เมนู

"ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็น
สาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ
ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่
ประสพสิ่งอันเป็นสาระ. ชนเหล่าใด รู้สิ่งเป็นสาระ
โดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่
เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นโคจร
ย่อมประสพสิ่งเป็นสาระ."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อสาเร สารมติโน ความว่า
สภาพนี้ คือ ปัจจัย 4 มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 10 ธรรมเทศนาอันเป็นอุปนิสัย
แห่งมิจฉาทิฏฐินั้น ชื่อว่าเป็นอสาระ, ผู้มีปกติเห็นในสิ่งอันไม่เป็นสาระ
นั้นว่า "เป็นสาระ."
บาทพระคาถาว่า สาเร จาสารทสฺสิโน ความว่า สภาพนี้ คือ
สัมมาทิฏฐิมีวัตถุ 10 ธรรมเทศนาอันเป็นอุปนิสัยแห่งสัมมาทิฏฐินั้นชื่อว่า
เป็นสาระ, ผู้มีปกติเห็นในสิ่งที่เป็นสาระนั้นว่า "นี้ไม่เป็นสาระ."
สองบทว่า เต สารํ เป็นต้น ความว่า ชนเหล่านั้น คือผู้ถือ
มิจฉาทิฏฐินั้นตั้งอยู่ เป็นผู้มีความดำริผิดเป็นโคจร ด้วยสามารถแห่งวิตก
ทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น ย่อมไม่บรรลุสีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ
วิมุตติสาระ วิมุตติญาณทัสสนสาระ และพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ-
สาระ.
บทว่า สารญฺจ ความว่า รู้สาระมีสีลสาระเป็นต้นนั่นนั้นแลว่า