เมนู

ทำลายฝาเรือนหนีย่อมพ้นอหิวาตก์


ในกาลนั้น เศรษฐี นามว่า ภัททวติยะ ในภัททวดีนคร ได้เป็น
อทิฏฐบุพพสหาย1ของโฆสกเศรษฐีแล้ว. โฆสกเศรษฐี ได้ฟังสมบัติ
และวัยและประเทศของภัททวติยเศรษฐี ในสำนักของพวกพ่อค้า ซึ่ง
มาแล้ว จากภัททวดีนคร ปรารถนาความเป็นสหายกับเศรษฐีนั้น จึงส่ง
เครื่องบรรณาการไปแล้ว. แม้ภัททวติยเศรษฐี ได้ฟังสมบัติและวัยและ
ประเทศของโฆสกเศรษฐี ในสำนักของพวกพ่อค้า ซึ่งมาแล้ว จากกรุง
โกสัมพี ปรารถนาความเป็นสหายกับเศรษฐี จึงส่งเครื่องบรรณาการไป
แล้ว เศรษฐีทั้งสองนั้น ได้เป็นอทิฏฐบุพพสหายกันและกัน อยู่แล้ว
อย่างนี้.
ในกาลอื่น อหิวาตกโรคตกแล้ว ในเรือนของภัททวติยเศรษฐี
เมื่ออหิวาตกโรคนั้นตกแล้ว แมลงวันย่อมตายก่อน, ต่อนั้น ตั๊กแตน
หนู ไก่ สุกร สุนัข แมว โค ทาสหญิง ทาสชาย ย่อมตายไปโดย
ลำดับกันทีเดียว. มนุษย์เจ้าของเรือนย่อมตายทีหลังเขาทั้งหมด. ในชน
เหล่านั้น พวกใดทำลายฝาเรือนหนีไป พวกนั้นย่อมได้ชีวิต. แม้ใน
กาลนั้น เศรษฐี ภริยาและลูกสาว ก็หนีไปโดยวิธีนั้น ปรารถนาจะเห็น
โฆสกเศรษฐี จึงดำเนินไปสู่กรุงโกสัมพี. 3 คนนั้น มีเสบียงหมดลง
ในระหว่างทาง มีสรีระอิดโรยด้วยลมและแดด และด้วยความหิวกระหาย
ถึงกรุงโกสัมพีด้วยความลำบาก อาบน้ำในสถานอันสบายด้วยน้ำแล้ว
ก็เข้าไปสู่ศาลาแห่งหนึ่ง ที่ประตูเมือง.
ในกาลครั้งนั้น เศรษฐีกล่าวกะภริยาว่า " นางผู้เจริญ ผู้มา

1. เพื่อนที่ไม่เคยพบเห็นกัน.

โดยทำนองนี้ ย่อมไม่ถูกใจแม้ของแม่ผู้บังเกิดเกล้า, ทราบว่า สหาย
ของเราสละทรัพย์วันละพัน ให้ทานแก่คนเดินทาง คนกำพร้าเป็นต้น,
เราส่งลูกสาวไปในที่นั้น ให้นำอาหารมา บำรุงสรีระในที่นี้แล สักวัน
สองวันแล้ว จึงจักเยือนสหาย. " นางรับว่า " ดีแล้ว นาย." เขาพา
กันพักอยู่ที่ศาลานั้นแล. ในวันรุ่งขึ้น เมื่อเขาบอกเวลาแล้ว เมื่อคน
กำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น กำลังไปเพื่อต้องการอาหาร, มารดาและ
บิดาจึงส่งลูกสาวไปด้วยคำว่า " แม่ จงไปนำอาหารมาเพื่อพวกเรา."
ธิดาของตระกูลที่มีโภคะมาก ไม่ละอายเทียว เพราะความที่ตนมีความ
ละอายอันความวิบัติตัดขาดแล้ว ถือถาดไปเพื่อต้องการอาหารกับคนกำพร้า
อันมิตตกุฎุมพี ถามว่า "ท่านจักรับกี่ส่วน ? แม่ " ก็บอกว่า "3 ส่วน."
ทีนั้น มิตตกุฎุมพี จึงให้ภัตตาหาร 3 ส่วนแก่นาง. เมื่อนางนำภัตมา
แล้ว ทั้ง 3 ก็นั่งเพื่อบริโภคร่วมกัน. ครั้งนั้น มารดาและลูกสาว จึง
กล่าวกะเศรษฐีว่า " นาย อันความวิบัติ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ตระกูลใหญ่,
อย่านึกถึงพวกฉัน จงบริโภคเถิด, อย่าคิดเลย ." อ้อนวอนด้วยประการ
ต่าง ๆ ยังเศรษฐีนั้น ให้บริโภคแล้ว ด้วยประการอย่างนี้.
เศรษฐีนั้นบริโภคแล้ว ไม่สามารถจะให้อาหารย่อยได้, เมื่อ
อรุณขึ้นไปอยู่, ก็ได้ทำกาละแล้ว. มารดาและลูกสาว คร่ำครวญร่ำไห้
ด้วยประการต่าง ๆ. ในวันรุ่งขึ้น เด็กหญิง (กุมาริกา) เดินร้องไห้ไป
เพื่อต้องการอาหาร อันมิตตกุฎุมพีนั้นเห็นเขาแล้ว จึงถามว่า " ท่าน
จักรับกี่ส่วน ? แม่ จึงบอกว่า " 2 ส่วน." มิตตกุฎุมพีนั้น จึงได้
ให้ 2 ส่วน. นางนำมาแล้ว ก็อ้อนวอนให้มารดาบริโภค. มารดานั้น
อันธิดาของตนนั้นอ้อนวอนอยู่ บริโภคแล้ว ไม่สามารถจะให้อาหาร

ย่อยได้ ในวันนั้น ก็ได้ทำกาละแล้ว. เด็กหญิงผู้เดียวเท่านั้น ร้องไห้
ร่ำไร เป็นผู้มีความทุกข์เพราะความหิว อันเกิดขึ้นแล้วอย่างหนัก เพราะ
ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์นั้น ในวันรุ่งขึ้น เดินร้องไห้ไปเพื่อต้องการอาหาร
กับพวกยากจน อันมิตตกุฎุมพีถามว่า "ท่านจักรับกี่ส่วน ? แม่"
จึงบอกว่า "ส่วนเดียว." มิตตกุฎุมพีจำนางผู้รับภัตได้ทั้ง 3 วัน, เพราะ
เหตุนั้น จึงกล่าวกะนางว่า " จงฉิบหายเถิด หญิงถ่อย วันนี้เจ้า
รู้จักประมาณท้องของเจ้าหรือ ?" ธิดามีตระกูลสมบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ
เหมือนต้องประหารด้วยหอกที่อก และเหมือนรดด้วยน้ำด่างที่แผล ร้องถาม
ว่า " อะไร ? นาย."
มิตตกุฎุมพี. วันก่อนเจ้ารับเอาไปแล้ว 3 ส่วน. วันวาน 2 ส่วน
วันนี้รับเอาส่วนเดียว, วันนี้ เจ้ารู้ประมาณท้องของตัวแล้วหรือ ?
กุลธิดา. นาย ท่านอย่าเข้าใจฉันว่า "รับไปเพื่อตนเองผู้เดียว."
มิต. เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไมจึงรับเอาไป 3 ส่วน ? แม่.
กุล. ในวันก่อน พวกฉันมีกัน 3 คน นาย, วานนี้ มี 2 คน,
วันนี้ มีฉันผู้เดียวเท่านั้น.
มิตตกุฎุมพี จึงถามว่า " ด้วยเหตุไร ?" ฟังเรื่องทั้งหมด อัน
นางบอกแล้ว ตั้งแต่ต้น ไม่สามารถจะกลั้นน้ำตาไว้ได้ เกิดความเศร้าใจ
อย่างเหลือเกิน จึงบอกว่า "แม่ เมื่อมีเหตุอย่างนี้ อย่าคิดไปเลย,
ท่านเป็นธิดาของภัททวติยเศรษฐี ตั้งแต่วันนี้ไป จงเป็นธิดาของเราเถิด"
ดังนี้แล้ว จุมพิตที่ศีรษะ นำไปสู่ที่เรือน ตั้งไว้ในตำแหน่งธิดาคนโต
ของตนแล้ว.

เพราะทำรั้วจึงชื่อสามาวดี


เศรษฐีธิดานั้น ฟังเสียงอึงคะนึงในโรงทาน จึงถามว่า " พ่อ
ทำไม พ่อจึงไม่ทำชนนี้ให้เงียบเสียงแล้วให้ทานเล่า ?"
มิตตกุฎุมพี จึงกล่าวว่า "ไม่อาจเพื่อทำได้ แม่."
ธ. อาจ พ่อ.
ม. อย่างไร ? แม่.
ธ. พ่อ ขอท่านจงล้อมโรงทาน ติดประตูไว้ 2 แห่ง พอประมาณ
คนผู้เดียวเข้าไปได้เท่านั้นแล้ว จงบอกว่า " พวกท่านจงเข้าประตูหนึ่ง
ออกประตูหนึ่ง" ด้วยอาการอย่างนี้ ชนทั้งหลายก็จักเงียบเสียง รับทาน.
มิตตกุฎุมพีนั้น ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า "อุบายเข้าที่ดี แม่"
ดังนี้ ให้กระทำดังนั้นแล้ว. แม้เศรษฐีธิดานั้น ในกาลก่อน ชื่อสามา,
แต่เพราะนางให้กระทำรั้ว จึงชื่อว่า สามาวดี, จำเดิมแต่นั้น ความ
โกลาหลในโรงทาน ก็ขาดหายไป. โฆสกเศรษฐีได้ฟังเสียงนั้น ในกาล
ก่อน ก็พอใจว่า " เสียงในโรงทานของเรา," แต่เมื่อไม่ได้ยินเสียง
2- 3 วัน จึงถามมิตตกุฎุมพี ผู้มาสู่ที่บำรุงของตนว่า " ทานเพื่อคน
กำพร้าและเพื่อคนเดินทางไกลเป็นต้น อันท่านยังให้อยู่หรือ ?"
มิตตกุฎุมพี. ขอรับ นาย.
โฆสกเศรษฐี. เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไม ฉันจึงไม่ได้ยินเสียง 2-3
วัน ?
มิต. ฉันทำอุบาย โดยอาการที่พวกเขาจะไม่มีเสียงรับกัน.
โฆ. เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ทำในกาลก่อนเล่า ?
มิต. เพราะไม่รู้ นาย.