เมนู

แห่งละ 2 พันรูปเป็นนิตยกาล. พระภิกษุรูปใด ปรารถนาของสิ่งใด
จะเป็นข้าวน่าหรือเภสัช ของนั้นก็สำเร็จแก่พระภิกษุรูปนั้นสมปรารถนา.

เศรษฐีไม่เคยทูลถามปัญหา


ในท่านทั้งสองนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ไม่เคยทูลถาม
ปัญหาต่อพระศาสดา จนวันเดียว. ได้ยินว่า ท่านคิดว่า " พระ-
ตถาคตเจ้า เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ละเอียดอ่อน เป็นกษัตริย์ผู้ละเอียดอ่อน
เมื่อทรงแสดงธรรมแก่เรา ด้วยทรงพระดำริว่า ' คฤหบดีมีอุปการะ
แก่เรามาก ่ ดังนี้ จะทรงลำบาก " แล้วไม่ทูลถามปัญหาด้วยความรัก
ในพระศาสดาเป็นอย่างยิ่ง. ฝ่ายพระศาสดา พอท่านเศรษฐีนั่งแล้ว
ทรงพระพุทธดำริว่า " เศรษฐีผู้นี้ รักษาเราในที่ไม่ควรรักษา, เหตุว่า
เราได้ตัดศีรษะของเราอันประดับประดาแล้ว ควักดวงตาของเราออกแล้ว
ชำแหละเนื้อหัวใจของเราแล้ว สละลูกเมียผู้เป็นที่รักเสมอด้วยชีวิตของ
เราแล้ว บำเพ็ญบารมีอยู่ 4 อสงไขยกับแสดงกัลป์ ก็บำเพ็ญแล้วเพื่อ
แสดงธรรมแก่ผู้อื่นเท่านั้น เศรษฐีนี่รักษาเราในที่ไม่ควรรักษา," (ครั้น
ทรงพุทธดำริ) ฉะนี้แล้ว ก็ตรัสพระธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่งเสมอ.

ชาวสาวัตถีไปฟังธรรม


ครั้งนั้น ในกรุงสาวัตถี มีคนอยู่ 7 โกฏิ1. ในคนหมู่นั้น คน
ได้ฟังธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว เกิดเป็นอริยสาวกประมาณ 5 โกฏิ

1. ในกรุงสาวัตถีไม่ปรากฏว่าใหญ่โตถึงกับจุคนได้ตั้ง 70 ล้าน เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นอเนก-
สังขยากระมัง ?

ยังเป็นปุถุชนอยู่ประมาณ 2 โกฏิ. ในคนเหล่านั้น กิจของพระอริยสาวก
มีเพียง 2 อย่างเท่านั้น คือในกาลก่อนแต่เวลาฉันอาหาร ท่านถวายทาน
ในกาลภายหลังแต่ฉันอาหารแล้ว ท่านมีมือถือเครื่องสักการบูชามีของ
หอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น ใช้คนให้ถือไทยธรรมมีผ้าเภสัชและน้ำ
ปานะเป็นต้น ไปเพื่อต้องการฟังธรรม.

มหาปาละตามไปฟังธรรม


ภายหลังวันหนึ่ง กุฎุมพีมหาปาละเห็นหมู่อริยสาวก มีมือถือ
เครื่องสักการบูชา มีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น ไปสู่วิหาริ1
จึงถามว่า "มหาชนหมู่นี้ไปไหนกัน ?" ครั้นได้ยินว่า " ไปฟังธรรม"
ก็คิดว่า "เราก็จักไปบ้าง" ครั้นไปถึง ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว
นั่งอยู่ข้างท้ายประชุมชน.
ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะทรงแสดงธรรม ทอด
พระเนตรอุปนิสัยแห่งคุณ มีสรณะ ศีล และบรรพชาเป็นต้น (ก่อน)
แล้วจึงทรงแสดงธรรมตามอำนาจอัธยาศัย.

อนุปุพพีกถา 5


เหตุนั้น วันนั้น พระศาสดา ทอดพระเนตรอุปนิสัยของกุฎุมพี-
มหาปาละแล้ว เมื่อทรงแสดงธรรม ได้ตรัสอนุปุพพีกถา คือทรงประกาศ
ทานกถา (พรรณนาทาน) สีลกถา (พรรณนาศีล) สัคคกถา
(พรรณนาสวรรค์ ) โทษ ความเลวทรามและความเศร้าหมองแห่งกาม
ทั้งหลาย และอานิสงส์ในเนกขัมมะ (คือความออกไปจากกามทั้งหลาย).

1. วิหาร สำนักสงฆ์ วัด.