เมนู

อากาศแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตร
ในเวลาไป มีตนเป็นที่ 2 เท่านั้นไปแล้ว, บัดนี้มีบริวารมากมา ย่อม
งามแท้."

บุรพกรรมของพระเทวทัต


พระศาสดา ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น. แม้
ในกาลที่เธอเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน บุตรของเรา มาสู่สำนักของเรา
ก็ย่อมงามเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว ได้ตรัสชาดกนี้ว่า1
"ความจำเริญ ย่อมมีแก่ผู้มีศีลทั้งหลาย ผู้
ประพฤติปฏิสันถาร, ท่านจงดูเนื้อชื่อลักขณะ อัน
หมู่ญาติแวดล้อมมาอยู่, อนึ่ง ท่านจงดูเนื้อชื่อกาละนี้
ที่เสื่อมจากญาติทั้งหลายเทียว"

ดังนี้เป็นต้น, เมื่อพวกภิกษุกราบทูลอีกว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ได้ทราบว่า พระเทวทัต ให้พระอัครสาวก 2 องค์นั่งที่ข้างทั้งสองแล้ว
กล่าวว่า ' เราจะแสดงธรรมด้วยพุทธลีลา' ทำกิริยาตามอย่างพระองค์
แล้ว" ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น, แม้ครั้งก่อน
เทวทัตนี้ ก็พยายามทำตามเยี่ยงอย่างของเรา แต่ไม่สามารถ" ดังนี้
แล้ว ตรัสนทีจรกากชาดก2ว่า
"เออก็ วีรกะ ท่านย่อมเห็นนก ชื่อสวิฏฐกะ
ซึ่งขานเพราะ มีสร้อยคอเหมือนนกยูง ซึ่งเป็นผัว
ของฉันไหม ? นกสวิฏฐกะ ทำเยี่ยงนกที่เที่ยวไป


1. ขุ. ชา. 27/4. อรรถกถา. 1/217. ลักขณชาดก.
2. ขุ. ชา. 27/75. อรรถกถา. 3/198. เรื่อง วีรชาดก.

ได้ทั้งในน้ำและบนบก บริโภคปลาสดเป็นนิตย์นั้น
ถูกสาหร่ายพันตายแล้ว"

ดังนี้เป็นต้น, แม้วันอื่น ๆ อีก ทรงปรารภกถาเช่นนั้นเหมือนกัน ตรัส
ชาดกทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ว่า
"นกกระไนนี้ เมื่อจะเจาะซึ่งหมู่ไม้ทั้งหลาย ได้
เที่ยวไปแล้วหนอ ที่ต้นไม้มีอวัยวะเป็นไม้แห้งไม่มี
แก่น, ภายหลังมาถึงไม้ตะเคียน ที่มีแก่นเกิด
แล้ว ได้ทำลายขมองศีรษะแล้ว.1"

ละว่า "ไขข้อของท่าน ไหลออกแล้ว, กระหม่อม
ของท่าน อันช้างเหยียบแล้ว, ซี่โครงทุกซี่ของท่าน
อันช้างหักเสียแล้ว คราวนี้งามหน้าละซิเพื่อน2.
"
ทรงปรารภกถาว่า "พระเทวทัต เป็นผู้อกตัญญู," จึงตรัสชาดกทั้งหลาย
มีอาทิอีกว่า
"ข้าพเจ้าได้ทำกิจให้ท่านจนสุดกำลังของข้าพเจ้า
ที่มีอยู่เทียว, ข้าแต่พระยาเนื้อ ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
ต่อท่าน, ข้าพเจ้าน่าได้อะไร ๆ บ้างซิ, ข้อที่เจ้า
อยู่ในระหว่างฟันของเรา ผู้มีโลหิตเป็นภักษา ทำ
กรรมหยาบช้าเป็นนิตย์ ยังเป็นอยู่ได้ ก็เป็นลาภ
มากอยู่แล้ว3."

ทรงปรารภความตะเกียกตะกาย เพื่อจะฆ่า (พระองค์) ของพระ-

1.ขุ. ชา. 27/77. อรรถกถา. 3/215. กันทคลกชาดก. 2. ขุ. ชา. 27/46. อรรถกถา.
2 384. วิโรจนชาดก. 3. ขุ. ชา. 27/133. อรรถกถา. 4/258. ชวสกุณชาดก.

เทวทัตนั้นอีก ตรัสชาดกทั้งหลายเป็นต้นว่า
"ดูก่อนไม้มะลื่น ข้อที่เจ้ากลิ้งมานี้ กวางรู้
แล้ว, เราจักไปยังไม้มะลื่นต้นอื่น เพราะว่าผลของ
เจ้า เราไม่ชอบใจ1"

เมื่อกถายังเป็นไปอยู่อีกว่า "พระเทวทัตเสื่อมแล้วจากผล 2 ประการ คือ
จากลาภและสักการะประการหนึ่ง จากสามัญผลประการหนึ่ง," พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น, แม้ครั้งก่อน
เทวทัตก็เสื่อมแล้วเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว ตรัสชาดกทั้งหลายเป็นต้นว่า
"ตาทั้งสองแตกแล้ว, ผ้าก็หายแล้ว, และ
เพื่อนบ้านก็บาดหมางกัน, ผัวและเมียสองคนนั้น
มีการงานเสียหายแล้วทั้งสองทาง คือ ทั้งทางน้ำ
ทั้งทางบก2."

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่กรุงราชคฤห์ ทรงปรารภพระเทวทัต
ตรัสชาดกเป็นอันมาก ด้วยประการอย่างนั้นแล้ว เสด็จ ( ออก ) จากกรุง
ราชคฤห์ไปสู่เมืองสาวัตถี ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร.

พระเทวทัตให้สาวกนำไปเฝ้าพระศาสดา


ฝ่ายพระเทวทัตแล เป็นไข้ถึง 9 เดือน, ในกาลสุดท้าย ใคร่
จะเฝ้าพระศาสดา จึงบอกพวกสาวกของตนว่า " เราใคร่จะเฝ้าพระ-
ศาสดา, ท่านทั้งหลายจงแสดงพระศาสดานั้นแก่เราเถิด," เมื่อสาวก
เหล่านั้นตอบว่า " ท่านในเวลาที่ยังสามารถ ได้ประพฤติเป็นคนมีเวร
1. ขุ. ชา. 27/7. อรรถกถา. 1/261. กุรุงคมิคชาดก.
2. ขุ. ชา. 27/45. อรรถกถา. 2/274. อุภโตภัฏฐชาดก.