เมนู

จุนทสูกริก ปิดประตูเรือนฆ่าอยู่, วันนี้เป็นวันที่ 7, มงคลกิริยาไร ๆ
ชะรอยจักมีในเรือน (ของเขา), ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมตตาจิต หรือ
ความกรุณาแม้อย่างหนึ่งของเขา ผู้ฆ่าสุกรทั้งหลายชื่อถึงเท่านี้ ย่อมไม่มี,
ก็สัตว์ผู้ร้ายกาจหยาบช้าเช่นนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เคยเห็นเลย."
พระศาสดา ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เขาฆ่าสุกรตลอด 7 วันนี้
หามิได้. อันผลที่เหมาะสมด้วยกรรมเกิดขึ้นแล้วแก่เขา, ความเร่าร้อน
ในอเวจีมหานรกปรากฏแก่เขาทั้งเป็นทีเดียว, ด้วยความเร่าร้อนนั้นเขา
ร้องเหมือนหนูเที่ยวไปภายในนิเวศน์อยู่ ตลอด 7 วัน วันนี้ทำกาละ
แล้ว (ไป) เกิดในอเวจี," เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เขาเศร้าโศกอย่างนี้ในโลกนี้แล้ว ยังจะไปเกิดในฐานะเป็นที่
เศร้าโศกเช่นกันอีกหรือ ?" ตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า
ผู้ประมาทแล้ว เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ย่อมเศร้าโศกในโลก
ทั้งสองเป็นแท้" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
11. อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ
โส โสจติ โส วิหญฺญติ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน
"ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้
ละไปแล้วย่อมเศร้าโศก ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนแล้ว ย่อมเศร้าโศก,
เขาย่อมเดือดร้อน."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปการี เป็นต้น ความว่า บุคคล

ผู้ทำบาปกรรมมีประการต่าง ๆ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ในสมัยใกล้ตาย
โดยส่วนเดียวแท้ ด้วยคิดว่า "กรรมดีเรามิได้ทำไว้หนอ, กรรมชั่วเรา
ทำไว้แล้ว," นี้เป็นความเศร้าโศกเพราะกรรมของเขา; ก็เมื่อเขาเสวย
ผลอยู่ ชื่อว่าละไปแล้วย่อมเศร้าโศก, นี้เป็นความเศร้าโศกเพราะวิบาก
ในโลกหน้าของเขา; เขาย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสองอย่างนี้แล, ด้วย
เหตุนั้นแล แม้นายจุนทสูกริกนั้น ชื่อว่าย่อมเศร้าโศกทั้งเป็นทีเดียว.
บาทพระคาถาว่า ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน ความว่า เขาเห็น
กรรมเศร้าหมองของตนแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ่นเพ้อมีประการต่าง ๆ อยู่
ชื่อว่า ย่อมเดือดร้อน คือ ย่อมลำบาก.
ในกาลจบคาถา ภิกษุเป็นอันมากได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้นแล้ว.
เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องนายจุนทสูกริก จบ.

11. เรื่องธัมมิกอุบาสก [11]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภธัมมิก-
อุบาสก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ "
เป็นต้น.

อุบาสกและครอบครัวบำเพ็ญกุศลเป็นนิตย์


ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี ได้มีอุบาสกผู้ปฏิบัติธรรมประมาณ
500 คน. บรรดาอุบาสกเหล่านั้น คนหนึ่ง ๆ มีอุบาสกเป็นบริวาร
คนละ 500. อุบาสกที่เป็นหัวหน้าแห่งอุบาสกเหล่านั้นมีบุตร 7 คน
ธิดา 7 คน. บรรดาบุตรและธิดาเหล่านั้น คนหนึ่ง ๆ ได้มีสลากยาคู
สลากภัต ปักขิกภัต สังฆภัต อุโปสถิกภัต อาคันตุกภัต
วัสสาวาสิกภัต อย่างละที่. ชนแม้เหล่านั้น ได้เป็นผู้ชื่อว่า อนุชาต-
บุตรด้วยกันทั้งหมดทีเดียว. (เป็นอันว่า) สลากยาคูเป็นต้น 1 ที่ คือ
ของบุตร 14 คน ของภรรยาหนึ่ง ของอุบาสกหนึ่ง ย่อมเป็นไป
ด้วยประการฉะนี้. เขาพร้อมทั้งบุตรและภรรยา ได้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณ-
ธรรม มีความยินดีในอันจำแนกทาน ด้วยประการฉะนี้. ต่อมาในกาล
อื่น โรคเกิดขึ้นแก่เขา. อายุสังขารเสื่อมรอบแล้ว.

อุบาสกป่วยนอนฟังธรรม


เขาใคร่จะสดับธรรมจึงส่ง (คน) ไปสู่สำนักพระศาสดา ด้วย
กราบทูลว่า "ขอพระองค์ได้โปรดส่งภิกษุ 8 รูป หรือ 16 รูป ประทาน