เมนู

ให้, นางจักเกิดเป็นหญิงรับใช้ของคนอื่น; แต่ว่า เพียงความเป็นผู้รับ
ใช้ของคนอื่น ย่อมดีกว่าความเร่าร้อนในนรกแล." พระเถรีนั้นอาศัย
ความเอ็นดู จึงได้หยิบกระเช้าเครื่องประดับนั้นให้แก่นาง. เพราะผลอัน
ไหลออกแห่งกรรมนั้น นางจึงเป็นคนรับใช้ของคนเหล่าอื่น.

พระศาสดาเสด็จมาแสดงธรรมที่ธรรมสภา


รุ่งขึ้นวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมว่า หญิง 500
มีพระนางสามาวดีเป็นประมุข ถูกไฟไหม้แล้วในตำหนัก, พวกญาติของ
พระนางมาคันทิยา ถูกจุดไฟอันมีฟางเป็นเชื้อไว้เบื้องบนแล้วทำลายด้วย
ไถเหล็ก, พระนางมาคันทิยา ถูกทอดด้วยน้ำมันอันเดือดพล่าน, ในคน
เหล่านั้น ใครหนอแล ? ชื่อว่าเป็นอยู่, ใคร่ ? ชื่อว่าตายแล้ว."
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลาย
นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? เมื่อพวกภิกษุนั้นกราบทูลว่า " ด้วย
เรื่องชื่อนี้ " ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ประมาทแล้ว, คนเหล่านั้น แม้เป็นอยู่ตั้ง 100 ปี ก็ชื่อว่าตายแล้วโดยแท้;
คนเหล่าใด ไม่ประมาทแล้ว, คนเหล่านั้น แม้ตายแล้ว ก็ชื่อว่ายังคง
เป็นอยู่; เพราะฉะนั้น พระนางมาคันทิยา จะเป็นอยู่ก็ตาม ตายแล้วก็ตาม
ก็ชื่อว่าตายแล้วทีเดียว หญิง 500 มีพระนางสามาวดีเป็นประมุข แม้
ตายแล้ว ก็ชื่อว่าเป็นอยู่นั่นเทียว; ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าผู้ไม่ประมาท
ตายแล้ว ชื่อว่าย่อมไม่ตาย; ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
2. อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
อปฺปมตฺตา น มียนฺติ เย ปมตฺตา ยถา มตา

เอตํ วิเสสโต ญตฺวา อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา
อปฺปมาเท ปโมทนฺตื อริยานํ โคจเร รตา
เต ฌายิโน สาตติถา นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ

"ความไม่ประมาทเป็นเครื่องถึงอมตะ1 ความ
ประมาทเป็นทางแห่งมัจจุ ผู้ไม่ประมาทแล้ว
ชื่อว่าย่อมไม่ตาย: ผู้ใดประมาทแล้ว ผู้นั้นย่อม
เป็นเหมือนคนตายแล้ว; บัณฑิตรู้ความนั่นโดย
แปลกกันแล้ว (ตั้งอยู่ ) ในความไม่ประมาท
บันเทิงอยู่ในความไม่ประมาท: ยินดีในธรรม
เป็นที่โคจรของพระอริยะทั้งหลาย, บัณฑิตผู้ไม่
ประมาทเหล่านั้น มีความเพ่ง มีความเพียรเป็น
ไปติดต่อ. บากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็นนักปราชญ์
ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยม."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาโท ย่อมแสดงเนื้อความกว้าง
คือ ถือเอาเนื้อความกว้างตั้งอยู่. จริงอยู่ พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก
แม้ทั้งสิ้น ซึ่งอาจารย์ทั้งหลายนำมากล่าวอยู่ ย่อมหยั่งลงสู่ความไม่ประมาท
นั่นเอง, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย

1. อมตํ ปทํ แปลว่า เป็นทางแห่งอมตะ ก็ได้ เป็นทางไม่ตาย ก็ได้.