เมนู

"ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ฉันใด, ราคะ
ย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้ฉันนั้น.
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ฉันใด, ราคะ
ก็ย่อมเสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ฉันนั้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคารํ คือซึ่งเรือนชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า ทุจฺฉนฺนํ คือที่เขามุงห่าง ๆ มีช่องเล็กช่องน้อย.
บทว่า สมติวิชฺฌติ คือเม็ดฝนย่อมรั่วรดได้.
บทว่า อภาวิตํ เป็นต้น ความว่า ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ชื่อว่า
ไม่ได้อบรม เพราะเป็นธรรมชาติเหินห่างภาวนา ราวกะว่าฝน (รั่วรด)
เรือนนั้นได้ฉะนั้น, ใช่แต่ราคะอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้, สรรพกิเลส
ทั้งหลายมีโทสะ โมหะ และมานะเป็นอาทิ ก็เสียดแทงจิตเห็นปานนั้น
เหมือนกัน.
บทว่า สุภาวิตํ ได้แก่ ที่อบรมดีแล้ว ด้วยสมถภาวนาและ
วิปัสสนาภาวนา; กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ย่อมไม่อาจเสียดแทงจิต
เห็นปานนั้นได้ ราวกะว่าฝนไม่อาจรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วได้ฉะนั้น.
ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมากได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น. เทศนาได้สำเร็จประโยชน์แก่มหาชนแล้ว.

พระนันทะเคยถูกล่อด้วยมาตุคาม


ต่อมา ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาว่า "ผู้มีอายุ ชื่อว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอัจฉริยบุคคล. ท่านพระนันทะ ชื่อว่าอาศัยนาง

ชนบทกัลยาณีกระสันแล้ว พระศาสดาทรงทำเหล่านางเทพอัปสรให้เป็น
อามิสแนะนำได้แล้ว." พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลว่า "ด้วยกถาชื่อนี้" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย
ไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น, แม้ในกาลก่อน นันทะนี้เราก็ได้ล่อด้วยมาตุคาม
แนะนำแล้วเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอน จึง
ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า)

บุรพกรรมของพระนันทะ


ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี
ได้มีพ่อค้าชาวเมืองพาราณสี (คนหนึ่ง ) ชื่อกัปปกะ. ลาผู้ของเขาตัว
หนึ่งนำภาระ (สิ่งของ) ไปได้กุมภะหนึ่ง, มันเดินไปได้วันละ 7 โยชน์,
สมัยหนึ่ง เขาไปเมืองตักกสิลา ( พร้อม) ด้วยภาระที่นำไปด้วยลา
ปล่อยลาเที่ยวไปจนกว่าจำหน่ายสิ่งของหมด. ครั้งนั้น ลาของเขานั้น
เที่ยวไปบนหลังดูพบนางลาตัวหนึ่ง จึงเข้าไปหา. นางลาเมื่อจะทำ
ปฏิสันถารกับลาผู้ตัวนั้น จึงกล่าวว่า "ท่านมาแต่ไหน ?"
ลาผู้. มาแต่เมืองพาราณสี.
นางลา. ท่านมาด้วยกรรมอะไร ?
ลาผู้. ด้วยกรรมของพ่อค้า.
นางลา. ท่านนำภาระไปได้เท่าไร ?
ลาผู้. ภาระประมาณกุมภะหนึ่ง.
นางลา. ท่านเมื่อนำภาระประมาณเท่านั้นไป ไปได้กี่โยชน์.