เมนู

10. เรื่องนายจุนทสูกริก [10]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรุษชื่อ
จุนทสูกริก ตรัสพรธรรมเทศนานี้ว่า "อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ"
เป็นต้น.

นายจุนทะเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงสุกรขาย


ได้ยินว่า นายจุนทสูกริกนั้น ฆ่าสุกรทั้งหลายกินบ้าง ขายบ้าง
เลี้ยงชีวิตอยู่สิ้น 55 ปี . ในเวลาข้าวแพง เขาเอาเกวียนบรรทุกข้าวเปลือก
ไปสู่ชนบท แลกลูกสุกรบ้าน ด้วยข้าวเปลือกประมาณ 1 ทะนานหรือ
2 ทะนาน บรรทุกเต็มเกวียนแล้วกลับมา ล้อมที่แห่งหนึ่งดุจดอก
ข้างหลังที่อยู่แล้วปลูกผักในที่นั้นนั่นแล เพื่อลูกสุกรเหล่านั้น, เมื่อลูก
สุกรเหล่านั้น กินกอผักต่าง ๆ บ้าง สรีรวลัญชะ (คูถ) บ้าง ก็เติบโต
ขึ้น, (เขา) มีความประสงค์จะฆ่าตัวใด ๆ ก็มัดตัวนั้น ๆ ให้แน่น ณ
ที่ฆ่าแล้ว ทุบด้วยค้อน 4 เหลี่ยม เพื่อให้เนื้อสุกรพองหนาขึ้น รู้ว่า
เนื้อหนาขึ้นแล้ว ก็ง้างปากสอดไม้เข้าไปในระหว่างฟัน กรอกน้ำร้อน
ที่เดือดพล่าน เข้าไปในปากด้วยทะนานโลหะ. น้ำร้อนนั้น เข้าไปพล่าน
ในท้อง ขับกรีส1ออกมาโดยส่วนเบื้องต่ำ (ทวารหนัก) กรีสน้อยหนึ่ง
ยังมีอยู่เพียงใด ย่อมออกเป็นน้ำขุ่นเพียงนั้น เมื่อท้องสะอาดแล้ว, จึง
ออกเป็นน้ำใส ไม่ขุ่น, ทีนั้น เขาจึงราดน้ำที่ยังเหลือบนหลังสุกรนั้น.
น้ำนั้นลอกเอาหนังดำออกไป. แต่นั้นจึงลนขนด้วยคบหญ้าแล้ว ตัดศีรษะ

ด้วยดาบอันคม. รองโลหิตที่ไหลออกด้วยภาชนะ เคล้าเนื้อด้วยโลหิต
แล้วปิ้งนั่งรับประทานในท่ามกลางบุตรและภรรยา ขายส่วนที่เหลือ.
เมื่อเขาเลี้ยงชีวิตโดยทำนองนี้นั่นแล, เวลาได้ล่วงไป 55 ปี.
เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในธุรวิหาร, การบูชาด้วยดอกไม้เพียงกำหนึ่ง
ก็ดี การถวายภิกษาเพียงทัพพีหนึ่งก็ดี ชื่อว่าบุญอื่นน้อยหนึ่งก็ดี มิได้มี
แล้วสักวันหนึ่ง.
ครั้งนั้น โรคเกิดขึ้นในสรีระของเขา, ความเร่าร้อนอเวจีมหา-
นรก ปรากฏแก่เขาทั้งเป็นทีเดียว.

อเวจีนรกร้อนยิ่งกว่าไฟธรรมดา


ขึ้นชื่อว่าความเร่าร้อนในอเวจี ย่อมเป็นความร้อนที่สามารถทำลาย
นัยน์ตาของผู้ยืนดูอยู่ในที่ประมาณ 100 โยชน์ได้. สมจริงดังคำที่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า
"ความเร่าร้อนในอเวจี แผ่ไปตลอด 100 โยชน์
โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.1

และเพราะเหตุที่ความเร่าร้อนในอเวจีนั้น มีประมาณยิ่งกว่าความเร่าร้อน
ของไฟโดยปกติ พระนาคเสนเถระจึงกล่าวอุปมานี้ไว้ว่า "มหาบพิตร
แม้หินประมาณเท่าเรือนยอด อันบุคคลทุ่มไปในไฟนรกย่อมถึงความย่อย
ยับได้โดยขณะเดียวฉันใด ส่วนสัตว์ที่เกิดในนรกนั้นเป็นประหนึ่งอยู่ใน
ครรภ์มารดา จะย่อยยับไปเพราะกำลังแห่งกรรมเหมือนฉันนั้น หามิได้.

1. ม. อุ. 14/341.