เมนู

แม้พวกข้าพเจ้า ทำการตระเตรียมแล้ว ก็จะไป.
ดาบสเหล่านั้น กล่าวว่า "เมื่อท่านทั้งหลายทำการตระเตรียมอยู่,
ความเนิ่นช้าย่อมมีแก่พวกเรา, พวกเราจะไปก่อน, ท่านทั้งหลายพึงมา
ข้างหลัง" ดังนี้แล้ว ก็ไปก่อน, เฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชมเชยแล้ว
ถวายบังคม นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสอนุปุพพีกถา แสดงธรรมแก่ดาบส
เหล่านั้น. ในที่สุดแห่งเทศนา ดาบสทั้งปวงบรรลุพระอรหัตพร้อม
ทั้งปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว ทูลขอบรรพชา ได้เป็นผู้ทรงบาตรและจีวร
อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ดุจพระเถระมีพรรษาตั้ง 100 ในลำดับแห่งพระดำรัส
ว่า "ท่านทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด ."

สามเศรษฐีสร้างวิหาร


เศรษฐีทั้งสามแม้นั้นแล จัดเกวียนคนละ 500 เล่ม บรรทุกเครื่อง
อุปกรณ์แก่ทาน มีผ้า เครื่องนุ่งห่ม เนยใส น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น
ไปถึงเมืองสาวัตถีแล้ว เข้าไปสู่พระเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดา สดับ
ธรรมกถาแล้ว ในที่สุดแห่งกถา ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ถวายทานอยู่
ในสำนักของพระศาสดาประมาณกึ่งเดือนแล้ว ทูลเชิญพระศาสดา เพื่อ
ประโยชน์เสด็จไปสู่เมืองโกสัมพี, เมื่อพระศาสดาจะประทานปฏิญญา จึง
ตรัสว่า "คฤหบดีทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมยินดียิ่งในเรือน
ว่างแล" จึงทูลว่า " ข้อนั้น พวกข้าพระองค์ทราบแล้ว พระเจ้าข้า
การที่พระองค์เสด็จมาด้วยสาสน์ที่พวกข้าพระองค์ส่งไป ย่อมควร"
ดังนี้แล้ว ไปสู่เมืองโกสัมพี ให้สร้างมหาวิหาร 3 หลังคือ โฆสกเศรษฐี

ให้สร้างโฆสิตาราม, กุกกุฏเศรษฐี ให้สร้างกุกกุฏาราม, ปาวาริกเศรษฐี
ให้สร้างปาวาริการาม แล้วส่งสาสน์ไปเพื่อประโยชน์แก่อันเสด็จมาแห่ง
พระศาสดา.
พระศาสดาทรงสดับสาสน์ของเศรษฐีเหล่านั้น ก็ได้เสด็จไป
ในที่นั้นแล้ว. เศรษฐีเหล่านั้นต้อนรับ เชิญให้พระศาสดาเสด็จเข้าไปใน
วิหารแล้ว มอบถวาย 3 ครั้งว่า "ข้าพระองค์ขอถวายวิหารนี้แก่ภิกษุ-
สงฆ์อันมาแต่ 4 ทิศ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข" ดังนี้แล้วย่อม
ปฏิบัติตามวาระ ๆ1. พระศาสดา ย่อมประทับอยู่ในวิหารหนึ่งๆ ทุก ๆ วัน,
ประทับอยู่ในวิหารของเศรษฐีคนใด, ก็ย่อมเสด็จเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต
ที่ประตูเรือนของเศรษฐีคนนั้นแล.

นายสุมนมาลาการเลี้ยงภิกษุสงฆ์


ก็เศรษฐีทั้งสามคนนั้น ได้มีนายช่างมาลาชื่อสุมนะ เป็นผู้อุปัฏฐาก.
นายสุมนมาลาการนั้น กล่าวกะเศรษฐีเหล่านั้น อย่างนี้ว่า "ข้าพเจ้า
เป็นผู้กระทำการอุปัฏฐากท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน, เป็นผู้ใคร่เพื่อ
จะยังพระศาสดาให้เสวย: ขอท่านทั้งหลาย จงให้พระศาสดาแก่ข้าพเจ้า
วันหนึ่ง."
เศรษฐีทั้งสามนั้นกล่าวว่า "นาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนิมนต์
พระศาสดาเสวยในวันพรุ่งนี้เถิด." นายสุมนมาลาการนั้นรับคำว่า "ดีแล้ว
นาย " ดังนี้ จึงนิมนต์พระศาสดา ตระเตรียมเครื่องสักการะ. ในกาลนั้น
พระราชาพระราชทานกหาปณะ 8 กหาปณะ ให้เป็นค่าดอกไม้แก่นาง
สามาวดีทุก ๆ วัน. ทาสีของนางสามาวดีนั้นชื่อนางขุชชุตตรา ไปสู่สำนัก

1. ผลัดเปลี่ยนกันปฏิบัติ.