เมนู

"เปือกตมคือกามอันผู้ใดข้ามได้แล้ว, หนาม
คือกามอันผู้ใดย่ำยีได้แล้ว ผู้นั้น บรรลุความ
สิ้นไปแห่งโมหะ ย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะ
สุขและทุกข์."


พระนันทะถูกฟ้อง


ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ถามท่านพระนันทะว่า "นันทะ
ผู้มีอายุ เมื่อก่อน ท่านกล่าวว่า 'ข้าพเจ้าเป็นผู้กระสันแล้ว' บัดนี้
จิตของท่านเป็นอย่างไร ?" พระนันทะตอบว่า "ผู้มีอายุ ความห่วงใย
ในความเป็นคฤหัสถ์ของเราไม่มี." พวกภิกษุได้ฟังคำนั้นแล้ว กล่าวกัน
ว่า "ท่านนันทะ พูดไม่จริง ย่อมพยากรณ์พระอรหัตผล, ในวันที่
แล้ว ๆ มา กล่าวว่า 'ข้าพเจ้าเป็นผู้กระสันแล้ว' ( แต่ ) บัดนี้
กล่าวว่า ความห่วงใยในความเป็นคฤหัสถ์ของเราไม่มี" ดังนี้แล้ว
ไปกราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ในวันที่แล้ว ๆ มา อัตภาพของนันทะได้เป็นเช่นกับ
เรือนที่เขามุงไม่ดี, (แต่) บัดนี้เป็นเช่นกับเรือนที่เขามุงดีแล้ว เพราะ
ว่านันทะนี้ จำเดิมแต่กาลที่ตนเห็นนางเทพอัปสรแล้ว พยายามเพื่อบรรลุ
ที่สุดแห่งกิจของบรรพชิตอยู่ ได้บรรลุกิจนั้นแล้ว" ได้ทรงภาษิต
พระคาถาเหล่านี้ว่า .
9. ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ วุฏฺฐี สมติวิชฺฌติ
เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ ราโค สมติวิชฺฌติ.
ยถา อคารํ สุจฺฉนฺนํ วุฏฺฐี น สมติวิชฺฌติ
เอวํ สุภาวิตํ จิตฺตํ ราโค น สมติวิชฺฌติ.

"ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ฉันใด, ราคะ
ย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้ฉันนั้น.
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ฉันใด, ราคะ
ก็ย่อมเสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ฉันนั้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคารํ คือซึ่งเรือนชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า ทุจฺฉนฺนํ คือที่เขามุงห่าง ๆ มีช่องเล็กช่องน้อย.
บทว่า สมติวิชฺฌติ คือเม็ดฝนย่อมรั่วรดได้.
บทว่า อภาวิตํ เป็นต้น ความว่า ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ชื่อว่า
ไม่ได้อบรม เพราะเป็นธรรมชาติเหินห่างภาวนา ราวกะว่าฝน (รั่วรด)
เรือนนั้นได้ฉะนั้น, ใช่แต่ราคะอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้, สรรพกิเลส
ทั้งหลายมีโทสะ โมหะ และมานะเป็นอาทิ ก็เสียดแทงจิตเห็นปานนั้น
เหมือนกัน.
บทว่า สุภาวิตํ ได้แก่ ที่อบรมดีแล้ว ด้วยสมถภาวนาและ
วิปัสสนาภาวนา; กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ย่อมไม่อาจเสียดแทงจิต
เห็นปานนั้นได้ ราวกะว่าฝนไม่อาจรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วได้ฉะนั้น.
ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมากได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น. เทศนาได้สำเร็จประโยชน์แก่มหาชนแล้ว.

พระนันทะเคยถูกล่อด้วยมาตุคาม


ต่อมา ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาว่า "ผู้มีอายุ ชื่อว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอัจฉริยบุคคล. ท่านพระนันทะ ชื่อว่าอาศัยนาง