เมนู

มนต์, เพราะฉะนั้น ในเวลาที่หม่อมฉัน ออกไปในเวลาหรือนอกเวลา
จึงควรที่จะได้ประตูประตูหนึ่ง กับพาหนะตัวหนึ่ง.
พระราชาตรัสรับว่า "ได้."
พระเจ้าอุเทนและพระนางวาสุลทัตตานั้น ได้ทรงยืดประตูหนึ่ง
ซึ่งตนพอใจ ไว้ในเงื้อมมือแล้ว.

พาหนะ 5 ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต


ก็พระราชา มีพาหนะทั้ง 5 คือ :-
นางช้างตัว 1 ชื่อ ภัททวดี ไปได้วันละ 50 โยชน์.
ทาสชื่อว่า กากะ ไปได้ 60 โยชน์.
ม้า 2 ตัว คือ ม้าเวลกังสิ และม้ามุญชเกสิ ไปได้ 100 โยชน์
ช้างนาฬาคิรี ไปได้ 120 โยชน์.

ประวัติที่จะได้พาหนะเหล่านั้น


ดังได้ยินมา พระราชาพระองค์นั้น ในเมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้ทรง
อุบัติขึ้น ได้เป็นคนรับใช้ของอิสรชนผู้หนึ่ง. ต่อมา วันหนึ่งเมื่ออิสรชน
ผู้นั้น ไปนอกพระนคร อาบน้ำแล้วมาอยู่, พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
เข้าไปสู่พระนครเพื่อบิณฑบาต ไม่ได้ภิกษาเลยสักอย่างหนึ่ง เพราะ
ชาวเมืองทั้งสิ้นถูกมารดลใจ มีบาตรตามที่ล้างไว้แล้ว (เปล่า)
ออกไป. ลำดับนั้น มารเข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยเพศที่ไม่มี
ใครรู้จัก แล้วถามท่านในขณะที่ท่านถึงประตูพระนครว่า "ท่านเจ้าข้า
ท่านได้อะไร ๆ บ้างไหม ?" พระปัจเจกพุทธเจ้า ตอบว่า "ก็เจ้าทำ
อาการคืออันไม่ได้แก่เราแล้วหรือมิใช่หรือ ?"

ม. ถ้ากระนั้น ขอท่านจงกลับเข้าไปอีก, คราวนี้ ข้าพเจ้าจัก
ไม่ทำ.
ป. เราจักไม่กลับอีก.
ก็ถ้าพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นพึงกลับไปไซร้ มารนั้นจะพึงสิงร่าง
ของชาวเมืองทั้งสิ้น แล้วปรบมือทำการหัวเราะเย้ยอีก, เมื่อพระปัจเจก-
พุทธเจ้าไม่กลับ มารก็หายไปในที่นั้นเอง. ขณะนั้นอิสรชนผู้นั้น
พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มาอยู่ด้วยทั้งบาตรตามที่ล้างไว้แล้ว (เปล่า)
จึงไหว้ แล้วถามว่า "ท่านเจ้าข้า ท่านได้อะไร ๆ บ้างไหม ?" ท่าน
ตอบว่า "ผู้มีอายุ ฉันเที่ยวไปแล้ว ออกมาแล้ว." เขาคิดว่า "พระ-
ผู้เป็นเจ้า ไม่ตอบคำที่เราถาม กลับกล่าวคำอื่นเสีย, ท่านคงจักยังไม่ได้
อะไร ๆ." ในทันใดนั้น เขาแลดูบาตรของท่าน เห็นบาตรเปล่า ก็เป็น
ผู้แกล้วกล้า แต่ไม่อาจรับบาตร เพราะยังไม่รู้ว่า ภัยในเรือนของตน
เสร็จแล้วหรือยังไม่เสร็จ จึงกล่าวว่า " ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงรอหน่อย"
ดังนี้แล้ว ก็ไปสู่เรือนโดยเร็ว ถามว่า "ภัตสำหรับเราเสร็จแล้วหรือ ?"
เมื่อคนรับใช้ตอบว่า " เสร็จแล้ว" จึงกล่าวกะคนรับใช้นั้นว่า "พ่อ
คนอื่นที่มีความเร็วอันสมบูรณ์กว่าเจ้าไม่มี, ด้วยฝีเท้าอันเร็ว เจ้าจง
ไปถึงพระผู้เป็นเจ้านั้น กล่าวว่า ' ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงให้บาตร,'
แล้วรับบาตรพาโดยเร็ว." เขาวิ่งไปด้วยคำสั่งคำเดียวเท่านั้น รับบาตร
นำมาแล้ว. แม้อิสรชนทำบาตรให้เต็มด้วยโภชนะของตน แล้วกล่าวว่า
"เจ้าจงรีบไป ถวายบาตรนี้แก่พระผู้เป็นเจ้า เราจะให้ส่วนบุญ แต่ทาน
นี้ แก่เจ้า." เขารับบาตรนั้นแล้วไปด้วยฝีเท้า (เร็ว) ถวายบาตรแก่พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วกล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า

เวลาจวนแจแล้ว, ข้าพเจ้าไปและมา ด้วยฝีเท้าอันเร็วยิ่ง, ด้วยผลแห่ง
ฝีเท้าของข้าพเจ้านี้ ขอพาหนะทั้งหลาย 5 ซึ่งสามารถจะไปได้ 50 โยชน์
60 โยชน์ 100 โยชน์ 120 โยชน์ จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า, อนึ่ง
ร่างกายของข้าพเจ้าผู้มาอยู่และไปอยู่ ถูกแสงแห่งดวงอาทิตย์แผดเผาแล้ว,
ด้วยผลแห่งความที่ร่างกายถูกแสงแห่งดวงอาทิตย์แผดเผานั้นของข้าพเจ้า
ขออาชญาของข้าพเจ้า จงแผ่ไปเช่นกับแสงแห่งดวงอาทิตย์ ในที่ ๆ เกิด
แล้วและเกิดแล้ว; ส่วนบุญในเพราะบิณฑบาตนี้ อันนายให้แล้วแก่
ข้าพเจ้า, ด้วยผลอันไหลออกแห่งส่วนบุญนั้น ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีส่วน
แห่งธรรมอันท่านเห็นแล้ว." พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า " ขอความ
ปรารถนาที่ท่านตั้งไว้นี้ จงสำเร็จ" แล้วได้กระทำอนุโมทนาว่า :-
"สิ่งที่ต้องการแล้ว ปรารถนาแล้ว จงพลัน
สำเร็จแก่ท่าน, ขอความดำริทั้งปวง จงเต็ม ดัง
พระจันทร์ ซึ่งมีในดิถีที่ 15. สิ่งที่ต้องการแล้ว
ปรารถนาแล้ว จงพลันสำเร็จแก่ท่าน, ขอความดำริ
ทั้งปวง จงเต็ม ดังแก้วมณี ชื่อว่าโชติรส."

ได้ทราบว่า คาถา 2 คาถานี้แล ชื่อว่า คาถาอนุโมทนาของ
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. รัตนะคือแก้วมณี อันให้สิ่งที่มุ่งหมายทั้งปวง
[แก้วสารพัดนึก] เรียกว่า "แก้วมณีโชติรส" ในคาถานั้น. นี้เป็น
บุรพจริตแห่งบุรุษรับใช้นั้น. เขาได้เป็นพระเจ้าจัณฑปัชโชตในบัดนี้.
และด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรมนั้น พาหนะ 5 เหล่านี้จึงเกิดขึ้น.

พระเจ้าอุเทนหนี


ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จออก เพื่อทรงกีฬาในพระราช-
อุทยาน. พระเจ้าอุเทนทรงดำริว่า " เราควรจะหนีไป ในวันนี้ "
จึงทรงบรรจุกระสอบหนังใหญ่ ๆ ให้เต็มด้วยเงินและทอง วางเหนือหลัง
นางช้าง แล้วพาพระนางวาสุลทัตตาหนีไป. ทหารรักษาวังทั้งหลาย
เห็นพระเจ้าอุเทน กำลังหนีไป จึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทรง
ส่งพลไปด้วยพระดำรัสสั่งว่า " พวกเจ้าจงไปเร็ว ." พระเจ้าอุเทน
ทรงทราบว่า พลนิกายไล่ตามแล้ว จึงทรงแก้กระสอบกหาปณะ ทำ
กหาปณะให้ตก. พวกมนุษย์เก็บกหาปณะขึ้นแล้วไล่ตามไปอีก. ฝ่าย
พระเจ้าอุเทน ก็ทรงแก้กระสอบทองแล้วทำให้ตก เมื่อมนุษย์เหล่านั้น
มัวเนิ่นช้าอยู่ เพราะความละโมบในทอง ก็เสด็จถึงค่ายของพระองค์ ซึ่ง
ตั้งอยู่ภายนอก. ขณะนั้น พลนิกายพอเห็นท้าวเธอเสด็จมา ก็แวดล้อมเชิญ
เสด็จให้เข้าไปสู่พระนครของตน. ท้าวเธอครั้นพอเสด็จไปแล้ว ก็อภิเษก
พระนางวาสุลทัตตา ตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี.
นี้เป็นเรื่องของพระนางวาสุลทัตตา.

ประวัตินางมาคันทิยา


อนึ่ง หญิงอื่นอีก ชื่อว่า นางมาคันทิยา ก็ได้ตำแหน่งแห่ง
อัครมเหสี แต่สำนักของพระราชา. ได้ยินว่า นางเป็นธิดาของพราหมณ์
ชื่อมาคันทิยะ ในแคว้นกุรุ, แม้มารดาของนางก็ชื่อว่ามาคันทิยาเหมือน
กัน. ถึงอาของนางก็ชื่อว่า มาคันทิยะด้วย นางเป็นคนมีรูปงามเปรียบ
ด้วยเทพอัปสร. ก็บิดาของนาง เมื่อไม่ได้สามีที่คู่ควร [แก่นาง] แม้