เมนู

พระศาสดาทรงแสดงธรรมมีคุณไพเราะ (ทั้ง) ในเบื้องต้น ท่ามกลาง
และที่สุด ยกขึ้นสู่ไตรลักษณะ1 อันละเอียดสุขุม ธรรมนั้น อันใคร ๆ
ไม่สามารถจะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ในท่ามกลางเรือนได้; ข้าจักบวชละ พ่อ.
น. พี่ เออ ก็ท่านยังหนุ่มอยู่โดยแท้, เอาไว้บวชในเมื่อท่าน
แก่เถิด.
พ. พ่อ ก็แม้มือและเท้าของคนแก่ (แต่) ของตัว ก็ยังว่าไม่ฟัง
ไม่เป็นไปในอำนาจ, ก็จักกล่าวไปทำไมถึงญาติทั้งหลาย, ข้านั้นจะไม่ทำ
(ตาม) ถ้อยคำของเจ้า. ข้าจักบำเพ็ญสมณปฏิบัติให้บริบูรณ์.
มือและเท้าของผู้ใด ทรุดโทรมไปเพราะชรา
ว่าไม่ฟัง ผู้นั้น มีเรี่ยวแรงอันชรากำจัดเสียแล้ว
จักประพฤติธรรมอย่างไรได้.

ข้าจักบวชแน่ล่ะ พ่อ.

มหาปาละบรรพชาอุปสมบท


เมื่อน้องชายกำลังร้องไห้อยู่เที่ยว, เขาไปสู่สำนักพระศาสดาแล้ว
ทูลขอบวช ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว อยู่ในสำนักแห่งพระอาจารย์และ
อุปัชฌาย์ครบ 5 พรรษาแล้ว2 ออกพรรษา ปวารณาแล้วเข้าไปเฝ้า
พระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลถามว่า "พระเจ้าข้า ในพระศาสนานี้
มีธุระกี่อย่าง ?"

1. ไตรลักษณะ คือ อนิจจลักษณะ 1. ทุกขลักษณะ 1. อนัตตลักษณะ 1
2. ถ้าฟังตามนี้ พระมหาปาละบรรพชาอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา หาใช่เอหิภิกขุ
อุปสัมปทาไม่.

ธุระ 2 อย่างในพระศาสนา


พระศาสดาตรัสตอบว่า "ภิกษุ ธุระมี 2 อย่าง คือ คันถธุระ
(กับ) วิปัสสนาธุระ เท่านั้น."
พระมหาปาละทูลถามว่า "พระเจ้าข้า ก็คันถธุระเป็นอย่างไร ?
วิปัสสนาธุระเป็นอย่างไร ?"
ศ ธุระนี้ คือ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธ-
วจนะคือพระไตรปิฏกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าว
บอก พุทธวจนะนั้น ชื่อว่าคันถธุระ. ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นและ
ความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ยังวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อ
แล้ว ถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้ว
ในเสนาสนะอันสงัด ชื่อว่าวิปัสสนาธุระ.
ม. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์บวชแล้วแต่เมื่อแก่ ไม่สามารถจะ
บำเพ็ญคันถธุระให้บริบูรณ์ได้, แต่จักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระให้บริบูรณ์,
ขอพระองค์ตรัสบอกพระกรรมฐานแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระมหาปาละเดินทางไปบ้านปลายแดน


ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสบอกพระกรรมฐานตลอดถึงพระอรหัต
แก่พระมหาปาละ. ท่านถวายบังคมพระศาสดาแล้ว แสวงหาภิกษุผู้จะ
ไปกับตน ได้ภิกษุ 60 รูปแล้ว ออกพร้อมกับเธอทั้งหลายไป
ตลอดทาง 120 โยชน์ ถึงบ้านปลายแดนหมู่ใหญ่ตำบลหนึ่ง จึงพร้อม
ด้วยบริวาร เข้าไปบิณฑบาต ณ บ้านนั้น.