เมนู

อาจทันพระยาช้างได้ จึงเสด็จขึ้นม้าติดตามไป. เมื่อท้าวเธอรีบตามไปโดย
เร็ว พลนิกายก็ล้าหลัง. พระราชาได้เป็นผู้ ( เสด็จ) พระองค์เดียว
เท่านั้น. ครั้งนั้นเหล่าบุรุษของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ซึ่งดักซุ่มอยู่แล้ว ณ 2
ข้าง (ทาง ) จึงจับท้าวเธอถวายพระเจ้าแผ่นดินของตน. ต่อมา พลนิกาย
ของท้าวเธอ ทราบว่า พระราชาของตนตกไปสู่อำนาจแห่งข้าศึกแล้ว
จึงตั้งค่ายอยู่ภายนอก.

พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงให้พระธิดาเรียนมนต์


ฝ่ายพระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงสั่งให้จับพระเจ้าอุเทนอย่างจับเป็น
แล้วขังไว้ในเรือนขังโจรหลังหนึ่ง ให้ปิดประตูเสีย ทรงดื่มน้ำชัยบาน
ตลอด 3 วัน. ในวันที่ 8 พระเจ้าอุเทนทรงถามพวกผู้คุมว่า
"พ่อทั้งหลาย พระเจ้าแผ่นดินของพวกเจ้าไปไหนเสีย."
พวกผู้คุม. พระเจ้าแผ่นดิน ทรงดื่มน้ำชัยบาน ด้วยทรงยินดีว่า
เราจับปัจจามิตรได้.
พระเจ้าอุเทน. พระเจ้าแผ่นดินของพวกเจ้ามีกิริยาช่างกระไร ดัง
ผู้หญิง, การจับพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นศัตรูกันได้แล้ว จะปล่อยหรือฆ่าเสีย
จึงควรมิใช่หรือ ? นี่สิ กลับให้เรานั่งทนทุกข์ แล้วไปนั่งดื่มน้ำชัยบาน
เสีย.
ผู้คุมเหล่านั้น ก็พากันไปทูลเนื้อความนั้นแด่พระราชา พระองค์
เสด็จไปตรัสถามว่า " ได้ยินว่า ท่านพูดอย่างนี้ จริงหรือ ?"
อุเทน. ถูกแล้ว ท่านมหาราชเจ้า.
จัณฑปัชโชต. ดีละ เราจักปล่อยท่าน, ทราบว่า ท่านมีมนต์
เช่นนี้, ท่านจักไหม้มนต์นั้นแก่เราไหม ?

อุ. ตกลง ข้าพเจ้าจักให้. ในเวลาเรียน จงไหว้ข้าพเจ้าแล้วเรียน
มนต์นั้น; ก็ท่านจักไหว้ข้าพเจ้าหรือไม่เล่า ?
จ. เราจักไหว้ท่านทำไมเล่า ?
อุ. ท่านจักไม่ไหว้หรือ ?
จ. เราจักไม่ไหว้.
อุ. แม้ข้าพเจ้า ก็จักไม่ให้.
จ. เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักลงราชอาชญาแก่ท่าน.
อุ. เชิญทำเถิด, ท่านเป็นอิสระแก่ร่างกายของข้าพเจ้า, แต่ไม่
เป็นอิสระแก่จิต.
พระราชาทรงสดับถ้อยคำอันองอาจของท้าวเธอแล้ว จึงทรงดำริ
ว่า " เราจักเรียนมนต์ของพระเจ้าอุเทนนี้ ได้อย่างไรหนอ ?" แล้วทรง
คิดได้ว่า " เราไม่อาจให้คนอื่นรู้มนต์นี้, เราจักให้ธิดาของเราเรียนใน
สำนักพระเจ้าอุเทนนี้ แล้วจึงเรียนในสำนักของนาง." ลำดับนั้น ท้าวเธอ
จึงตรัสกะพระเจ้าอุเทนนั้นว่า "ท่านจักให้แก่คนอื่นผู้ไหว้แล้วเรียนเอา
หรือ ?"
อุ. อย่างนั้น ท่านมหาราช.
จ. ถ้ากระนั้น ในเรือนของเรามีหญิงค่อมอยู่คนหนึ่ง, ท่านยืนอยู่
ภายนอกม่าน จงบอกมนต์แก่หญิงนั้น ผู้นั่งอยู่ภายในม่านเถิด.
อุ. ดีละ ท่านมหาราช นางจะเป็นคนค่อมหรือคนง่อย ก็ช่าง
เถอะ, เมื่อนางไหว้, ข้าพเจ้าจักให้.
ลำดับนั้น พระราชาเสด็จไปตรัสบอกพระนางวาสุลทัตตาราชธิดา
ว่า " ลูกหญิง ชายเป็นโรคเรื้อนน้ำเต้าคนหนึ่ง รู้มนต์หาค่ามิได้,

พ่อไม่อาจที่จะให้คนอื่นรู้มนต์นั้นได้, เจ้าจงนั่งภายในม่านไหว้ชายนั้น
แล้วเรียนมนต์, ชายนั้น ยืนอยู่ภายนอกม่าน จักบอกแก่เจ้า, พ่อจัก
เรียนจากสำนักของเจ้า." พระเจ้าจัณฑปัชโชตนั้นตรัสทำให้พระราชธิดา
เป็นหญิงค่อม ฝ่ายพระเจ้าอุเทนให้เป็นชายโรคเรื้อนน้ำเต้าอย่างนี้ เพราะ
ทรงเกรงคนทั้งสองนั้นจะทำสันถวะกันและกัน. พระเจ้าอุเทนนั้นประทับ
ยืนอยู่นอกม่านเทียว ได้ตรัสบอกมนต์แก่พระนางผู้ไหว้แล้วนั่งภายใน
ม่าน.

พระอัครมเหสีองค์ที่ 2 ของพระเจ้าอุเทน


ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าอุเทนตรัสกะพระนาง ผู้แม้อันท้าวเธอ
ตรัสบอกบ่อยๆ ก็ไม่สามารถจะกล่าวบทแห่งมนต์ได้ว่า "เหวย อีหญิง
ค่อม ! ปากของมึงมีริมขอบและกระพุ้งแก้มอันหนานัก, มึงจงว่าไปอย่าง
นี้." พระนางทรงกริ้ว จึงตรัสว่า " เหวย อ้ายขี้เรื้อน ชั่วชาติ มึง
พูดอะไร ? คนเช่นกูนะหรือ ชื่อว่าหญิงค่อม ?" ดังนี้แล้ว ทรงยกมุม
ม่านขึ้น, เมื่อพระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า " ท่านเป็นใคร ?" จึงตรัส
บอกว่า "เราชื่อ วาสุลทัตตา ธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน."
พระเจ้าอุเทน. บิดาของท่าน เมื่อตรัสถึงท่านแก่เรา ก็ตรัสว่า
"หญิงค่อม."
วาสุลทัตตา. แม้เมื่อตรัสแก่เรา พระบิดาก็ทรงกล่าวกระทำให้ท่าน
เป็นคนโรคเรื้อนน้ำเต้า. ทั้งสององค์นั้น ทรงดำริว่า "คำนั้น ท้าวเธอ
คงจักตรัสด้วยเกรงเราจะทำสันถวะกัน" แล้วก็ทรงทำสันถวะกันในภายใน
ม่านนั่นเอง.