เมนู

โฆ. เดี๋ยวนี้ ท่านรู้ได้อย่างไร ?
มิต. ลูกสาวของฉันบอกให้ นาย.
โฆ. อันลูกสาวของท่าน ที่ฉันไม่รู้จัก มีอยู่หรือ ?
มิตตกุฎุมพีนั้น เล่าเรื่องของภัททวติยเศรษฐีทั้งหมด จำเดิมแต่
เกิดอหิวาตกโรคแล้ว ก็บอกความที่ตนตั้งธิดาของเศรษฐีนั้นไว้ในตำแหน่ง
ลูกสาวคนโตของตน.
ครั้งนั้น เศรษฐีกล่าวกะมิตตกุฎุมพีนั้นว่า " เมื่อเป็นเช่นนี้
เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่บอกแก่ฉัน ? ธิดาแห่งสหายของฉัน ก็ชื่อว่า
ธิดาของฉัน " ดังนี้แล้ว ให้เรียกนางสามาวดีนั้นมาถามว่า " แม่ ท่าน
เป็นลูกสาวเศรษฐีหรือ ?"
สามาวดี. จ้ะ พ่อ.
โฆสกเศรษฐี กล่าวว่า " ถ้ากระนั้น เจ้าอย่าคิดไป เจ้าเป็น
ธิดาของฉัน " ดังนี้ จุมพิตนางสามาวดีนั้นที่ศีรษะ ให้หญิง 500
แก่นางสามาวดีนั้น เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นบริวาร ตั้งนางสามาวดี
นั้นไว้ในตำแหน่งธิดาคนโตของตนแล้ว.

พระเจ้าอุเทนได้อัครมเหสี


อยู่มา ณ กาลวันหนึ่ง ในนครนั้น ประกาศนักขัตฤกษ์แล้ว
ก็ในงานนักขัตฤกษ์นั้น แม้กุลธิดาทั้งหลาย ผู้มิได้ออกไปภายนอก
ต่างพากันเดินไปสู่แม่น้ำ อาบน้ำกับด้วยบริวารของตน ๆ. เพราะเหตุนั้น
ในวันนั้น แม้นางสามาวดี อันหญิง 500 แวดล้อมแล้วก็ได้ไปเพื่อ
อาบน้ำ โดยทางพระลานหลวงเช่นเดียวกัน. ฝ่ายพระเจ้าอุเทน ประทับ

อยู่ที่สีหบัญชร1 ทอดพระเนตรเห็นนางสามาวดีนั้น จึงตรัสถามว่า
" พวกนี้" หญิงฟ้อนของใคร ?"
ราชบุรุษ ทูลว่า " ไม่เป็นหญิงฟ้อนของใคร พระเจ้าข้า."
อุ. เมื่อเป็นเช่นนี้ เป็นลูกสาวของใครเล่า ?
ร. เป็นลูกสาวของโฆสกเศรษฐี พระเจ้าข้า นางนั้นชื่อสามาวดี.
พระเจ้าอุเทน พอทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงเกิดพระสิเนหา
จึงรับสั่งให้ส่งสาสน์ไปให้เศรษฐีว่า " ได้ยินว่า ขอท่านเศรษฐี จงส่ง
ธิดามาให้แก่ฉัน."
ศ. ส่งไม่ได้ พระเจ้าข้า.
อุ. ได้ยินว่า ขอท่านเศรษฐีอย่าทำอย่างนี้เลย, ขอท่านเศรษฐี
จงส่งมา จงได้.
ศ พวกข้าพระพุทธเจ้า ชื่อว่าคฤหบดี ให้ไม่ได้ ก็เพราะกลัว
ภัยคือการโบยตีคร่านางกุมาริกา พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงกริ้ว จึงรับสั่งให้ตีตราเรือน จับเศรษฐีและภริยา
ของเศรษฐีที่มือให้ทำไว้ ณ ภายนอก. นางสามาวดีอาบน้ำแล้วกลับมา
ไม่ได้โอกาสเพื่อเข้าสู่บ้านได้ จึงถามว่า "นี่อะไร ? พ่อ" บิดาตอบว่า
" แม่ ในหลวง ส่งสาสน์มา เพราะเหตุแห่งเจ้า. เมื่อพวกเรา กล่าวว่า
' ไม่ให้ ' จึงรับสั่งให้ตราเรือน แล้วรับสั่งให้ทำพวกเราไว้ ณ ภาย-
นอก." นางสามาวดีจึงกล่าวว่า " พ่อ กรรมหนักอันพ่อทำแล้ว, ธรรมดา
พระราชา เมื่อส่งสาสน์มาแล้ว ไม่ควรทูลว่า 'ไม่ให้' ควรทูลว่า
' ถ้าพระองค์จะทรงรับธิดาของข้าพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งบริวาร ก็จะถวาย

1. หน้าต่าง.

สิพ่อ." เศรษฐีกล่าวว่า "ดีละ แม่ เมื่อเจ้าพอใจ พ่อก็จักทำตาม
อย่างนั้น" ดังนี้แล้ว จึงให้ส่งสาสน์ไปถวายพระราชาตามนั้น.
พระราชา ทรงรับว่า " ดีแล้ว" ทรงนำนางสามาวดีนั้นมา
พร้อมทั้งบริวาร ทรงอภิเษก ตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหสีแล้ว. หญิง
ที่เหลือ ก็ได้เป็นบริวารของนางเหมือนกัน.
นี้เป็นเรื่องของนางสามาวดี.

พระเจ้าอุเทนถูกจับ


ก็พระเจ้าอุเทน ได้มีพระราชเทวีอีกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนาม
ว่า พระนางวาสุลทัตตา เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าจัณฑปัชโชต.
ความพิสดารว่า ในเมืองอุชเชนี มีพระราชาทรงพระนามว่า พระเจ้า
จัณฑปัชโชต. วันหนึ่ง พระองค์เสด็จมาจากพระราชอุทยาน ทอด
พระเนตรดูสมบัติของพระองค์แล้ว ตรัสว่า " สมบัติเช่นนี้ ของใคร ๆ
แม้อื่น มีไหมหนอ ?" เมื่ออำมาตย์กราบทูลว่า " นี่จะชื่อว่าสมบัติอะไร ?
สมบัติของพระเจ้าอุเทนในเมืองโกสัมพีมากยิ่งนัก" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า
" ถ้าอย่างนั้น เราจักจับพระเจ้าอุเทนนั้น."
อำมาตย์. ใคร ๆ ก็ไม่สามารถจับท้าวเธอได้ พระเจ้าข้า.
พระราชา. เราจักทำอุบายบางอย่าง จับให้ได้.
อำมาตย์. ไม่สามารถดอก พระเจ้าข้า.
พระนราชา. เพราะเหตุอะไรเล่า ?
อำมาตย์. เพราะพระเจ้าอุเทนนั้น รู้ศิลปะ ชื่อหัสดีกันต์, ทรง
ร่ายมนต์แล้วดีดพิณหัสดีกันต์อยู่ จะให้ช้างหนีไปก็ได้, จะจับเอาก็ได้,