เมนู

1. ด้วยความสิ้นอายุ
2. ด้วยความสิ้นบุญ
3. ด้วยความสิ้นอาหาร
4. ด้วยความโกรธ
ในเหตุ 4 อย่างเหล่านั้น เทพบุตรองค์ใดทำบุญกรรมไว้มาก
เทพบุตรองค์นั้นเกิดในเทวโลก ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุแล้ว ก็เกิด
ในเทวโลกชั้นสูง ๆ ขึ้นไป, อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเคลื่อนด้วยความ
สิ้นอายุ. เทพบุตรองค์ใดทำบุญไว้น้อย; บุญนั้นของเทพบุตรนั้น
ย่อมสิ้นไปเสียในระหว่างเทียว เหมือนธัญชาติ ที่บุคคลใส่ไว้ในฉางหลวง
เพียง 4-5 ทะนานฉะนั้น, เทพบุตรนั้นย่อมทำกาละเสียในระหว่าง
เที่ยว, อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเคลื่อนด้วยความสิ้นบุญ. เทพบุตรบางองค์
มักบริโภคกามคุณ ไม่บริโภคอาหาร เพราะการหลงลืมสติ มีกายอัน
เหนื่อยอ่อน ทำกาละ, อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเคลื่อนด้วยการสิ้นอาหาร.
เทพบุตรบางองค์ ไม่อดทนสมบัติของผู้อื่น โกรธเคืองแล้วจึงทำกาละ,
อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเคลื่อนด้วยความโกรธ.

โฆสกเทพบุตรไปเกิดในกรุงโกสัมพี


ก็โฆสกเทพบุตรนี้ มัวบริโภคกามคุณอยู่ หลงลืมสติ จึงเคลื่อน
ด้วยความสิ้นอาหาร. ก็แลเคลื่อนเสร็จแล้ว ไปถือปฏิสนธิในท้องแห่ง
หญิงงามเมืองในกรุงโกสัมพี. ในวันคลอด นางถามทาสีว่า "นี่อะไร ?"
เมื่อนางทาสีตอบว่า "ลูกชาย เจ้าค่ะ" จึงบอกให้นางทาสีเอาไปทิ้งด้วย
คำว่า "เจ้าจงเอาทารกนี้ใส่กระด้งแล้วเอาไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ " แท้จริง

หญิงงามเมืองทั้งหลาย ย่อมเลี้ยงลูกหญิง ไม่เลี้ยงลูกชาย; เพราะเชื้อสาย
ของพวกหล่อนจะสืบไปได้ ก็ด้วยลูกหญิง. กาบ้าง สุนัขบ้าง ต่างพากัน
จับกลุ่มแวดล้อมเด็กไว้. ด้วยผลแห่งการเห่า อันเกิดแต่ความรักในพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า สัตว์ตัวหนึ่งก็ไม่อาจเข้าใกล้ได้. ในขณะนั้น คนผู้หนึ่ง
ออกไปนอกบ้านเห็นการจับกลุ่มของกาและสุนัขนั้น คิดว่า "นี่มันเหตุ
อะไรกันหนอ ?" จึงเดินไปที่นั้น เห็นทารก หวนได้ความรักเหมือน
ดังลูก จึงนำไปสู่เรือนด้วยดีใจว่า " เราได้ลูกชายแล้ว."

นางกาลีนำโฆสกทารกไปให้โคเหยียบ


ในกาลครั้งนั้น เศรษฐีชาวเมืองโกสัมพี ไปสู่ราชตระกูล พบ
ปุโรหิตเดินมาแต่พระราชวัง จึงถามว่า "ท่านอาจารย์ วันนี้ท่านได้
ตรวจตราดูความประกอบของดาวนักษัตร1 อันเป็นเหตุเคราะห์ดีเคราะห์-
ร้ายแล้วหรือ ?"
ปุโรหิต. จ้ะ ท่านมหาเศรษฐี. กิจอะไรอื่นของพวกเราไม่มี.
เศรษฐี. อะไรจะมีแก่ชนบทหรือ ? ท่านอาจารย์.
ปุโรหิต. อย่างอื่นไม่มี, แต่เด็กที่เกิดในวันนี้ จักได้เป็นเศรษฐี
ผู้ประเสริฐในเมืองนี้.
ครั้งนั้น ภรรยาของเศรษฐีมีครรภ์แก่, เพราะฉะนั้น เศรษฐีนั้น
จึงส่งคนใช้ไปสู่เรือนโดยเร็วด้วยคำว่า " จงไป จงทราบภรรยาของเรา
นั้นว่า ตลอดแล้ว หรือยังไม่ตลอด," พอทราบว่า " ยังไม่ตลอด,"
เฝ้าพระราชาเสร็จแล้ว รีบกลับบ้าน เรียกหญิงคนใช้ชื่อกาลีมาแล้ว

1. ติถิกรณนกฺขตฺตโยโค ความประกอบแห่งนักษัตรอันเป็นเครื่องกระทำซึ่งดิถี.