เมนู

ชนบทกัลยาณีกระสันแล้ว พระศาสดาทรงทำเหล่านางเทพอัปสรให้เป็น
อามิสแนะนำได้แล้ว." พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลว่า "ด้วยกถาชื่อนี้" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย
ไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น, แม้ในกาลก่อน นันทะนี้เราก็ได้ล่อด้วยมาตุคาม
แนะนำแล้วเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอน จึง
ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า)

บุรพกรรมของพระนันทะ


ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี
ได้มีพ่อค้าชาวเมืองพาราณสี (คนหนึ่ง ) ชื่อกัปปกะ. ลาผู้ของเขาตัว
หนึ่งนำภาระ (สิ่งของ) ไปได้กุมภะหนึ่ง, มันเดินไปได้วันละ 7 โยชน์,
สมัยหนึ่ง เขาไปเมืองตักกสิลา ( พร้อม) ด้วยภาระที่นำไปด้วยลา
ปล่อยลาเที่ยวไปจนกว่าจำหน่ายสิ่งของหมด. ครั้งนั้น ลาของเขานั้น
เที่ยวไปบนหลังดูพบนางลาตัวหนึ่ง จึงเข้าไปหา. นางลาเมื่อจะทำ
ปฏิสันถารกับลาผู้ตัวนั้น จึงกล่าวว่า "ท่านมาแต่ไหน ?"
ลาผู้. มาแต่เมืองพาราณสี.
นางลา. ท่านมาด้วยกรรมอะไร ?
ลาผู้. ด้วยกรรมของพ่อค้า.
นางลา. ท่านนำภาระไปได้เท่าไร ?
ลาผู้. ภาระประมาณกุมภะหนึ่ง.
นางลา. ท่านเมื่อนำภาระประมาณเท่านั้นไป ไปได้กี่โยชน์.

ลาผู้. ได้ 7 โยชน์.
นางลา. ในที่ซึ่งท่านไปแล้ว นางลาไรๆ ผู้ทำการนวดเท้า หรือ
ประคบประหงมให้แก่ท่านมีอยู่หรือ ?
ลาผู้. หามีไม่ นางผู้เจริญ.
นางลา. เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านคงได้รับทุกข์มากนะ ?
จริงอยู่ ชื่อว่าผู้ทำกรรมมีการนวดเท้าเป็นต้น สำหรับสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้งหลายย่อมไม่มีแม้โดยแท้ แต่นางลา กล่าวคำเห็นปานนั้นเพื่อพาดพิง
ถึงกามสังโยชน์. ลาผู้นั้นกระสันขึ้นด้วยคำของนางลานั้นแล้ว.
ฝ่ายกัปปกพาณิช ขายภัณฑะหมดแล้ว ไปยังที่ลาพำนักอยู่กล่าวว่า
"มาเถิด พ่อ เราจักไป." ลาผู้ตัวนั้นตอบว่า " ท่านจงไปเถิด,
ข้าพเจ้าจักไม่ไป," ลำดับนั้น นายกัปปกะ อ้อนวอนลานั้นแล้ว ๆ เล่าๆ
คิดว่า "เราจะยังลานั้นซึ่งไม่ปรารถนาจะไปให้กลัวแล้วจักนำไป" ดังนี้
แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า
"เราจักทำปฏักมีหนามแหลมยาว 16 นิ้วแก่เจ้า,
เราจักทิ่มแทงกายของเจ้า, แน่ะเจ้าลา เจ้าจงรู้
อย่างนี้."

ลาได้ฟังคำนั้นแล้ว กล่าวตอบว่า "เมื่อเป็นเช่นนั้น, ข้าพเจ้า
จักรู้จักกิจที่ควรทำแก่ท่านบ้าง" ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า
"ท่านจักทำปฏักมีหนามแหลมยาว 16 นิ้ว แก่
ข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าจักยันข้างหน้า ยกข้างหลังขึ้น
แล้ว ยังภัณฑะของท่านให้ตกไป, กัปปกะ ท่าน
จงรู้อย่างนี้."

พ่อค้าได้ฟังคำนั้น จึงดำริว่า "ด้วยเหตุไฉนหนอแล ? ลานี้จึง
กล่าวอย่างนี้กะเรา" ดังนี้แล้ว เมื่อแลดูข้างโน้นข้างนี้ เห็นนางลานั้น
แล้วคิดว่า "เจ้านี่คงจะถูกนางลาตัวนี้ ให้สำเหนียกแล้วอย่างนี้, เราต้อง
ล่อมันด้วยมาตุคามว่า ' ข้าจักนำนางลาชื่อมีรูปอย่างนี้มาให้เจ้า.' แล้ว
จักนำไป" ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า
"เราจักนำนางลาสาว มีเท้า 4 มีหน้าดุจสังข์
มีสรรพางค์กายงาม มาเป็นภรรยาเจ้า, แน่ะลา
เจ้าจงรู้อย่างนี้."

ลาได้ฟังคำนั้น มีจิตยินดี กล่าวคาถานี้ว่า
"ท่านจักนำนางลาสาว มีเท้า 4มีหน้าดุจสังข์
มีสรรพางค์กายงาม มาเป็นภรรยาข้าพเจ้า,ข้าแต่
กัปปกะ ท่านจงรู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าจักไปให้เร็วขึ้น
ถึง 14 ประโยชน์น่ะ กัปปกะ".

ทีนั้น นายกัปปกะจึงกล่าวกะลานั้นว่า "ถ้ากระนั้น เจ้าจงมาเถิด"
ดังนี้แล้ว ได้จูงไปสู่ที่ของตน. ลานั้น โดยกาลล่วงไปสองสามวัน จึง
กล่าวกับนายกัปปกะว่า "ท่านได้พูดกะข้าพเจ้าว่า ' จักนำภรรยามา
ให้เจ้า,' ดังนี้ มิใช่หรือ ?" นายกัปปะตอบว่า "เออ เรากล่าวแล้ว,
เราจักไม่ทำลายถ้อยคำของตน, จักนำภรรยามาให้เจ้า, แต่เราจะให้อาหาร
แก่เจ้าเฉพาะตัวเดียว, อาหารนั้นจงเพียงพอแก่เจ้า ซึ่งมีตนเป็นที่สอง
หรือไม่มีก็ตาม1ที. เจ้าพึงรู้ตัวเองเถอะ แม้ลูกทั้งหลาย อาศัยการสังวาส
ของเจ้าทั้งสองก็จักเกิดขึ้น, อาหารนั้นจงเพียงพอแก่เจ้ากับลูกเป็นอันมาก

1. หมายความว่า สองตัวผัวเมีย.

แม้เหล่านั้นหรือไม่ก็ตามที, เจ้าพึงรู้เองเถอะ." ลาเมื่อนายกัปปกะนั้น
กล่าวอยู่เช่นนั้น, ได้เป็นผู้หมดหวังแล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงยังชาดก
ให้จบลงด้วยพระดำรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย นางลาในคราวนั้นได้เป็น
นางชนบทกัลยาณี, ลาผู้ได้เป็นนันทะ, พ่อค้าได้เป็นเราเอง, แม้ใน
กาลก่อน นันทะนี้ เราก็ได้ล่อด้วยมาตุคามแนะนำแล้ว ด้วยประการ
อย่างนี้" ดังนี้แล.
เรื่องพระนันทเถระ จบ.

10. เรื่องนายจุนทสูกริก [10]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรุษชื่อ
จุนทสูกริก ตรัสพรธรรมเทศนานี้ว่า "อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ"
เป็นต้น.

นายจุนทะเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงสุกรขาย


ได้ยินว่า นายจุนทสูกริกนั้น ฆ่าสุกรทั้งหลายกินบ้าง ขายบ้าง
เลี้ยงชีวิตอยู่สิ้น 55 ปี . ในเวลาข้าวแพง เขาเอาเกวียนบรรทุกข้าวเปลือก
ไปสู่ชนบท แลกลูกสุกรบ้าน ด้วยข้าวเปลือกประมาณ 1 ทะนานหรือ
2 ทะนาน บรรทุกเต็มเกวียนแล้วกลับมา ล้อมที่แห่งหนึ่งดุจดอก
ข้างหลังที่อยู่แล้วปลูกผักในที่นั้นนั่นแล เพื่อลูกสุกรเหล่านั้น, เมื่อลูก
สุกรเหล่านั้น กินกอผักต่าง ๆ บ้าง สรีรวลัญชะ (คูถ) บ้าง ก็เติบโต
ขึ้น, (เขา) มีความประสงค์จะฆ่าตัวใด ๆ ก็มัดตัวนั้น ๆ ให้แน่น ณ
ที่ฆ่าแล้ว ทุบด้วยค้อน 4 เหลี่ยม เพื่อให้เนื้อสุกรพองหนาขึ้น รู้ว่า
เนื้อหนาขึ้นแล้ว ก็ง้างปากสอดไม้เข้าไปในระหว่างฟัน กรอกน้ำร้อน
ที่เดือดพล่าน เข้าไปในปากด้วยทะนานโลหะ. น้ำร้อนนั้น เข้าไปพล่าน
ในท้อง ขับกรีส1ออกมาโดยส่วนเบื้องต่ำ (ทวารหนัก) กรีสน้อยหนึ่ง
ยังมีอยู่เพียงใด ย่อมออกเป็นน้ำขุ่นเพียงนั้น เมื่อท้องสะอาดแล้ว, จึง
ออกเป็นน้ำใส ไม่ขุ่น, ทีนั้น เขาจึงราดน้ำที่ยังเหลือบนหลังสุกรนั้น.
น้ำนั้นลอกเอาหนังดำออกไป. แต่นั้นจึงลนขนด้วยคบหญ้าแล้ว ตัดศีรษะ