เมนู

"ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็น
สาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ
ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่
ประสพสิ่งอันเป็นสาระ. ชนเหล่าใด รู้สิ่งเป็นสาระ
โดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่
เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นโคจร
ย่อมประสพสิ่งเป็นสาระ."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อสาเร สารมติโน ความว่า
สภาพนี้ คือ ปัจจัย 4 มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 10 ธรรมเทศนาอันเป็นอุปนิสัย
แห่งมิจฉาทิฏฐินั้น ชื่อว่าเป็นอสาระ, ผู้มีปกติเห็นในสิ่งอันไม่เป็นสาระ
นั้นว่า "เป็นสาระ."
บาทพระคาถาว่า สาเร จาสารทสฺสิโน ความว่า สภาพนี้ คือ
สัมมาทิฏฐิมีวัตถุ 10 ธรรมเทศนาอันเป็นอุปนิสัยแห่งสัมมาทิฏฐินั้นชื่อว่า
เป็นสาระ, ผู้มีปกติเห็นในสิ่งที่เป็นสาระนั้นว่า "นี้ไม่เป็นสาระ."
สองบทว่า เต สารํ เป็นต้น ความว่า ชนเหล่านั้น คือผู้ถือ
มิจฉาทิฏฐินั้นตั้งอยู่ เป็นผู้มีความดำริผิดเป็นโคจร ด้วยสามารถแห่งวิตก
ทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น ย่อมไม่บรรลุสีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ
วิมุตติสาระ วิมุตติญาณทัสสนสาระ และพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ-
สาระ.
บทว่า สารญฺจ ความว่า รู้สาระมีสีลสาระเป็นต้นนั่นนั้นแลว่า

"นี้ชื่อว่าสาระ" และรู้สิ่งไม่เป็นสาระ มีประการดังกล่าวแล้วว่า "นี้ไม่
เป็นสาระ."
สองบทว่า เต สารํ เป็นต้น ความว่า ชนเหล่านั้น คือบัณฑิต
ผู้ยึดสัมมาทัสสนะอย่างนั้นตั้งอยู่ เป็นผู้มีความดำริชอบเป็นโคจร ด้วย
สามารถแห่งความดำริทั้งหลาย มีความดำริออกจากกามเป็นต้น ย่อมบรรลุ
สิ่งอันเป็นสาระ มีประการดังกล่าวแล้วนั้น.
ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น. เทศนาได้เป็นประโยชน์แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องสญชัย จบ.

9. เรื่องพระนันทเถระ [9]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภท่านนันทะ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ" เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์


ความพิสดารว่า พระศาสดา ทรงมีพระธรรมจักรบวรให้เป็นไป
แล้ว เสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน, บรรดาทูต
10 คน มีบริวารคนละพัน อันพระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงส่งไปด้วย
รับสั่งว่า "ท่านทั้งหลาย จงนำบุตรมาแสดงแก่เราเถิด,' พระกาฬุทายี
เถระ ไปทีหลังกว่าทูตทั้งหมด บรรลุพระอรหัตแล้ว ทราบกาลเป็นที่
เสด็จมาแล้ว พรรณนาหนทางด้วยคาถาประมาณ 60 คาถา นำเสด็จ
[พระศาสดา] ผู้มีพระขีณาสพสองหมื่นแวดล้อมแล้ว ไปสู่กบิลพัสดุ์บุรี,
ทรงทำฝนโบกขรพรรษให้เป็นเหตุเกิดแห่งเรื่องแล้วตรัสมหาเวสสันดร-
ชาดก1ในสมาคมพระญาติ, วันรุ่งขึ้น เสด็จเข้าไปบิณฑบาต โปรด
พระบิดาให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยพระคาถาว่า "อุตฺติฏฺเฐ
นปฺปมชฺเชยฺย"
เป็นต้น, โปรดพระนางมหาปชาบดีโคตมีให้ดำรงอยู่
ในโสดาปัตติผล และโปรดพระราชา ( พระบิดา) ให้ดำรงอยู่ในสกทา-
คามิผล ด้วยพระคาถาว่า "ธมฺมญฺจเร สุจริตํ2" เป็นต้น. ก็ในกาล
เสร็จภัตกิจ ทรงอาศัยการพรรณนาพระคุณของราหุลมารดา ตรัสจันท-

1. ขุ. ชา. 27/365. อรรถกถา. 10/315. ขุ. ธ. 25/38. 2. ขุ. ธ. 25/38.