เมนู

บทว่า สทฺธึ ความว่า ผู้ประกอบด้วยโลกิยสัทธา มีอันเชื่อกรรม
และผลเป็นลักษณะอย่างหนึ่ง และประกอบด้วยโลกุตรสัทธา กล่าวคือ
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในวัตถุ1 3 อย่างหนึ่ง.
บทว่า อารทฺธวีริยํ ได้แก่ ผู้ประคองความเพียร คือผู้มีความ
เพียรเต็มที่.
บทว่า ตํ เว ได้แก่ บุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น.
อธิบายว่า ลมมีกำลังอ่อน พัดเบา ๆ ย่อมไม่อาจให้ศิลาแต่ง
ทึบหวั่นไหวได้ ฉันใด; กิเลสมารที่มีกำลังทราม แม้เกิดขึ้นในภายใน
ย่อมรังควาน (บุคคลนั้น) ไม่ได้ คือไม่อาจให้หวั่นไหว สะเทือน
คลอนแคลนได้ ฉันนั้น.

พระมหากาลเหาะหนีภรรยา


พวกหญิงแม้เหล่านั้นแล ที่เป็นภรรยาเก่าของพระมหากาลนั้น
ล้อมพระเถระเเล้ว กล่าวคำเป็นต้นว่า "ท่านลาใครบวช บัดนี้ท่านจัก
เป็นคฤหัสถ์หรือจักไม่เป็นเล่า ?" ดังนี้แล้ว ได้เป็นผู้ใคร่เพื่อจะเปลื้อง
ผู้กาสายะทั้งหลาย (ของพระเถระ) ออก.
พระเถระกำหนดลาการของหญิงเหล่านั้นได้แล้ว ลุกจากอาสนะ
ที่นั่งแล้วเหาะไปด้วยฤทธิ์ ทำลายช่อฟ้าเรือนยอด ไปทางอากาศ. เมื่อ
พระศาสดา พอตรัสพระคาถาจบลง, ชมเชยพระสรีระของพระศาสดา
ซึ่งมีวรรณะดังทองคำ ลงมาถวายบังคมพระบาทยุคลของพระตถาคตแล้ว
1. วัตถุ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.