เมนู

ช้างตัวประเสริฐผู้ข่มขี่นายพรานช้างนั้น คือเราเอง " ดังนี้ ตรัสว่า
"ภิกษุ ไม่ใช่แต่ในกาลนี้เท่านั้น. แม้ในกาลก่อน เทวทัตก็ทรงผ้า
ไม่สมควรแก่ตนเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
7. อันกกสาโว กาสาวํ โย วตฺถํ ปริทเหสฺสติ
อเปโต ทมสจฺเจน น โส กาสาวมรหติ.
โย จ วนฺตกสาวสฺส สีเลสุ สุสมาหิโต
อุเปโต ทมสจฺเจน ส เว กาสาวมรหติ.
"ผู้ใด มีกิเลสดุจน้ำฝาดยังไม่ออก ปราศจากทมะ
และสัจจะ จักนุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ผู้นั้นย่อมไม่ควร
นุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ส่วนผู้ใด พึงเป็นผู้มีกิเลสดุจ
น้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลาย ประกอบ
ด้วยทมะและสัจจะ, ผู้นั้นแล ย่อมควรนุ่งห่มผ้า
กาสาวะ."

เนื้อความนี้ บัณฑิตพึงแสดงแม้ด้วยฉัททันตชาดก1 ดังนี้แล.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิกฺกสาโว ความว่า ผู้ชื่อว่ามี
กิเลสดุจน้ำฝาด เพราะกิเลสดุจน้ำฝาดทั้งหลาย มีกามราคะเป็นต้น.
บทว่า ปริทเหสฺสติ ความว่า จักใช้สอยด้วยสามารถแห่งการนุ่ง
การห่ม และการลาด. พระบาลีว่า "ปริทหิสฺสติ" ก็มี.
บาทพระคาถาว่า อเปโต ทมสจฺเจน ความว่า ปราศจาก.

1. ขุ. ติรสติ. 27/ 490. อรรถกถา. 7/226.