เมนู

บทว่า สทฺธึ ความว่า ผู้ประกอบด้วยโลกิยสัทธา มีอันเชื่อกรรม
และผลเป็นลักษณะอย่างหนึ่ง และประกอบด้วยโลกุตรสัทธา กล่าวคือ
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในวัตถุ1 3 อย่างหนึ่ง.
บทว่า อารทฺธวีริยํ ได้แก่ ผู้ประคองความเพียร คือผู้มีความ
เพียรเต็มที่.
บทว่า ตํ เว ได้แก่ บุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น.
อธิบายว่า ลมมีกำลังอ่อน พัดเบา ๆ ย่อมไม่อาจให้ศิลาแต่ง
ทึบหวั่นไหวได้ ฉันใด; กิเลสมารที่มีกำลังทราม แม้เกิดขึ้นในภายใน
ย่อมรังควาน (บุคคลนั้น) ไม่ได้ คือไม่อาจให้หวั่นไหว สะเทือน
คลอนแคลนได้ ฉันนั้น.

พระมหากาลเหาะหนีภรรยา


พวกหญิงแม้เหล่านั้นแล ที่เป็นภรรยาเก่าของพระมหากาลนั้น
ล้อมพระเถระเเล้ว กล่าวคำเป็นต้นว่า "ท่านลาใครบวช บัดนี้ท่านจัก
เป็นคฤหัสถ์หรือจักไม่เป็นเล่า ?" ดังนี้แล้ว ได้เป็นผู้ใคร่เพื่อจะเปลื้อง
ผู้กาสายะทั้งหลาย (ของพระเถระ) ออก.
พระเถระกำหนดลาการของหญิงเหล่านั้นได้แล้ว ลุกจากอาสนะ
ที่นั่งแล้วเหาะไปด้วยฤทธิ์ ทำลายช่อฟ้าเรือนยอด ไปทางอากาศ. เมื่อ
พระศาสดา พอตรัสพระคาถาจบลง, ชมเชยพระสรีระของพระศาสดา
ซึ่งมีวรรณะดังทองคำ ลงมาถวายบังคมพระบาทยุคลของพระตถาคตแล้ว
1. วัตถุ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.

ในกาลจบคาถา ภิกษุผู้ประชุมกัน ดำรงอยู่ในอริยผลทั้งหลายมี
โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องจุลกาลและมหากาล จบ.

7. เรื่องพระเทวทัต [7]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภการได้ผ้า
กาสาวะอันบุคคลนำมาแต่แคว้นคันธาระของพระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อนิกฺกสาโว" เป็นต้น.

พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ชาวกรุงราชคฤห์


ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสองพาบริวารของ
ตน องค์ละ 500 รูป ไปทูลลาพระศาสดาแล้ว ได้ไปจากพระเชตวัน
สู่กรุงราชคฤห์.
ชาวกรุงราชคฤห์ รวมเป็นพวกเดียวกัน 2 คนบ้าง 3 คนบ้าง
หลายคนบ้าง ได้ถวายอาคันตุกทาน.1 อยู่มาวันหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร
เมื่อจะทำอนุโมทนา แสดงธรรมอย่างนี้ว่า "อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย
ทายกคนหนึ่งถวายทานด้วยตนเอง (แต่) ไม่ชักชวนคนอื่น, ทายก
นั้น ย่อมได้โภคสมบัติในที่แห่งตนเกิดแล้ว ๆ ( แต่ ) ไม่ได้บริวาร-
สมบัติ, คนหนึ่งชักชวนคนอื่น ส่วนตนเองไม่ถวาย, ผู้นั้น ย่อมได้
บริวารสมบัติในที่แห่งตนเกิดแล้ว ๆ (แต่ ) ไม่ได้โภคสมบัติ, คน
หนึ่งแม้ตนเองก็ไม่ได้ถวาย แม้คนอื่นก็ไม่ชักชวน, ผู้นั้น ย่อมไม่ได้
แม้วัตถุมาตรว่าข้าวปลายเกรียนพออิ่มท้อง ย่อมเป็นคนอนาถา หา
ปัจจัยมิได้ ในที่แห่งคนเกิดแล้ว ๆ คนหนึ่งทั้งตนเองก็ถวาย ทั้งชัก
1. ถวายแก่ภิกษุผู้มาใหม่ คือผู้เป็นแขก.