจ้งด้วยวิปากผุสนา.
บาทพระคาถาว่า โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ ความว่า (ซึ่งนิพพาน)

1. สมาบัติ 8 คือปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน รวมเรียกว่า รูปสมาบัติ 4.
อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รวมเรียกว่า
อรูปสมาบัติ 4.
2. สัง. นิ. 16/34.


อันเป็นแดนเกษม คือ ไม่มีภัย จากโยคะ 41 อันยังมหาชนให้จมลงใน
วัฏฏะ ชื่อว่า ยอดเยี่ยม เพราะความเป็นสิ่งประเสริฐกว่าโลกิยธรรม
และโลกุตรธรรมทั้งปวง.
ในที่สุดแห่งเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้เป็นพระอริยบุคคล มี
โสดาบันเป็นต้น. เทศนา เป็นกถามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.
เรื่องพระนางสามาวดี จบ.

1. โยคะ 4 กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ.

2. เรื่องกุมภโฆสก [11]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภเศรษฐี
ชื่อกุมภโฆสก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อุฏฺฐานนโต " เป็นต้น.

กุมภโฆสกกลัวตายหนีไปอยู่ภูเขา


ความพิสดารว่า ในนครราชคฤห์ อหิวาตกโรคเกิดขึ้นในเรือน
ของราชคหเศรษฐี. เมื่ออหิวาตกโรคนั้นเกิดขึ้นแล้ว, สัตว์ดิรัจฉาน
ตั้งต้นแต่แมลงวันจนถึงโคย่อมตายก่อน, ถัดนั้นมา ก็ทาสและกรรมกร,
ภายหลังเขาทั้งหมดก็คือเจ้าของเรือน, เพราะฉะนั้น โรคนั้นจึงจับเศรษฐี
และภริยาภายหลังเขาทั้งหมด. สองสามีภริยานั้น โรคถูกต้องแล้ว แลดู
บุตรซึ่งยืนอยู่ ณ ที่ใกล้ มีนัยน์ตาทั้งสองนองด้วยน้ำตา พูดกะบุตรว่า
" พ่อเอ๋ย เขาว่า เมื่อโรคชนิดนี้เกิดขึ้น, ชนทั้งหลาย พังฝาเรือนหนี
ไปย่อมได้ชีวิต, ตัวเจ้าไม่ต้องห่วงใยเราทั้งสองพึงหนีไป ( เสียโดยด่วน)
มีชีวิตอยู่ จึงกลับมาอีก พึงขุดเอาทรัพย์ 40 โกฏิ ที่เราทั้งสองฝังเก็บ
ไว้ในที่โน้นขึ้นเลี้ยงชีวิต."
เขาฟังคำของมารดาและบิดานั้นแล้ว ร้องไห้ ไหว้มารดาบิดา
กลัวต่อภัยคือความตาย ทำลายฝาเรือนหนีไปสู่ชัฏแห่งภูเขา อยู่ในที่นั้น
สิ้น 12 ปีแล้ว จึงกลับมายังที่อยู่ของมารดาบิดา .

เขากลับมาบ้านเดิมไม่มีใครจำได้


ครั้งนั้น ใคร ๆ จำเขาไม่ได้ เพราะความที่ไปในกาลยังเป็นเด็ก