เมนู

พระเทวทัตเกิดในอเวจีถูกตรึงด้วยหลาวเหล็ก


จริงอยู่ พระเทวทัตนั้น จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า
อัฏฐิสสระ ในที่สุดแห่งแสนกัลป์แต่กัลป์นี้ พระเทวทัตนั้นจมดินไปแล้ว
เกิดในอเวจี. และเธอเป็นผู้ไหวติงไม่ได้ ถูกไฟไหม้อยู่ เพราะเป็นผู้ผิด
ในพระพุทธเจ้าผู้ไม่หวั่นไหว. สรีระของเธอสูงประมาณ 100 โยชน์
เกิดในก้นอเวจีซึ่งมีประมาณ 300 โยชน์, ศีรษะสอดเข้าไปสู่แผ่นเหล็ก
ในเบื้องบน จนถึงหมวกหู, เท้าทั้งสองจมแผ่นดินเหล็กลงไปข้างล่าง
จนถึงข้อเท้า, หลาวเหล็กมีปริมาณเท่าลำตาลขนาดใหญ่ ออกจากฝา
ด้านหลัง แทงกลางหลังทะลุหน้าอก ปักฝาด้านหน้า, อีกหลาวหนึ่ง
ออกจากฝาด้านขวา แทงสีข้างเบื้องขวา ทะลุออกสีข้างเบื้องซ้าย ปักฝา
ด้านซ้าย, อีกหลาวหนึ่ง ออกจากแผ่นข้างบน แทงกระหม่อมทะลุออก
ส่วนเบื้องต่ำ ปักลงสู่แผ่นดินเหล็ก. พระเทวทัตนั้น เป็นผู้ไหวติงไม่ได้
อันไฟไหม้ในอเวจีนั้น ด้วยประการอย่างนี้.

เมื่อก่อนพระเทวทัตก็ประพฤติผิดในพระศาสดา


ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันว่า "พระเทวทัตถึงฐานะประมาณเท่านี้
ไม่ทันได้เฝ้าพระศาสดา จมลงสู่แผ่นดินแล้ว." พระศาสดาตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตประพฤติผิดในเรา จมดินลงไปในบัดนี้เท่านั้น
หามิได้, แม้ครั้งก่อน เธอก็จมลงแล้วเหมือนกัน," เพื่อจะทรงแสดง
ความที่บุรุษหลงทาง อันพระองค์ปลอบโยนแล้ว ยกขึ้นหลังของตนแล้ว
ให้ถึงที่อันเกษมแล้ว กลับมาตัดงาทั้งหลายอีกถึง 3 ครั้ง อย่างนี้คือ
ที่ปลาย ที่ท่ามกลาง ที่โคน ในวาระที่ 3 เมื่อก้าวล่วงคลองจักษุแห่ง

มหาบุรุษแล้ว ก็จมแผ่นดิน ในกาลที่พระองค์เป็นพระยาช้าง จึงตรัส
ชาดกนี้เป็นต้นว่า1
"หากจะให้แผ่นดินทั้งหมดแก่คนอกตัญญู
ผู้เพ่งโทษเป็นนิตย์ ก็ไม่ยังเขาให้ยินดีได้เลย.

เมื่อกถาตั้งขึ้นแล้วเช่นนั้นนั่นแลแม้อีก จึงตรัสขันติวาทิชาดก2 เพื่อทรง
แสดงความที่พระเทวทัตนั้น ครั้งเป็นพระเจ้ากลาพุประพฤติผิดในพระ-
องค์ ผู้เป็นขันติวาทีดาบส แล้วจมลงสู่แผ่นดิน และจุลลธรรมปาลชาดก3
เพื่อทรงแสดง ความที่พระเทวทัตนั้น ครั้งเป็นพระเจ้ามหาปตาปะ
ประพฤติผิดในพระองค์ผู้เป็นจุลลธรรมปาละแล้วจมลงสู่แผ่นดิน.
ก็ครั้นเมื่อพระเทวทัตจมดินไปแล้ว, มหาชนร่าเริงยินดี ให้ยกธง
ชัยธงปฏากและต้นกล้วย ตั้งหม้อน้ำอันเต็มแล้ว เล่นมหรสพใหญ่ ด้วย
ปรารภว่า "เป็นลาภของพวกเราหนอ." พวกภิกษุกราบทูลข้อความนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อพระเทวทัตตายแล้ว มหาชนยินดีมิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น, แม้ครั้งก่อน
ก็ยินดีแล้วเหมือนกัน," เพื่อจะทรงแสดงความที่มหาชนเป็นผู้ยินดี ใน
เมื่อพระราชาพระนามว่าปิงคละ ในนครพาราณสีซึ่งดุร้ายหยาบช้า ไม่
เป็นที่รักของชนทั่วไปสวรรคตแล้ว จึงตรัสปิงคลชาดกนี้เป็นต้นว่า4
พระโพธิสัตว์กล่าวถามว่า
"ชนทั้งสิ้น อันพระเจ้าปิงคละเบียดเบียนแล้ว
เมื่อท้าวเธอสวรรคตแล้ว ชนทั้งหลาย ย่อมเสวย


1. ขุ. ชา. 27/23. อรรถกถา. 2 128. สีลวนาคชาดก. 2.ขุ. ชา. 27/ 137.
อรรถกถา. 4/275. 3. ขุ. ชา. 27/170. อรรถกถา. 4/450. 4. ขุ. ชา. 27/92.
อรรถกถา. 3/319.

ปีติ พระเจ้าปิงคละมีพระเนตรไม่ดำ ได้เป็นที่รัก
ของเจ้าหรือ ? แน่ะ นายประตู เหตุไร ? เจ้าจึง
ร้องไห้."

นายประตูกล่าวตอบว่า
"พระราชา มีพระเนตรไม่ดำ หาได้เป็นที่รัก
ขอข้าพระองค์ไม่ ข้าพระองค์กลัวแต่การเสด็จกลับ
มาของพระราชานั้น ด้วยว่า พระราชาพระองค์นั้น
เสด็จไปจากที่นี้แล้ว พึงเบียดเบียนมัจจุราช มัจจุ-
ราชนั้นถูกเบียดเบียนแล้ว พึงนำพระองค์กลับมาที่นี้
อีก."

ผู้ทำบาปย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง


ภิกษุทั้งหลาย ทูลถามพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บัดนี้ พระเทวทัตเกิดแล้ว ณ ที่ไหน ?" พระศาสดาตรัสว่า "ในอเวจี
มหานรก ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระเทวทัตประพฤติเดือดร้อนในโลกนี้แล้ว ไปเกิดในสถานที่
เดือดร้อนนั่นแลอีกหรือ ?"
พระศาสดา ตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลาย
จะเป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม, มีปกติอยู่ด้วยความประมาท
ย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสองทีเดียว" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
12. อิธ ตปฺปติ เปจฺจ ตปฺปติ ปาปการี อุภยตฺถ ตปฺปติ
ปาปํ เม กตนฺติ ตปฺปติ ภิยฺโย ตปฺปติ ทุคฺคตึ คโต