เมนู

คาถาธรรมบท


อัปปมาทวรรค*ที่ 2


ว่าด้วยความไม่ประมาทและความประมาท


[12] 1. ความไม่ประมาทเป็นเครื่องถึงอมตะ ความ
ประมาทเป็นทางแห่งมัจจุ ผู้ไม่ประมาทแล้วชื่อว่า
ย่อมไม่ตาย ผู้ประมาทแล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือน
คนตายแล้ว บัณฑิตรู้ความนั่นโดยแปลกกันแล้ว
(ตั้งอยู่) ในความไม่ประมาท บันเทิงอยู่ในความไม่
ประมาท ยินดีในธรรมเป็นที่โคจรของพระอริยะ
ทั้งหลาย บัณฑิตผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น มีความเพ่ง
มีความเพียรเป็นไปติดต่อ บากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็น
นักปราชญ์ ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม.
2. ยศย่อมเจริญโดยยิ่งแก่คนผู้มีความขยัน
มีสติ มีการงานสะอาด มีปกติใคร่ครวญแล้วจึงทำ
สำรวมแล้ว เลี้ยงชีพโดยธรรม และไม่ประมาท.
3. ผู้มีปัญญา พึงทำเกาะ (ที่พึ่ง) ที่ห้วงน้ำ
ท่วมทับไม่ได้ ด้วยความหมั่น ด้วยความไม่ประมาท
ด้วยความระวัง และด้วยความฝึก.


*วรรคนี้มี อรรถกถา 9 เรื่อง มีคาถาประจำเรื่องตามลำดับเลขหลังเลขข้อในวงเล็บ

4. พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบ
เนื่อง ๆ ซึ่งความประมาท ส่วนผู้มีปัญญาย่อมรักษา
ความไม่ประมาทได้เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ ท่าน
ทั้งหลาย อย่าตามประกอบความประมาท อย่าตาม
ประกอบความเชยชิดด้วยความยินดีในกาม เพราะ
ว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุสุขอัน
ไพบูลย์.
5. เมื่อใดบัณฑิตบรรเทาความประมาทด้วย
ความไม่ประมาท เมื่อนั้นบัณฑิตนั้น ขึ้นสู่ปัญญา
เพียงดังปราสาท ไม่เศร้าโศก ย่อมพิจารณาเห็น
หมู่สัตว์ผู้มีความเศร้าโศก ปราชญ์ย่อมพิจารณาเห็น
คนพาลทั้งหลายได้ เหมือนคนผู้ยืนอยู่บนยอดเขา
มองเห็นชนผู้ยืนอยู่บนพื้นดินได้ฉะนั้น.
6. ผู้มีปัญญาดี เมื่อชนทั้งหลายประมาทแล้ว
ไม่ประมาท เมื่อชนทั้งหลายหลับแล้ว ตื่นอยู่โดย
มาก ย่อมละบุคคลผู้มีปัญญาทรามไปเสีย ดุจม้า
ตัวมีฝีเท้าเร็ว ละทิ้งม้าตัวหากำลังมิได้ไปฉะนั้น.
7. ท้าวมฆวะถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่า
เทพยดาทั้งหลาย เพราะความไม่ประมาท บัณฑิต
ทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท ความประ-
มาทอันท่านติเตียนทุกเมื่อ.

8. ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท หรือมี
ปกติเห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์
ทั้งละเอียดและหยาบไป ดุจไฟเผาเชื้อมากและน้อย
ไปฉะนั้น.
9. ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท มีปกติ
เห็นภัยในความประมาท ไม่ควรเพื่ออันเสื่อม (จาก
มรรคและผล) ตั้งอยู่แล้วในที่ใกล้แห่งพระนิพพาน
ทีเดียว.

จบอัปปมาทวรรคที่ 2

2. อัปปมาทวรรควรรณนา



1. เรื่องพระนางสามาวดี [15]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่ออาศัยกรุงโกสัมพี ประทับอยู่ที่โฆสิตาราม ทรง
ปรารภความวอดวายคือมรณะ ของหญิง 500 มีพระนางสามาวดีเป็น
ประธาน และของญาติ 500 ของพระนางมาคันทิยานั้น ซึ่งมีนางมา-
คันทิยาเป็นประธาน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปทาโท อมตํ
ปทํ"
เป็นต้น ในเรื่องนั้น มีอนุปุพพีกถา ดังต่อไปนี้ :-

กษัตริย์ 2 สหาย


ในกาลล่วงมาแล้ว พระราชา 2 องค์ เหล่านี้ คือ " ในแคว้น
อัลลกัปปะ พระราชาทรงพระนามว่า อัลลกัปปะ, ในแคว้นเวฏฐทีปกะ
พระราชาทรงพระนามว่า เวฏฐทีปกะ" เป็นพระสหายกัน ตั้งแต่เวลา
ยังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาศิลปะในสำนักอาจารย์เดียวกัน โดยล่วง
ไปแห่งพระราชบิดาของตน ๆ ได้ให้ยกเศวตฉัตรขึ้นแล้ว ทรงเป็นพระ-
ราชาในแคว้น มีประมาณแคว้นละ 10 โยชน์. พระราชา 2 พระองค์
นั้น เสด็จมาประชุมกันตลอดกาลตามกาล (ตามกาลอันสมควร) ทรง
ยืน, นั่ง, บรรทม ร่วมกัน ทอดพระเนตรเห็นมหาชน ผู้เกิดอยู่และ
ตายอยู่ จึงทรงปรึกษากันว่า " ชื่อว่า ผู้ตามคนผู้ไปสู่ปรโลก ไม่มี,