เมนู

"เจ้าคนนี้ ให้ช้างของเราฉิบหายแล้ว." นายพรานข้างนอกนี้ แอบบัง
ต้นไม้ต้นหนึ่ง. ทีนั้น พระมหาบุรุษ เอางวงรวบเขาพร้อมกับต้นไม้
หมายใจว่า "จักจับฟาดลงที่แผ่นดิน. " ( ครั้น ) เห็นผ้ากาสาวะที่เขา
นำออกแสดง จึงยับยั้งไว้ ด้วยคิดเห็นว่า " ถ้าเราจักประทุษร้ายใน
บุรุษนี้ไซร้. ชื่อว่าความละอายในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะและ
พระขีณาสพหลายพันองค์ จักเป็นอันเราทำลายแล้ว." ซักถามว่า
"ญาติของเราประมาณเท่านี้ เจ้าให้ฉิบหายแล้วหรือ ?"
นายพรานช้างรับสารภาพว่า "จ้ะ นาย."
พระมหาบุรุษกล่าวว่า "เพราะอะไร เจ้าจึงได้ทำกรรมอันหยาบช้า
อย่างนี้ ? เจ้าห่มผ้าไม่สมควรแก่ตน สมควรแก่ท่านผู้ปราศจากราคะ
ทั้งหลาย เมื่อทำกรรมอันลามกเห็นปานนี้ ชื่อว่าทำกรรมอันหนัก."
ก็แล ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะข่มขี่ให้ยิ่งขึ้น จึงกล่าวคาถาว่า
" ผู้ใด มีกิเลสดุจน้ำฝาดยังไม่ออก ปราศจาก
ทมะและสัจจะ จักนุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ผู้นั้นย่อมไม่
ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ส่วนผู้ใด พึงเป็นผู้มีกิเลส
ดุจน้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลาย ประ-
กอบด้วยทมะและสัจจะ, ผู้นั้นแล ย่อมควรนุ่งห่ม
ผ้ากาสาวะ.

ดังนี้แล้ว กล่าวว่า เจ้าทำกรรมอันไม่สมควร" แล้วก็ปล่อยเขาไป.

ของดีย่อมควรแก่คนดีหาควรกับคนชั่วไม่


พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา (แสดง) แล้ว
ทรงย่อชาดกว่า "นายพรานช้างในกาลนั้น ได้เป็นเทวทัต (ในบัดนี้)

ช้างตัวประเสริฐผู้ข่มขี่นายพรานช้างนั้น คือเราเอง " ดังนี้ ตรัสว่า
"ภิกษุ ไม่ใช่แต่ในกาลนี้เท่านั้น. แม้ในกาลก่อน เทวทัตก็ทรงผ้า
ไม่สมควรแก่ตนเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
7. อันกกสาโว กาสาวํ โย วตฺถํ ปริทเหสฺสติ
อเปโต ทมสจฺเจน น โส กาสาวมรหติ.
โย จ วนฺตกสาวสฺส สีเลสุ สุสมาหิโต
อุเปโต ทมสจฺเจน ส เว กาสาวมรหติ.
"ผู้ใด มีกิเลสดุจน้ำฝาดยังไม่ออก ปราศจากทมะ
และสัจจะ จักนุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ผู้นั้นย่อมไม่ควร
นุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ส่วนผู้ใด พึงเป็นผู้มีกิเลสดุจ
น้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลาย ประกอบ
ด้วยทมะและสัจจะ, ผู้นั้นแล ย่อมควรนุ่งห่มผ้า
กาสาวะ."

เนื้อความนี้ บัณฑิตพึงแสดงแม้ด้วยฉัททันตชาดก1 ดังนี้แล.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิกฺกสาโว ความว่า ผู้ชื่อว่ามี
กิเลสดุจน้ำฝาด เพราะกิเลสดุจน้ำฝาดทั้งหลาย มีกามราคะเป็นต้น.
บทว่า ปริทเหสฺสติ ความว่า จักใช้สอยด้วยสามารถแห่งการนุ่ง
การห่ม และการลาด. พระบาลีว่า "ปริทหิสฺสติ" ก็มี.
บาทพระคาถาว่า อเปโต ทมสจฺเจน ความว่า ปราศจาก.

1. ขุ. ติรสติ. 27/ 490. อรรถกถา. 7/226.