เมนู

ทีนั้น พระศาสดา ตรัสถามปัญหาในโสดาปัตติมรรคกับเธอ.
พระคันถิกเถระก็มิสามารถทูลตอบได้. แต่นั้น จึงตรัสถามกะพระขีณาสพ-
เถระ พระเถระก็ทูลตอบได้.

พระวิปัสสกเถระได้รับสาธุการ


พระศาสดา ทรงชมเชยว่า "ดีละ ๆ" แล้วตรัสถามปัญหาแม้ใน
มรรคที่เหลือทั้งหลายโดยลำดับ. พระคันถิกเถระก็มิได้อาจทลตอบปัญหา
ได้สักข้อเดียว ส่วนพระขีณาสพ ทูลตอบปัญหาที่ตรัสถามแล้ว ๆ ได้.
พระศาสดาได้ประทานสาธุการแก่พระขีณาสพนั้นในฐานะทั้งสี่. เทวดา
ทั้งหมด ตั้งต้นแต่ภุมเทวดา จนถึงพรหมโลกและนาคครุฑ ได้ฟังสาธุการ
นั้นแล้ว ก็ได้ให้สาธุการ.
พวกอันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกของพระคันถิกเถระ ได้สดับสาธุการ
นั้นแล้ว จึงยกโทษพระศาสดาว่า " พระศาสดาทรงทำกรรมอะไรนี่ ?
พระองค์ได้ประทานสาธุการแก่พระมหัลลกเถระ ผู้ไม่รู้อะไร ๆ ในฐานะ
ทั้งสี่, ส่วนท่านอาจารย์ของพวกเรา ผู้จำทรงพระปริยัติธรรมไว้ได้ทั้งหมด
เป็นหัวหน้าภิกษุประมาณ 500 รูป พระองค์มิได้ทรงทำแม้มาตรว่า
ความสรรเสริญ."

พูดมากแต่ไม่ปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์


ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า " ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอกล่าวอะไรกันนี่ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว,
ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ของพวกเธอ เช่นกับผู้รักษาโคทั้งหลาย

เพื่อค่าจ้างในศาสนาของเรา, ส่วยบุตรของเรา เช่นกับเจ้าของผู้บริโภค
ปัญจโครส1ตามชอบใจ" ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
14. พหุมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน
น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ
น ภาควา สามญฺญสฺส โหติ.
อปฺปมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน
ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี
ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ
สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต
อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา
ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติ.

"หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประ-
โยชน์เกื้อกูลแม้มาก (แต่) เป็นผู้ประมาทแล้ว
ไม่ทำ (ตาม) พระพุทธพจน์นั้นไซร้, เขาย่อม
ไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล2 เหมือนคนเลี้ยงโค
นับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มี
ส่วนแห่งปัญจโครสฉะนั้น, หากว่า นรชนกล่าว
พระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูล แม้น้อย
(แต่) เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
ไซร้, เขาละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ชอบ


1. อันเกิดแต่โค 5 อย่าง คือ นมสด, นมส้ม, เปรียง, เนยใส, เนยข้น. 2. ผลคือคุณ
เครื่องเป็นสมณะ.

มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือ
ในโลกหน้า, เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหิตํ นี้ เป็นชื่อแห่งพระพุทธพจน์
คือพระไตรปิฎก, นรชนเข้าไปหาอาจารย์ทั้งหลาย เล่าเรียนพระพุทธพจน์
นั้นแล้ว กล่าว คือบอก ได้แก่แสดงอยู่ ซึ่งพระพุทธพจน์แม้มาก
แก่ชนเหล่าอื่น (แต่) หาเป็นผู้ทำกิจอันการกบุคคลฟังธรรมนั้นแล้ว
จะพึงทำไม่ คือไม่ยังการทำไว้ในใจให้เป็นไป ด้วยอำนาจแห่งไตรลักษณ์
มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ชั่วขณะแม้สักว่าไก่ปรบปีก, นรชนนั้น ย่อมเป็น
ผู้มีส่วนแห่งผลสักว่าการทำวัตรปฏิวัตรจากลำนักของอันเตวาสิกทั้งหลาย
อย่างเดียว, แต่หาเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะไม่ เหมือนคน
เลี้ยงโครักษาโคทั้งหลายเพื่อค่าจ้างประจำวัน รับไปแต่เช้าตรู่ เวลาเย็น
นับมอบให้แก่เจ้าของทั้งหลายแล้ว รับเอาเพียงค่าจ้างรายวัน, แต่ไม่ได้
เพื่อบริโภคปัญจโครสตามความชอบใจ ฉะนั้นแล.
เหมือนอย่างว่า เจ้าของโคพวกเดียว ย่อมบริโภคปัญจโครสแห่งโค
ทั้งหลาย ที่นายโคบาลมอบให้แล้ว ฉันใด, การกบุคคลทั้งหลาย
ฟังธรรมอันนรชนนั้นกล่าวแล้ว ปฏิบัติตามที่นรชนนั้นพร่ำสอนแล้ว
ก็ฉันนั้น, บางพวกบรรลุปฐมฌานเป็นต้น, บางพวกเจริญวิปัสสนาแล้ว
บรรลุมรรคและผล, จัดว่าเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะ เหมือน
พวกเจ้าของโค ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งโครสฉะนั้น. พระศาสดาตรัสคาถาที่ 1
ด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ผู้มีสุตะมาก (แต่ ) มีปกติอยู่