เมนู

เอตํ วิเสสโต ญตฺวา อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา
อปฺปมาเท ปโมทนฺตื อริยานํ โคจเร รตา
เต ฌายิโน สาตติถา นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ

"ความไม่ประมาทเป็นเครื่องถึงอมตะ1 ความ
ประมาทเป็นทางแห่งมัจจุ ผู้ไม่ประมาทแล้ว
ชื่อว่าย่อมไม่ตาย: ผู้ใดประมาทแล้ว ผู้นั้นย่อม
เป็นเหมือนคนตายแล้ว; บัณฑิตรู้ความนั่นโดย
แปลกกันแล้ว (ตั้งอยู่ ) ในความไม่ประมาท
บันเทิงอยู่ในความไม่ประมาท: ยินดีในธรรม
เป็นที่โคจรของพระอริยะทั้งหลาย, บัณฑิตผู้ไม่
ประมาทเหล่านั้น มีความเพ่ง มีความเพียรเป็น
ไปติดต่อ. บากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็นนักปราชญ์
ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยม."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาโท ย่อมแสดงเนื้อความกว้าง
คือ ถือเอาเนื้อความกว้างตั้งอยู่. จริงอยู่ พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก
แม้ทั้งสิ้น ซึ่งอาจารย์ทั้งหลายนำมากล่าวอยู่ ย่อมหยั่งลงสู่ความไม่ประมาท
นั่นเอง, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย

1. อมตํ ปทํ แปลว่า เป็นทางแห่งอมตะ ก็ได้ เป็นทางไม่ตาย ก็ได้.