เมนู

โดยที่สุดถึงสรีระของตน ก็ตามไปไม่ได้, ต้องละสิ่งทั้งปวงไป, ประโยชน์
อะไรด้วยการอยู่ครองเรือนของเรา, เราจักบวช" ดังนี้แล้ว ทรงมอบ
รัชสมบัติ ให้แก่พระโอรสและพระมเหสี ออกผนวชเป็นพระฤษี อยู่
ในหิมวันตประเทศ ได้ทรงปรึกษากันว่า " พวกเราไม่อาจเพื่อเป็นอยู่
จึงละราชสมบัติออกบวชก็หาไม่, เราเหล่านั้น เมื่ออยู่ในที่แห่งเดียวกัน
ก็จักเหมือนกับผู้ไม่บวชนั้นเอง, เพราะฉะนั้น เราจักแยกกันอยู่: ท่าน
จงอยู่ ที่ภูเขาลูกนั้น, เราจักอยู่ที่ภูเขาลูกนี้; แต่จักรวมกัน ในวันอุโบสถ
ทุกกึ่งเดือน." ครั้งนั้นพระดาบสทั้งสองนั้น เกิดมีความดำริขึ้นอย่างนี้ว่า
" แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ความคลุกคลีด้วยคณะเทียว จักมีแก่เราทั้งหลาย,
ท่านพึงจุดไฟให้โพลงขึ้นที่ภูเขาของท่าน, เราก็จักจุดไฟให้โพลงขึ้นที่
ภูเขาของเรา; ด้วยเครื่องสัญญานั้น เราทั้งหลาย ก็จักรู้ความที่เรายังมี
ชีวิตอยู่." พระดาบสทั้งสองนั้นกระทำอย่างนั้นแล้ว.

เรียนมนต์และพิณ


ต่อมาในกาลอื่น เวฏฐทีปกดาบส ทำกาละ บังเกิดเป็นเทพเจ้า
ผู้มีศักดิ์ใหญ่. แต่นั้น ครั้นถึงกึ่งเดือน อัลลกัปปดาบส พอแลไม่เห็น
ไฟ ก็ทราบได้ว่า " สหายของเรา ทำกาละเสียแล้ว." แม้เวฏฐทีปก-
ดาบส ตรวจดูทิพพสิริของตนในขณะที่เกิด ใคร่ครวญถึงกรรม เห็น
กิริยาที่ตนกระทำ จำเดิมแต่ออกบวชแล้ว คิดว่า " บัดนี้ เราจักไป
เยี่ยมสหายของเรา" ในขณะนั้น จึงละอัตภาพนั้นเสีย เป็นเหมือน
คนหลงทาง ไปยังสำนักของอัลลกัปปดาบสนั้น ไหว้แล้ว ได้ยืนอยู่ ณ
ที่สมควรแห่งหนึ่ง.

ลำดับนั้น อัลลกัปปดาบสนั้น จึงกล่าวถามบุรุษนั้นว่า
"ท่านมาจากไหน ?"
บุรุษ. ท่านผู้เจริญ ผมเป็นคนหลงทาง เดินมาจากที่ไกลเหลือเกิน,
ก็พระผู้เป็นเจ้า อยู่รูปเดียวเท่านั้น ในที่นี้ หรือ ? มีใครอื่นบ้างไหม ?
อัลละ. มีสหายของเราอยู่ผู้หนึ่ง.
บุรุษ. ผู้นั้น ไปอยู่ที่ไหนหรือ ?
อัลละ. เขาอยู่ที่ภูเขาลูกนั้น. แต่วันอุโบสถ เขาไม่จุดไฟให้โพลง,
เขาจักตายเสียแล้วเป็นแน่.
บุรุษ. เป็นอย่างนั้นหรือ ขอรับ ?
อัลละ. ผู้มีอายุ เป็นอย่างนั้น.
บุรุษ. กระผมคือผู้นั้น ขอรับ.
อัลละ. ท่านเกิดที่ไหน ?
บุรุษ กระผมเกิดเป็นเทพเจ้า ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ในเทวโลกขอรับ,
มาอีก ก็ด้วยประสงค์ว่า ' จักเยี่ยมพระผู้เป็นเจ้า' เมื่อพระผู้เป็นเจ้าอยู่
ในที่นี้ อุปัทวะอะไร มีบ้างหรือ ?
อัลละ. เออ อาวุโส, เราลำบาก เพราะอาศัยช้าง.
บุรุษ. ท่านผู้เจริญ ก็ช้างทำอะไรให้ท่านเล่า ?
อัลละ. มันถ่ายคูถลงในที่กวาด, เอาเท้าประหารคุ้ยฝุ่นขึ้น;
ข้าพเจ้านั้น คอยขนคูถช้างทิ้ง คอยเกลี่ยฝุ่นให้เสมอ ก็ย่อมลำบาก.
บุรุษ. พระผู้เป็นเจ้าปรารถนาจะไม่ให้ช้างเหล่านั้นมาไหมเล่า ?
อัลละ. เออ อาวุโส.
บุรุษ ถ้ากระนั้น กระผมจักทำไม่ให้ช้างเหล่านั้นมา ได้ถวายพิณ

สำหรับให้ช้างใคร่ และสอนมนต์สำหรับให้ช้างใคร่ แก่พระดาบสแล้ว:
ก็เมื่อจะให้ ได้ชี้แจงสายพิณ 3 สาย ให้เรียนมนต์ 3 บท แล้วบอกว่า
" เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว, ช้างไม่อาจแม้เพื่อจะหันกลับ
แลดู ย่อมหนีไป; เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว ช้างจะกับ
เหลียวดูเบื้องหลังพลางหนีไป: เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว
ช้างนายฝูง ย่อมน้อมหลังเข้ามาหา," แล้วกล่าวว่า "สิ่งใด อันท่าน
ชอบใจ, ท่านพึงทำสิ่งนั้นเถิด." ไหว้พระดาบสแล้ว ก็หลีกไป.
พระดาบส ร่ายมนต์บทสำหรับไล่ช้าง ดีดสายพิณสำหรับไล่ช้าง
ยังช้างให้หนีไปอยู่แล้ว.

พระเจ้าอุเทนกับหัสดีลิงค์


ในสมัยนั้น ในกรุงโกสัมพี ได้มีพระะราชาทรงพระนามว่าพระเจ้า
ปรันตปะ วันหนึ่ง พระเจ้าปรันตปะทรงนั่งผิงแดดอ่อนอยู่ที่กลางแจ้ง1
กับพระราชเทวี ผู้ทรงครรภ์. พระราชเทวี ทรงห่มผ้ากัมพลแดงอันมี
ราคาแสนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระภูษาทรงของพระราชา ทรงนั่งปราศรัยกับ
พระราชา ถอดพระธำมรงค์ อันมีราคาแสนหนึ่งจากพระองคุลีของ
พระราชา มาสวมใส่ที่นิ้วของพระองค์.
ในสมัยนั้น นกหัสดีลิงค์ บินมาโดยอากาศ เห็นพระราชเทวี
จึงชะลอปีกบินโผลง โดยหมายว่า " ชิ้นเนื้อ." พระราชาทรงตกพระทัย
ด้วยเสียงโผลงของนกนั้น จึงเสด็จลุกเข้าภายในพระราชิเวศน์. พระราช-
เทวีไม่อาจไปโดยเร็วได้ เพราะทรงครรภ์แก่ และเพราะเป็นผู้มีชาติแห่ง

1. อากาสตเล ที่พื้นแห่งอากาศ.