เมนู

มหาปาละขอบวช


กุฎุมพีมหาปาละได้สดับธรรมนั้นแล้ว คิดว่า "บุตรและธิดาก็ดี
โภคสมบัติก็ดี ย่อมไปตามผู้ไปสู่ปรโลกหาได้ไม่ แม้สรีระก็ไปกับตัว
ไม่ได้ ประโยชน์อะไรของเราด้วยการอยู่ครองเรือน เราจักบวช พอเทศนา
จบ เขาก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลขอบวช. ขณะนั้น พระศาสดาตรัสถาม
เขาว่า "ญาติไหน ๆ ของท่านที่ควรจะต้องอำลาไม่มีบ้างหรือ ?"
เขาทูลว่า "พระเจ้าข้า น้องชายของข้าพระพุทธเจ้ามีอยู่."
พระศาสดารับสั่งว่า "ถ้าอย่างนั้นท่านจงอำลาเขาเสีย [ก่อน]."

มหาปาละมอบสมบัติให้น้องชาย


เขาทูลรับว่า "ดีแล้ว" ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ไปถึงเรือน
แล้ว ให้เรียกน้องชายมา มอบทรัพย์สมบัติให้ว่า "แน่ะพ่อ สวิญญาณก-
ทรัพย์ก็ดี อวิญญาณกทรัพย์ก็ดี อันใดอันหนึ่ง บรรดามีในตระกูลนี้
ทรัพย์นั้นจงตกเป็นภาระของเจ้าทั้งหมด เจ้าจงดูแลทรัพย์นั้นเถิด."
น้องชายถามว่า "นาย ก็ท่านเล่า ?"
พี่ชายตอบว่า "ข้าจักบวชในสำนักของพระศาสดา."
น. พี่พูดอะไร เมื่อมารดาของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าได้ท่านเป็น
เหมือนมารดา เมื่อบิดาตายแล้ว ได้ท่านเป็นเหมือนบิดา. สมบัติเป็นอัน
มากมีอยู่ในเรือนของท่าน, ท่านอยู่ครองเรือนเท่านั้นอาจทำบุญได้, ขอ
ท่านอย่าได้ทำอย่างนั้นเลย.
พ. พ่อ ข้าได้ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดา, เพราะ (เหตุที่)

พระศาสดาทรงแสดงธรรมมีคุณไพเราะ (ทั้ง) ในเบื้องต้น ท่ามกลาง
และที่สุด ยกขึ้นสู่ไตรลักษณะ1 อันละเอียดสุขุม ธรรมนั้น อันใคร ๆ
ไม่สามารถจะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ในท่ามกลางเรือนได้; ข้าจักบวชละ พ่อ.
น. พี่ เออ ก็ท่านยังหนุ่มอยู่โดยแท้, เอาไว้บวชในเมื่อท่าน
แก่เถิด.
พ. พ่อ ก็แม้มือและเท้าของคนแก่ (แต่) ของตัว ก็ยังว่าไม่ฟัง
ไม่เป็นไปในอำนาจ, ก็จักกล่าวไปทำไมถึงญาติทั้งหลาย, ข้านั้นจะไม่ทำ
(ตาม) ถ้อยคำของเจ้า. ข้าจักบำเพ็ญสมณปฏิบัติให้บริบูรณ์.
มือและเท้าของผู้ใด ทรุดโทรมไปเพราะชรา
ว่าไม่ฟัง ผู้นั้น มีเรี่ยวแรงอันชรากำจัดเสียแล้ว
จักประพฤติธรรมอย่างไรได้.

ข้าจักบวชแน่ล่ะ พ่อ.

มหาปาละบรรพชาอุปสมบท


เมื่อน้องชายกำลังร้องไห้อยู่เที่ยว, เขาไปสู่สำนักพระศาสดาแล้ว
ทูลขอบวช ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว อยู่ในสำนักแห่งพระอาจารย์และ
อุปัชฌาย์ครบ 5 พรรษาแล้ว2 ออกพรรษา ปวารณาแล้วเข้าไปเฝ้า
พระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลถามว่า "พระเจ้าข้า ในพระศาสนานี้
มีธุระกี่อย่าง ?"

1. ไตรลักษณะ คือ อนิจจลักษณะ 1. ทุกขลักษณะ 1. อนัตตลักษณะ 1
2. ถ้าฟังตามนี้ พระมหาปาละบรรพชาอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา หาใช่เอหิภิกขุ
อุปสัมปทาไม่.