เมนู

11. เรื่องธัมมิกอุบาสก [11]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภธัมมิก-
อุบาสก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ "
เป็นต้น.

อุบาสกและครอบครัวบำเพ็ญกุศลเป็นนิตย์


ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี ได้มีอุบาสกผู้ปฏิบัติธรรมประมาณ
500 คน. บรรดาอุบาสกเหล่านั้น คนหนึ่ง ๆ มีอุบาสกเป็นบริวาร
คนละ 500. อุบาสกที่เป็นหัวหน้าแห่งอุบาสกเหล่านั้นมีบุตร 7 คน
ธิดา 7 คน. บรรดาบุตรและธิดาเหล่านั้น คนหนึ่ง ๆ ได้มีสลากยาคู
สลากภัต ปักขิกภัต สังฆภัต อุโปสถิกภัต อาคันตุกภัต
วัสสาวาสิกภัต อย่างละที่. ชนแม้เหล่านั้น ได้เป็นผู้ชื่อว่า อนุชาต-
บุตรด้วยกันทั้งหมดทีเดียว. (เป็นอันว่า) สลากยาคูเป็นต้น 1 ที่ คือ
ของบุตร 14 คน ของภรรยาหนึ่ง ของอุบาสกหนึ่ง ย่อมเป็นไป
ด้วยประการฉะนี้. เขาพร้อมทั้งบุตรและภรรยา ได้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณ-
ธรรม มีความยินดีในอันจำแนกทาน ด้วยประการฉะนี้. ต่อมาในกาล
อื่น โรคเกิดขึ้นแก่เขา. อายุสังขารเสื่อมรอบแล้ว.

อุบาสกป่วยนอนฟังธรรม


เขาใคร่จะสดับธรรมจึงส่ง (คน) ไปสู่สำนักพระศาสดา ด้วย
กราบทูลว่า "ขอพระองค์ได้โปรดส่งภิกษุ 8 รูป หรือ 16 รูป ประทาน

แก่ข้าพระองค์เถิด."
พระศาสดา ทรงส่งภิกษุทั้งหลายไป. ภิกษุเหล่านั้น ไปแล้วนั่งบน
อาสนะที่ตบแต่งไว้ ล้อมเตียงของเขา อันเขากล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ
การเห็นพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จักเป็นของอันกระผมได้โดยยาก, กระผม
เป็นผู้ทุพพลภาพ, ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงสาธยายพระสูตร ๆ หนึ่ง
โปรดกระผมเถิด."
จึงถามว่า "ท่านประสงค์จะฟังสูตรไหน ? อุบาสก" เมื่อเขา
เรียนว่า "สติปัฏฐานสูตร1 ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละแล้ว,"
จึงเริ่มสวดพระสูตรว่า "เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ
วิสุทฺธิยา"
เป็นต้น ( ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางไปอย่างเอก เพื่อ
ความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย).

เทวดานำรถมารับอุบาสกไปเทวโลก


ขณะนั้น รถ 6 คัน ประดับด้วยอลังการทุกอย่าง เทียมด้วย
ม้าสินธพพันตัว ใหญ่ประมาณได้ 150 โยชน์ มาจากเทวโลก 6 ชั้น.
เทวดายืนอยู่บนรถเหล่านั้นต่างก็เชื้อเชิญว่า " ข้าพเจ้า จักนำไปยังเทวโลก
ของข้าพเจ้า; ข้าพเจ้า จักนำไปยังเทวโลกของข้าพเจ้า, ท่านผู้เจริญ ขอ
จงเกิดในที่นี้ เพื่อความยินดีในเทวโลกของข้าพเจ้า เหมือนคนทำลาย
ภาชนะดินแล้วถือเอาภาชนะทองคำ."
อุบาสก ไม่ปรารถนาจะให้เป็นอันตรายแก่การฟังธรรม จึงกล่าว
ว่า "ท่านทั้งหลาย จงรอก่อน จงรอก่อน."

1. ที. มหา. 10/325. ม. ม. 12/103.