เมนู

โสดาปัตติผลกลับไปแล้ว, จึงขึ้นเขาคิชฌกูฏเอง กลิ้งศิลาด้วยจงใจว่า
"เราเองจักปลงพระสมณโคดมจากชีวิต" ได้ทำกรรมคือยังพระโลหิตให้
ห้อขึ้น, เมื่อไม่อาจฆ่าด้วยอุบายแม้นี้ จึงให้ปล่อยช้างนาฬาคิรีไปอีก. เมื่อ
ช้างนั้นกำลังเดินมา, พระอานนทเถระยอมสละชีวิตของตนถวายพระ-
ศาสดา ได้ยืนขวางหน้าแล้ว.
พระศาสดาทรงทรมานช้างแล้ว เสด็จออกจากพระนครมาสู่พระ-
วิหาร เสวยมหาทานที่พวกอุบาสกหลายพันนำมาแล้ว ทรงแสดงอนุ-
ปุพพีกถาโปรดชาวกรุงราชคฤห์นับได้ 18 โกฏิ ซึ่งประชุมกันในวันนั้น
ธรรมาภิสมัยเกิดมีแก่สัตว์ประมาณแปดหมื่นสี่พัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับกถาพรรณนาคุณของพระเถระว่า
"โอ ท่านพระอานนท์มีคุณมาก; เมื่อพระยาช้างชื่อเห็นปานนั้นมาอยู่,
ได้ยอมสละชีวิตของตนยืนขวางหน้าพระศาสดา" ดังนี้แล้วตรัสว่า "ภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น; ถึงในครั้งก่อน อานนท์นี้ ก็ยอมสละ
ชีวิตเพื่อประโยชน์แห่งเราแล้วเหมือนกัน" อันภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอน
แล้ว จึงตรัสจุลหังสชาดก1 มหาหังสชาดก2 และกักกฎกชาดก.3

กรรมชั่วของพระเทวทัตปรากฏแก่มหาชน


กรรมแม้ของพระเทวทัต เพราะยังพระอชาตสัตรูกุมารให้สำเร็จ
โทษพระราชา (พระราชบิดา ) เสียก็ดี เพราะแต่งนายขมังธนูก็ดี
เพราะกลิ้งศิลาก็ดี มิได้ปรากฏเหมือนเพราะปล่อยช้างนาฬาคิรีเลย. คราว
นั้นแล มหาชนได้โจษจันกันขึ้นว่า "แม้พระราชาก็พระเทวทัตนั่นเอง

1. ชา. 28/68. อรรถกถา. 8/211. 2. ขุ. ชา. 28/77. อรรถกถา. 8/242.
3. ขุ. ชา. 27/145. อรรถกถา. 4/335 เรื่องกักการุชาดก.

เป็นผู้ให้สำเร็จโทษเสีย. แม้นายขมังธนูก็พระเทวทัตนั่นเองแต่งขึ้น, แม้
ศิลาก็พระเทวทัตเหมือนกันกลิ้งลง, และบัดนี้เธอก็ได้ปล่อยช้างนาฬาคิรี,
พระราชาทรงเที่ยวคบคนลามกเห็นปานนี้." พระราชาทรงสดับถ้อยคำ
ของมหาชนแล้ว จึงให้นำสำรับ 500 คืนมา มิได้เสด็จไปยังที่อุปัฏฐาก
ของพระเทวทัตนั้นอีก. ถึงชาวพระนครก็มิได้ถวายแม้วัตถุมาตรว่าภิกษา
แก่เธอซึ่งเข้าไปยังสกุล.

พระเทวทัตทูลขอวัตถุ 5 ประการ


พระเทวทัตนั้น เสื่อมจากลาภและสักการะแล้ว ประสงค์จะเลี้ยง
ชีวิตด้วยการหลอกลวง จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลขอวัตถุ1 5 ประการ
อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงห้ามว่า " อย่าเลย เทวทัต ผู้ใดปรารถนา,
ผู้นั้นก็จงเป็นผู้อยู่ป่าเถิด" ดังนี้แล้ว ทูลว่า "ผู้มีอายุ คำพูดของใคร
จะงาม ของพระตถาคตหรือของข้าพระองค์ ? ก็ข้าพระองค์กล่าวด้วย
สามารถข้อปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์อย่างนี้ว่า ' พระเจ้าข้า ดังข้าพระองค์ขอ
ประทานโอกาส ขอภิกษุทั้งหลายจงเป็นผู้อยู่ป่า เที่ยวบิณฑบาต ทรงผ้า
บังสุกุล อยู่โคนไม้ อย่าพึงฉันปลาและเนื้อจนตลอดชีวิต," แล้วกล่าวว่า
"ผู้ใดใคร่จะพ้นจากทุกข์, ผู้นั้นจงมากับเรา" ดังนี้แล้ว หลีกไป. ภิกษุ
บางพวกบวชใหม่ มีความรู้น้อย ได้สดับถ้อยคำของพระเทวทัตนั้นแล้ว
ชักชวนกันว่า "พระเทวทัตพูดถูก พวกเราจักเที่ยวไปกับพระเทวทัตนั้น"
ดังนี้แล้ว ได้สมคบกับเธอ.

1. วิ. จุล. 7/191.