เมนู

"ผู้มีปกติทำบาป ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ ละ
ไปแล้วย่อมเดือดร้อน เขาย่อมเดือดร้อนใน
โลกทั้งสอง, เขาย่อมเดือดร้อนว่า 'กรรมชั่วเรา
ทำแล้ว,' ไปสู่ทุคติ ย่อมเดือดร้อนยิ่งขึ้น ."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อิธ ตปฺปติ ความว่า ย่อมเดือด
ร้อนในโลกนี้ ด้วยเหตุเพียงโทมทัส ด้วยความเดือดร้อนเพราะกรรม.
บทว่า เปจฺจ ความว่า ส่วนในโลกหน้า ย่อมเดือดร้อนเพราะ
ทุกข์ในอบายอันร้ายแรงยิ่ง ด้วยความเดือดร้อนเพราะวิบาก.
บทว่า ปาปการี ความว่า ผู้ทำบาป มีประการต่าง ๆ.
บทว่า อุภยตฺถ ความว่า ชื่อว่า ย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง
ด้วยความเดือดร้อน มีประการดังกล่าวแล้วนี้.
สองบทว่า ปาปํ เม ความว่า ก็ผู้มีปกติทำบาปนั้น เมื่อเดือดร้อน
ด้วยความเดือดร้อนเพราะกรรม ชื่อว่าย่อมเดือดร้อน ด้วยคิดว่า
"กรรมชั่วเราทำแล้ว," ข้อนั้นเป็นความเดือดร้อนมีประมาณเล็กน้อย;
แต่เมื่อเดือดร้อน ด้วยความเดือดร้อนเพราะวิบาก ชื่อว่า ไปสู่ทุคติ
ย่อมเดือดร้องขึ้น คือย่อมเดือดร้อนเหลือเกิน ด้วยความเดือดร้อน
อันหยาบช้าอย่างยิ่ง.
ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก ได้เป็นพระอริยบุคคล มีพระ-
โสดาบันเป็นต้นแล้ว. เทศนาเป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.
เรื่องพระเทวทัต จบ.

13. เรื่องนางสุมนาเทวี [13]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนาง
สุมนาเทวี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ"
เป็นต้น.

อบรมลูกหลานให้รับหน้าที่ของตน


ความพิสดารว่า ภิกษุสองพันรูป ย่อมฉันในเรือนของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐีในกรุงสาวัตถีทุกวัน, ในเรือนของนางวิสาขามหาอุบาสิกาก็เช่นนั้น.
บุคคลใด ๆ ในกรุงสาวัตถี เป็นผู้ประสงค์จะถวายทาน, บุคคลนั้น ๆ
ต้องได้โอกาสของท่านทั้งสองนั้นก่อนแล้ว จึงทำได้.
ถามว่า "เพราะเหตุไร ?"
ตอบว่า " เพราะคนอื่น ๆ ถามว่า ' ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
หรือนางวิสาขา มาสู่โรงทานของท่านแล้วหรือ" เมื่อเขาตอบว่า
" ไม่ได้มา," ย่อมติเตียน แม้ทานอันบุคคลสละทรัพย์ตั้งแสนแล้วทำ
ว่า "นี่ชื่อว่าทานอะไร ?" เพราะท่านทั้งสองนั้น ย่อมรู้จักความ
ชอบใจของภิกษุสงฆ์และกิจอันสมควรแก่ภิกษุสงฆ์. เมื่อท่านทั้งสองนั้น
อยู่, พวกภิกษุย่อมฉันได้ตามพอใจทีเดียว. เพราะฉะนั้น ทุก ๆ คนที่
ประสงค์จะถวายทาน จึงเชิญท่านทั้งสองนั้นไป. ท่านทั้งสองนั้นย่อม
ไม่ได้เพื่อจะอังคาสภิกษุทั้งหลายในเรือนของตนด้วยเหตุนี้ เพราะเหตุนั้น
นางวิสาขา เมื่อใคร่ครวญว่า "ใครหนอแล ? จักดำรงในหน้าที่ของเรา