เมนู

พระเทวทัตนุ่งห่มผ้าไม่สมควรแก่ตน


พระเทวทัต ตัดผ้านั้นแล้ว เย็บ ย้อม นุ่งห่มเที่ยวไป. พวก
มนุษย์เห็นท่านแล้ว จึงพูดกันว่า "ผ้าผืนนี้หาสมควรแก่พระเทวทัตไม่
ควรแก่พระสารีบุตรเถระ, พระเทวทัตนุ่งห่มผ้าอันไม่สมควรแก่ตนเที่ยว
ไป."
ขณะนั้น ภิกษุผู้อยู่ต่างทิศรูปหนึ่ง ( ออก ) จากกรุงราชคฤห์
ไปสู่กรุงสาวัตถี ถวายบังคมพระศาสดา เป็นผู้อันพระศาสดาทรงทำ
ปฏิสันถาร ตรัสถามถึงการอยู่ผาสุกของพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว จึง
กราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดจำเดิมแต่ต้น.
พระศาสดา ตรัสว่า "ภิกษุ เทวทัตนั้นทรงผ้าที่ไม่สมควรแก่
ตนในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้, แม้ในกาลก่อน เธอก็ทรงแล้วเหมือนกัน"
ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า)

ครั้งก่อนพระเทวทัตเป็นนายพรานช้าง


ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ ในพระนคร
พาราณสี, นายพรานช้าง ชาวพระนครพาราณสีผู้หนึ่ง ล้มช้างแล้ว
นำงา หนัง ไส้ใหญ่และเนื้อล่ำมาแล้วขายเลี้ยงชีวิต. ครั้งนั้นช้างหลาย
พันเชือกเดินหากินอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง พบพระปัจเจกพุทธะหลายองค์
จำเดิมแต่กาลนั้น เมื่อไป หมอบลงด้วยเข่าทั้งสองแล้วจบ1ในกาลที่ไป
และมา ( ทุกครั้ง) แล้วจึงผ่านไป. วันหนึ่ง นายพรานช้างเห็นกิริยา
นั้นแล้ว คิดว่า "เราล้มช้างเหล่านี้ได้โดยยาก, ก็ในกาลไปและมา

1. กิริยาของช้างที่ทำความเคารพ ตรงกับคำว่า ไหว้.
.

ช้างเหล่านี้ย่อมจบพระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย, มันเห็นอะไรหนอ ? จึง
จบ," กำหนดได้ว่า "เห็นผ้ากาสาวะ" ดังนี้แล้ว ดำริว่า "บัดนี้
แม้เราได้ผ้ากาสาวะย่อมควร," เมื่อพระปัจเจกพุทธะรูปหนึ่งลงไปสู่ชาต-
สระสรงน้ำอยู่1 วางผ้ากาสาวะทั้งหลายไว้ที่ริมฝั่ง, จึงลักจีวรไป จับหอก
นั่งคลุมโปง2อยู่ริมหนทางที่ช้างเหล่านั้นไปมา.
หมู่ช้างเห็นเขาแล้วจึงจบ ด้วยสำคัญว่า "พระปัจเจกพุทธะ"
แล้วก็ผ่านไป. นายพรานช้างนั้นเอาหอกพุ่งถูกช้างตัวไปข้างหลังช้างเหล่า
นั้นทั้งหมดให้ตายแล้ว ถือเอาส่วนต่าง ๆ มีงาเป็นต้น ฝั่งส่วนที่เหลือใน
แผ่นดินแล้วไป.
ในกาลต่อมา พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดช้าง ได้เป็น
หัวหน้าช้าง เป็นนายโขลง. ถึงในกาลนั้น นายพรานช้างนั้น ก็คงทำ
อยู่อย่างนั้น. พระมหาบุรุษทราบความหมดสิ้นไปแห่งบริษัทของตน
จึงถามว่า "ช้างเหล่านี้ไปไหน ? จึงเบาบางไป," เมื่อเหล่าช้างนั้น
ตอบว่า "ไม่ทราบ นาย" คิดว่า "ช้างทั้งหลายจะไปไหนไม่บอกเรา
( ก่อน ) จักไม่ไป, อันตรายพึงมี" นึกสงสัยว่า "อันตรายพึงมีแต่
สำนักแห่งบุรุษผู้นั่งคลุมผ้ากาสาวะในที่แห่งหนึ่ง," เพื่อจะจับบุรุษนั้น
จึงส่งช้างทั้งหมดล่วงหน้าไปก่อน ส่วนคนมาล้าหลัง, นายพรานช้างนั้น
เมื่อช้างที่เหลือจบแล้วเดินไป, เห็นพระมหาบุรุษกำลังเดินมาจึงม้วนจีวร
พุ่งหอกไป.
พระมหาบุรุษคุมสติเดินมา ถอยกลับไปข้างหลังหู ลบหอกแล้ว.
ทีนั้น จึงวิ่งแปรเข้าไป เพื่อจะจับนายพรานช้างนั้น ด้วยสำคัญว่า

1. ชาตสระ สระที่เป็นของไม่มีใครขุดทำ. 2. สสีสํ ปารุปิตฺวา.

"เจ้าคนนี้ ให้ช้างของเราฉิบหายแล้ว." นายพรานข้างนอกนี้ แอบบัง
ต้นไม้ต้นหนึ่ง. ทีนั้น พระมหาบุรุษ เอางวงรวบเขาพร้อมกับต้นไม้
หมายใจว่า "จักจับฟาดลงที่แผ่นดิน. " ( ครั้น ) เห็นผ้ากาสาวะที่เขา
นำออกแสดง จึงยับยั้งไว้ ด้วยคิดเห็นว่า " ถ้าเราจักประทุษร้ายใน
บุรุษนี้ไซร้. ชื่อว่าความละอายในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะและ
พระขีณาสพหลายพันองค์ จักเป็นอันเราทำลายแล้ว." ซักถามว่า
"ญาติของเราประมาณเท่านี้ เจ้าให้ฉิบหายแล้วหรือ ?"
นายพรานช้างรับสารภาพว่า "จ้ะ นาย."
พระมหาบุรุษกล่าวว่า "เพราะอะไร เจ้าจึงได้ทำกรรมอันหยาบช้า
อย่างนี้ ? เจ้าห่มผ้าไม่สมควรแก่ตน สมควรแก่ท่านผู้ปราศจากราคะ
ทั้งหลาย เมื่อทำกรรมอันลามกเห็นปานนี้ ชื่อว่าทำกรรมอันหนัก."
ก็แล ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะข่มขี่ให้ยิ่งขึ้น จึงกล่าวคาถาว่า
" ผู้ใด มีกิเลสดุจน้ำฝาดยังไม่ออก ปราศจาก
ทมะและสัจจะ จักนุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ผู้นั้นย่อมไม่
ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ส่วนผู้ใด พึงเป็นผู้มีกิเลส
ดุจน้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลาย ประ-
กอบด้วยทมะและสัจจะ, ผู้นั้นแล ย่อมควรนุ่งห่ม
ผ้ากาสาวะ.

ดังนี้แล้ว กล่าวว่า เจ้าทำกรรมอันไม่สมควร" แล้วก็ปล่อยเขาไป.

ของดีย่อมควรแก่คนดีหาควรกับคนชั่วไม่


พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา (แสดง) แล้ว
ทรงย่อชาดกว่า "นายพรานช้างในกาลนั้น ได้เป็นเทวทัต (ในบัดนี้)