เมนู

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งสองนั้น ไปยังสำนักของท่านอาจารย์สญชัย
ประสงค์จะนำท่านมาสู่บาทมูลของพระองค์ แจ้งว่าลัทธิของท่านไม่มีสาระ
แล้ว กล่าวอานิสงส์ในการหาที่นี่. ท่านสญชัยตอบว่า 'บัดนี้ชื่อว่าการอยู่
เป็นอันเตวาสิกของเรา ย่อมเป็นเช่นกับการถึงความกะเพื่อมแห่งน้ำในตุ่ม,
เราไม่สามารถจะอยู่เป็นอันเตวาสิกได้,' เมื่อข้าพระองค์บอกว่า 'ท่าน
อาจารย์ เวลานี้ มหาชนมีมือถือวัตถุมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น
จักไปบูชาเฉพาะพระศาสดา ท่านจักเป็นอย่างไร ?' ตอบว่า 'ก็ในโลก
นี้ คนฉลาดมากหรือคนเขลามาก ?' เมื่อข้าพระองค์ตอบว่า ' คนเขลา
มาก,' ก็กล่าวว่า ถ้ากระนั้น พวกคนฉลาด ๆ จักไปสำนักพระสมณโคดม,
พวกคนเขลา ๆ จักมาสำนักของเรา, เธอทั้งสอง ไปเถอะ' ไม่ปรารถนา
จะมา พระเจ้าข้า.

ผู้เห็นผิดกับผู้เห็นถูกได้รับผลต่างกัน


พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สญชัย
ถือสิ่งที่ไม่มีสาระว่า 'มีสาระ' และสิ่งที่มีสาระว่า 'ไม่มีสาระ' เพราะ
ความที่ตนเป็นมิจฉาทิฏฐิ. ส่วนเธอทั้งสอง รู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็น
สาระ และสิ่งอันไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ละสิ่งที่ไม่เป็นสาระเสีย
ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นสาระเท่านั้น เพราะความที่คนเป็นบัณฑิต" ดังนี้แล้ว
ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
8. อสาเร สารมติโน สาเร จาสารทสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา.
สารญฺจ สารโต ญตฺวา อสารญฺจ อสารโต
เต สารํ อธิคจฺฉนฺติ สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา.


"ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็น
สาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ
ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่
ประสพสิ่งอันเป็นสาระ. ชนเหล่าใด รู้สิ่งเป็นสาระ
โดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่
เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นโคจร
ย่อมประสพสิ่งเป็นสาระ."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อสาเร สารมติโน ความว่า
สภาพนี้ คือ ปัจจัย 4 มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 10 ธรรมเทศนาอันเป็นอุปนิสัย
แห่งมิจฉาทิฏฐินั้น ชื่อว่าเป็นอสาระ, ผู้มีปกติเห็นในสิ่งอันไม่เป็นสาระ
นั้นว่า "เป็นสาระ."
บาทพระคาถาว่า สาเร จาสารทสฺสิโน ความว่า สภาพนี้ คือ
สัมมาทิฏฐิมีวัตถุ 10 ธรรมเทศนาอันเป็นอุปนิสัยแห่งสัมมาทิฏฐินั้นชื่อว่า
เป็นสาระ, ผู้มีปกติเห็นในสิ่งที่เป็นสาระนั้นว่า "นี้ไม่เป็นสาระ."
สองบทว่า เต สารํ เป็นต้น ความว่า ชนเหล่านั้น คือผู้ถือ
มิจฉาทิฏฐินั้นตั้งอยู่ เป็นผู้มีความดำริผิดเป็นโคจร ด้วยสามารถแห่งวิตก
ทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น ย่อมไม่บรรลุสีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ
วิมุตติสาระ วิมุตติญาณทัสสนสาระ และพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ-
สาระ.
บทว่า สารญฺจ ความว่า รู้สาระมีสีลสาระเป็นต้นนั่นนั้นแลว่า