เมนู

"ผู้มีบุญอันทำไว้แล้ว ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้,
ละไปแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน เขาย่อมเพลิดเพลิน
ในโลกทั้งสอง เขาย่อมเพลิดเพลินว่า ' เราทำบุญ
ไว้แล้ว' ไปสู่สุคติ ย่อมเพลิดเพลินยิ่งขึ้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ ความว่า ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้
ด้วยความเพลิดเพลินเพราะกรรม.
บทว่า เปจฺจ ความว่า ย่อมเพลิดเพลินในโลกหน้า ด้วยความ
เพลิดเพลินเพราะวิบาก.
บทว่า กตปุญฺโญ คือ ผู้ทำบุญมีประการต่าง ๆ.
บทว่า อุภยตฺถ ความว่า ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้ ด้วยคิดว่า
" กุศลเราทำไว้แล้ว, บาปเราไม่ได้ทำ." เมื่อเสวยวิบาก ชื่อว่า ย่อม
เพลิดเพลินในโลกหน้า.
สองบทว่า ปุญฺญํ เม ความว่า ก็เมื่อเพลิดเพลินในโลกนี้ ชื่อว่า
ย่อมเพลิดเพลิน เหตุอาศัยความเพลิดเพลินเพราะกรรม ด้วยเหตุเพียง
โสมนัสเท่านั้นว่า "เราทำบุญไว้แล้ว."
บทว่า ภิยฺโย เป็นต้น ความว่า ก็เขาไปสู่สุคติแล้ว เมื่อเสวย
ทิพยสมบัติ ตลอด 57 โกฏิปีบ้าง 60 แสนปีบ้าง ย่อมชื่อว่า เพลิดเพลิน
อย่างยิ่งในดุสิตบุรี ด้วยความเพลิดเพลินเพราะวิบาก.

ในกาลจบคาถา คนเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคลมีโสดาบัน
เป็นต้นแล้ว. พระธรรมเทศนา ได้เป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.
เรื่องนางสุมนาเทวี จบ.

14. เรื่องภิกษุ 2 สหาย [14]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ 2
สหาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "พหุมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน"
เป็นต้น.

สองสหายออกบวช


ความพิสดารว่า กุลบุตร 2 คน ชาวเมืองสาวัตถี เป็นสหาย
กัน ไปยังวิหาร ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วละกาม
ทั้งหลาย ถวายชีวิตในพระศาสนาของพระศาสดา1 บวชแล้ว อยู่ใน
สำนักพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ตลอด 5 ปีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระ-
ศาสดา ทูลถามถึงธุระในพระศาสนา ได้ฟังวิปัสสนาธุระและคันถธุระ
โดยพิสดารแล้ว2, รูปหนึ่ง กราบทูลก่อนว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์บวชแล้วเมื่อภายแก่ ไม่สามารถจะบำเพ็ญคันถธุระได้, แต่จะ
บำเพ็ญวิปัสสนาธุระ" ดังนี้แล้ว ทูลให้พระศาสดาตรัสบอกวิปัสสนา
จนถึงพระอรหัต พากเพียรพยายามอยู่ บรรลุพระอรหัตพร้อมกับด้วย
ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
ฝ่ายภิกษุรูปนอกนี้ คิดว่า "เราจะบำเพ็ญคันถธุระ" ดังนี้แล้ว
เรียนพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกโดยลำดับ กล่าวธรรม สวดสรภัญญะ

1. อุรํ ทตฺวา. 2. เป็นประโยคกิริยาปธานนัย.