เมนู

โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุํ สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
ตํ เว นปฺปสหติ มาโร วาโต เสลํว ปพฺพตํ.
"ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่างาม ไม่สำรวมในอินทรีย์
ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เกียจคร้าน
มีความเพียรเลวทรามอยู่ ผู้นั้นแล มารย่อมรังควาน
ได้, เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกำลังไม่แข็งแรง ลม
รังควานได้ฉะนั้น. (ส่วน) ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่า
ไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณใน
โภชนะ มีศรัทธาและปรารภความเพียรอยู่ ผู้นั้นแล
มารย่อมรังควานไม่ได้, เปรียบเหมือนภูเขาหิน ลม
รังควานไม่ได้ ฉะนั้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภานุปสฺสึ ได้แก่ ผู้ตามเห็นอารมณ์
ว่างาม. อธิบายว่า ผู้ปล่อยใจไปในอารมณ์ที่น่าปรารถนาอยู่. ก็บุคคล
ใด เมื่อถือโดยนิมิต1 โดย2อนุพยัญชนะ ย่อมถือว่า "เล็บทั้งหลายงาม."
ถือว่า "นิ้วทั้งหลายงาม." ถือว่า "มือทั้งสอง เท้าทั้งสอง แข้งทั้งสอง
ขาทั้งสอง สะเอว ท้อง ถันทั้งสอง คอ ริมฝีปาก ฟันทั้งหลาย ปาก จมูก
ตาทั้งสอง หูทั้งสอง คิ้วทั้งสอง หน้าผาก ผมทั้งหลาย งาม." ถือว่า "ผม
ขน เล็บ ฟัน หนัง งาม." (หรือ) ถือว่า "สีงาม ทรวดทรง

1. ได้แก่รวบถือทั้งหมด. 2. ได้แก่แยกถือเป็นส่วน ๆ เช่น ผมงาม เล็บงาม เป็นต้น.