เมนู

ช้างตัวประเสริฐผู้ข่มขี่นายพรานช้างนั้น คือเราเอง " ดังนี้ ตรัสว่า
"ภิกษุ ไม่ใช่แต่ในกาลนี้เท่านั้น. แม้ในกาลก่อน เทวทัตก็ทรงผ้า
ไม่สมควรแก่ตนเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
7. อันกกสาโว กาสาวํ โย วตฺถํ ปริทเหสฺสติ
อเปโต ทมสจฺเจน น โส กาสาวมรหติ.
โย จ วนฺตกสาวสฺส สีเลสุ สุสมาหิโต
อุเปโต ทมสจฺเจน ส เว กาสาวมรหติ.
"ผู้ใด มีกิเลสดุจน้ำฝาดยังไม่ออก ปราศจากทมะ
และสัจจะ จักนุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ผู้นั้นย่อมไม่ควร
นุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ส่วนผู้ใด พึงเป็นผู้มีกิเลสดุจ
น้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลาย ประกอบ
ด้วยทมะและสัจจะ, ผู้นั้นแล ย่อมควรนุ่งห่มผ้า
กาสาวะ."

เนื้อความนี้ บัณฑิตพึงแสดงแม้ด้วยฉัททันตชาดก1 ดังนี้แล.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิกฺกสาโว ความว่า ผู้ชื่อว่ามี
กิเลสดุจน้ำฝาด เพราะกิเลสดุจน้ำฝาดทั้งหลาย มีกามราคะเป็นต้น.
บทว่า ปริทเหสฺสติ ความว่า จักใช้สอยด้วยสามารถแห่งการนุ่ง
การห่ม และการลาด. พระบาลีว่า "ปริทหิสฺสติ" ก็มี.
บาทพระคาถาว่า อเปโต ทมสจฺเจน ความว่า ปราศจาก.

1. ขุ. ติรสติ. 27/ 490. อรรถกถา. 7/226.

อธิบายว่า "พราก" จากการฝึกอินทรีย์ และวจีสัจจะอันเป็นฝ่าย
ปรมัตถสัจจะ.
บทว่า น โส เป็นต้น ความว่า บุคคลนั้น คือผู้เห็นปานนั้น
ย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ.
บทว่า วนฺตกสาวสฺส ความว่า พึงเป็นผู้มีกิเลสดุจน้ำฝาดอัน
คายแล้ว คือมีกิเลสดุจน้ำฝาดอันทิ้งแล้ว ได้แก่ มีกิเลสดุจน้ำฟาดอันละ
แล้ว ด้วยมรรค 4.
บทว่า สีเลสุ ได้แก่ ในปาริสุทธิศีล 4.
บทว่า สุสมาหิโต ได้แก่ ผู้ตั้งมั่นดี คือดำรงอยู่ด้วยดี.
บทว่า อุเปโต ความว่า ประกอบด้วยการฝึกอินทรีย์และวจีสัจจะ
มีประการดังกล่าวแล้ว.
บทว่า ส เว เป็นต้น ความว่า บุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น
ย่อมควร [นุ่งห่ม] ผ้ากาสาวะนั้น.
ในกาลจบคาถา ภิกษุผู้อยู่ในต่างทิศนั้น ได้เป็นพระโสดาบัน.
ชนแม้เหล่าอื่นมีจำนวนมาก บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
เทศนาได้สำเร็จประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.
เรื่องพระเทวทัต จบ.

8. เรื่องสญชัย [8]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภความไม่มา
ของสญชัย (ปริพาชก ) ซึ่งสองพระอัครสาวกกราบทูลแล้ว ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ว่า "อสาเร สารมติโน" เป็นต้น. อนุปุพพีกถา
ในเรื่องสญชัยนั้น ดังต่อไปนี้:-

พระศาสดาได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า 23 พระองค์


ความพิสดารว่า ในที่สุด 4 อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัลป์แต่กัลป์
นี้ไป พระศาสดาของเราทั้งหลาย เป็นกุมารของพราหมณ์นามว่าสุเมธะ
ในอมรวดีนคร ถึงความสำเร็จศิลปะทุกอย่างแล้ว โดยกาลล่วงไปแห่ง
มารดาและบิดา ทรงบริจาคทรัพย์นับได้หลายโกฏิ บวชเป็นฤษีอยู่ใน
หิมวันตประเทศ ทำฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว ไปโดยอากาศเห็นคน
ถางทางอยู่เพื่อประโยชน์เสด็จ (ออก) จากสุทัศนวิหาร เข้าไปสู่อมร-
วดีนคร แห่งพระทศพลทรงพระนามว่าทีปังกร แม้ตนเองก็ถือเอา
ประเทศแห่งหนึ่ง, เมื่อประเทศนั้น ยังไม่ทันเสร็จ, นอนทอดตนให้
เป็นสะพาน ลาดหนังเสือเหลืองบนเปือกตม เพื่อพระศาสดาผู้เสด็จมาแล้ว
ด้วยประสงค์ว่า "ขอพระศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก ไม่ต้องทรง
เหยียบเปือกตม จงทรงเหยียบเราเสด็จไปเถิด" แต่พอพระศาสดาทอด
พระเนตรเห็น ก็ทรงพยากรณ์ว่า "ผู้นี้เป็นพุทธังกูร1 จักเป็นพระพุทธ-

1. หน่อเนื้อ, เชื้อสาย แห่งพระพุทธเจ้า.