เมนู

เพราะทำรั้วจึงชื่อสามาวดี


เศรษฐีธิดานั้น ฟังเสียงอึงคะนึงในโรงทาน จึงถามว่า " พ่อ
ทำไม พ่อจึงไม่ทำชนนี้ให้เงียบเสียงแล้วให้ทานเล่า ?"
มิตตกุฎุมพี จึงกล่าวว่า "ไม่อาจเพื่อทำได้ แม่."
ธ. อาจ พ่อ.
ม. อย่างไร ? แม่.
ธ. พ่อ ขอท่านจงล้อมโรงทาน ติดประตูไว้ 2 แห่ง พอประมาณ
คนผู้เดียวเข้าไปได้เท่านั้นแล้ว จงบอกว่า " พวกท่านจงเข้าประตูหนึ่ง
ออกประตูหนึ่ง" ด้วยอาการอย่างนี้ ชนทั้งหลายก็จักเงียบเสียง รับทาน.
มิตตกุฎุมพีนั้น ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า "อุบายเข้าที่ดี แม่"
ดังนี้ ให้กระทำดังนั้นแล้ว. แม้เศรษฐีธิดานั้น ในกาลก่อน ชื่อสามา,
แต่เพราะนางให้กระทำรั้ว จึงชื่อว่า สามาวดี, จำเดิมแต่นั้น ความ
โกลาหลในโรงทาน ก็ขาดหายไป. โฆสกเศรษฐีได้ฟังเสียงนั้น ในกาล
ก่อน ก็พอใจว่า " เสียงในโรงทานของเรา," แต่เมื่อไม่ได้ยินเสียง
2- 3 วัน จึงถามมิตตกุฎุมพี ผู้มาสู่ที่บำรุงของตนว่า " ทานเพื่อคน
กำพร้าและเพื่อคนเดินทางไกลเป็นต้น อันท่านยังให้อยู่หรือ ?"
มิตตกุฎุมพี. ขอรับ นาย.
โฆสกเศรษฐี. เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไม ฉันจึงไม่ได้ยินเสียง 2-3
วัน ?
มิต. ฉันทำอุบาย โดยอาการที่พวกเขาจะไม่มีเสียงรับกัน.
โฆ. เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ทำในกาลก่อนเล่า ?
มิต. เพราะไม่รู้ นาย.

โฆ. เดี๋ยวนี้ ท่านรู้ได้อย่างไร ?
มิต. ลูกสาวของฉันบอกให้ นาย.
โฆ. อันลูกสาวของท่าน ที่ฉันไม่รู้จัก มีอยู่หรือ ?
มิตตกุฎุมพีนั้น เล่าเรื่องของภัททวติยเศรษฐีทั้งหมด จำเดิมแต่
เกิดอหิวาตกโรคแล้ว ก็บอกความที่ตนตั้งธิดาของเศรษฐีนั้นไว้ในตำแหน่ง
ลูกสาวคนโตของตน.
ครั้งนั้น เศรษฐีกล่าวกะมิตตกุฎุมพีนั้นว่า " เมื่อเป็นเช่นนี้
เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่บอกแก่ฉัน ? ธิดาแห่งสหายของฉัน ก็ชื่อว่า
ธิดาของฉัน " ดังนี้แล้ว ให้เรียกนางสามาวดีนั้นมาถามว่า " แม่ ท่าน
เป็นลูกสาวเศรษฐีหรือ ?"
สามาวดี. จ้ะ พ่อ.
โฆสกเศรษฐี กล่าวว่า " ถ้ากระนั้น เจ้าอย่าคิดไป เจ้าเป็น
ธิดาของฉัน " ดังนี้ จุมพิตนางสามาวดีนั้นที่ศีรษะ ให้หญิง 500
แก่นางสามาวดีนั้น เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นบริวาร ตั้งนางสามาวดี
นั้นไว้ในตำแหน่งธิดาคนโตของตนแล้ว.

พระเจ้าอุเทนได้อัครมเหสี


อยู่มา ณ กาลวันหนึ่ง ในนครนั้น ประกาศนักขัตฤกษ์แล้ว
ก็ในงานนักขัตฤกษ์นั้น แม้กุลธิดาทั้งหลาย ผู้มิได้ออกไปภายนอก
ต่างพากันเดินไปสู่แม่น้ำ อาบน้ำกับด้วยบริวารของตน ๆ. เพราะเหตุนั้น
ในวันนั้น แม้นางสามาวดี อันหญิง 500 แวดล้อมแล้วก็ได้ไปเพื่อ
อาบน้ำ โดยทางพระลานหลวงเช่นเดียวกัน. ฝ่ายพระเจ้าอุเทน ประทับ