เมนู

นิทานโสธนะ


การชำระคำเริ่มต้น


วาจานี้ว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

เป็นข้อต้นของคำเริ่มต้นนั้น หัวข้อพรรณนาความของคำเริ่มต้นนั้น มีดังนี้
พระสรณตรัย ใครกล่าว กล่าวที่ไหน กล่าวเมื่อ
ใด กล่าวเพราะเหตุไร อนึ่ง ที่มิได้ตรัสไว้มาแค่แรก
เพราะเหตุไร ในที่นี้จึงว่า ตรัสไว้เป็นข้อแรก จำต้อง
ชำระคำเริ่มต้น ต่อจากนั้นไปในคำเริ่มต้น ก็จะชี้
แจงเรื่องพระพุทธะ เรื่องการถึงสรณะ และเรื่องบุคคล
ผู้ถึงสรณะ จะแสดงการขาดการไม่ขาดแห่งสรณคมน์
ทั้งผล ทั้งสรณะที่ควรถึง แม้ในสองสรณะ มีธมฺมํ
สรณํ เป็นต้น ก็รู้กันแล้วว่ามีนัยอย่างนี้ จะอธิบาย
เหตุในการกำหนดโดยลำดับ และจะประกาศสรณตรัย
นั้น ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย.

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาแรก ก่อนอื่น มีปัญหา 5 ข้อ คือ
1. พระสรณตรัยนี้ใครกล่าว
2. กล่าวที่ไหน
3. กล่าวเมื่อไร
4. กล่าวเพราะเหตุไร

5. อนึ่งที่พระตถาคตมิได้ตรัสไว้มาแต่แรก เพราะเหตุไร ใน
ที่นี้จึงว่าตรัสไว้เป็นข้อแรก
จะวิสัชนาปัญหาทั้ง 5 ข้อนั้น.
ปัญหาว่า ใครกล่าว วิสัชนาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไม่ใช่
พระสาวก ไม่ใช่เหล่าฤษี ไม่ใช่เทวดากล่าว.
ปัญหาว่า กล่าวที่ไหน วิสัชนาว่า ที่อิสิปตนมิคทายวัน กรุงพา-
ราณสี.
ปัญหาว่า กล่าวเมื่อไร วิสัชนาว่า เมื่อท่านพระยสะบรรลุพระอรหัต
พร้อมกับสหายทั้งหลาย เมื่อพระอรหันต์ 61 องค์ กระทำการแสดงธรรมใน
โลก เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก.
ปัญหาว่า กล่าวเพราะเหตุไร วิสัชนาว่า เพื่อบรรพชาและเพื่อ
อุปสมบท อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลอุปสัมปทาเปกขะอัน
ภิกษุพึงให้บรรพชา อุปสมบท อย่างนี้ ข้อแรกให้
ปลงผมและหนวด ไห้ครองผ้ากาสายะ ให้ทำผ้าห่ม
เฉวียงว่า ให้ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่ง
ให้ประคองอัญชลี [ประนมมือ] พึงสอนให้ว่าตาม
อย่างนี้ว่า พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ,
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.

ปัญหาว่า เพราะเหตุไรในที่นี้จึงตรัสเป็นข้อแรก วิสัชนาว่า
เพราะเหตุที่เทวดาและมนุษย์พากัน เข้าสู่พระศาสนาด้วยเป็นอุบาสกบ้าง เป็น
บรรพชิตบ้าง ด้วยทางนี้ ฉะนั้น จึงควรรู้ว่า นวังคสัตถุศาสน์นี้ท่านบุรพาจารย์
ทั้งหลายรวบรวมไว้ด้วยปิฎกทั้งสามยกขึ้นสู่ทางการบอกการสอน จึงว่าตรัส
เป็นข้อแรกในขุททกปาฐะนี้ เพราะเป็นทางเข้าสู่พระศาสนา.

1. พรรณนาพระสรณตรัย


การชี้แจงเรื่องพระพุทธะ


บัดนี้ คำใดข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า จะชี้แจงเรื่องพระพุทธะ เรื่องการถึง
สรณะ และเรื่องบุคคลผู้ถึงสรณะ ในคำนั้นสัตว์พิเศษ ชื่อว่า พุทธะ เพราะ
บัญญัติอาศัยขันธสันดานที่ถูกอบรมด้วยการบรรลุอนุตตรวิโมกข์ ซึ่งเป็นนิมิต
แห่งพระญาณอันอะไร ๆ ชัดขวางมิได้ หรือเพราะบัญญัติอาศัยการตรัสรุ้เองยิ่ง
ซึ่งสัจจะ อันเป็นปทัฏฐานแห่งพระสัพพัญญุตญาณ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด เป็นพระสยัมภูเป็นเอง
ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้ยิ่งพร้อมด้วยพระองค์เอง ซึ่งสัจจะทั้งหลาย ใน
ธรรมทั้งหลายที่มิได้ทรงฟังมาก่อน ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณใน
ธรรมเหล่านั้น และความเป็นผู้เชี่ยวชาญในพละทั้งหลาย พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่า
พุทธะ.
การชี้แจงเรื่องพระพุทธะโดยอรรถะเท่านี้ก่อน.
แต่เมื่อว่าโดยพยัญชนะ พึงทราบโดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ชื่อว่า
พุทธะ เพราะทรงเป็นผู้ตรัสรู้ ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงเป็นผู้ปลุกให้ตื่น
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ในบทว่า พุทฺโธ ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่าอะไร ชื่อว่า พุทธะ
เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย. ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ทรง
ปลุกหมู่สัตว์ให้ตื่น ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงรู้ทุกอย่าง ชื่อว่า พุทธะ
เพราะทรงเห็นทุกอย่าง. ชื่อว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้เองไม่ใช่ผู้อื่นทำให้รู้