เมนู

มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือ
ในโลกหน้า, เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหิตํ นี้ เป็นชื่อแห่งพระพุทธพจน์
คือพระไตรปิฎก, นรชนเข้าไปหาอาจารย์ทั้งหลาย เล่าเรียนพระพุทธพจน์
นั้นแล้ว กล่าว คือบอก ได้แก่แสดงอยู่ ซึ่งพระพุทธพจน์แม้มาก
แก่ชนเหล่าอื่น (แต่) หาเป็นผู้ทำกิจอันการกบุคคลฟังธรรมนั้นแล้ว
จะพึงทำไม่ คือไม่ยังการทำไว้ในใจให้เป็นไป ด้วยอำนาจแห่งไตรลักษณ์
มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ชั่วขณะแม้สักว่าไก่ปรบปีก, นรชนนั้น ย่อมเป็น
ผู้มีส่วนแห่งผลสักว่าการทำวัตรปฏิวัตรจากลำนักของอันเตวาสิกทั้งหลาย
อย่างเดียว, แต่หาเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะไม่ เหมือนคน
เลี้ยงโครักษาโคทั้งหลายเพื่อค่าจ้างประจำวัน รับไปแต่เช้าตรู่ เวลาเย็น
นับมอบให้แก่เจ้าของทั้งหลายแล้ว รับเอาเพียงค่าจ้างรายวัน, แต่ไม่ได้
เพื่อบริโภคปัญจโครสตามความชอบใจ ฉะนั้นแล.
เหมือนอย่างว่า เจ้าของโคพวกเดียว ย่อมบริโภคปัญจโครสแห่งโค
ทั้งหลาย ที่นายโคบาลมอบให้แล้ว ฉันใด, การกบุคคลทั้งหลาย
ฟังธรรมอันนรชนนั้นกล่าวแล้ว ปฏิบัติตามที่นรชนนั้นพร่ำสอนแล้ว
ก็ฉันนั้น, บางพวกบรรลุปฐมฌานเป็นต้น, บางพวกเจริญวิปัสสนาแล้ว
บรรลุมรรคและผล, จัดว่าเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะ เหมือน
พวกเจ้าของโค ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งโครสฉะนั้น. พระศาสดาตรัสคาถาที่ 1
ด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ผู้มีสุตะมาก (แต่ ) มีปกติอยู่

ด้วยความประมาท ไม่ประพฤติแล้วในการทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย
ด้วยอำนาจแห่งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น, หาตรัสด้วยอำนาจ
แห่งภิกษุผู้ทุศีลไม่ ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนคาถาที่ 2 พระองค์ตรัสด้วยอำนาจแห่งการกบุคคลผู้แม้มีสุตะ
น้อย (แต่) ทำกรรมในการทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายอยู่.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมฺปิ เจ ความว่า น้อย คือแม้
เพียง 1 วรรค หรือ 2 วรรค.
บาทพระคาถาว่า ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี เป็นต้น ความว่า
นรชนรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ประพฤติธรรมอันสมควรแก่โลกุตรธรรม 9
คือประเภทแห่งธรรม มีปาริสุทธิศีล 4 ธุดงคคุณ และอสุภกรรมฐาน
เป็นต้น ที่นับว่าข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้น ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีปกติ
ประพฤติธรรมสมควร คือหวังการแทงตลอดอยู่ว่า " เราจักแทงตลอด
ในวันนี้ เราจักแทงตลอดในวันนี้ ทีเดียว" ชื่อว่าย่อมประพฤติ. นรชน
นั้น ละราคะ โทสะ และโมหะด้วยข้อปฏิบัติชอบนี้แล้ว กำหนดรู้ธรรม
ที่ควรกำหนดรู้ โดยชอบ คือโดยเหตุ โดยนัย มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว
ด้วยอำนาจแห่งตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัส-
สัทธิวิมุตติและนิสสรณวิมุตติ. หมดความถือมั่นอยู่ในโลกนี้หรือในโลกอื่น
คือไม่เข้าไปยึดถือขันธ์อายตนะและธาตุทั้งหลาย อันนับเนื่องในโลกนี้
และโลกอื่น หรืออันเป็นภายในและภายนอก ด้วยอุปาทาน1 4 ชื่อว่า
เป็นมหาขีณาสพ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะคือผล อันมา

1. กามุปาทาน การถือมั่นกาม 1 ทิฏฐุปาทาน การถือมั่นทิฏฐิ 1 สีลัพพตุปาทาน การถือมั่น
ศีลพรต 1 อัตตวาทุปาทาน การถือมั่นวาทะว่าตน 1.

แล้วด้วยอำนาจแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะ กล่าวคือมรรค และคุณเครื่อง
เป็นสมณะคือกองแห่งอเสขธรรม1 5.
พระศาสดาทรงรวบยอดแห่งเทศนาด้วยพระอรหัต เหมือนนายช่าง
ถือเอายอดแห่งเรือน ด้วยยอดแก้วฉะนั้น ดังนี้แล.
ในกาลจบคาถา คนเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคลมีพระโสดาบัน
เป็นต้น. เทศนามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุ 2 สหาย จบ.
ยมกวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 1 จบ.

1. สีลขันธ์ คุณคือศีล 1 สมาธิขันธ์ คุณคือสมาธิ 1 ปัญญาขันธ์ คุณคือปัญญา 1 วิมุตติขันธ์
คุณคือวิมุตติ 1 วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ คุณคือวิมุตติญาณทัสสนะ 1.

คาถาธรรมบท


อัปปมาทวรรค*ที่ 2


ว่าด้วยความไม่ประมาทและความประมาท


[12] 1. ความไม่ประมาทเป็นเครื่องถึงอมตะ ความ
ประมาทเป็นทางแห่งมัจจุ ผู้ไม่ประมาทแล้วชื่อว่า
ย่อมไม่ตาย ผู้ประมาทแล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือน
คนตายแล้ว บัณฑิตรู้ความนั่นโดยแปลกกันแล้ว
(ตั้งอยู่) ในความไม่ประมาท บันเทิงอยู่ในความไม่
ประมาท ยินดีในธรรมเป็นที่โคจรของพระอริยะ
ทั้งหลาย บัณฑิตผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น มีความเพ่ง
มีความเพียรเป็นไปติดต่อ บากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็น
นักปราชญ์ ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม.
2. ยศย่อมเจริญโดยยิ่งแก่คนผู้มีความขยัน
มีสติ มีการงานสะอาด มีปกติใคร่ครวญแล้วจึงทำ
สำรวมแล้ว เลี้ยงชีพโดยธรรม และไม่ประมาท.
3. ผู้มีปัญญา พึงทำเกาะ (ที่พึ่ง) ที่ห้วงน้ำ
ท่วมทับไม่ได้ ด้วยความหมั่น ด้วยความไม่ประมาท
ด้วยความระวัง และด้วยความฝึก.


*วรรคนี้มี อรรถกถา 9 เรื่อง มีคาถาประจำเรื่องตามลำดับเลขหลังเลขข้อในวงเล็บ