เมนู

ทวัตติงสาการ ในขุททกปาฐะ


[3] ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
เยื่อในกระตก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา
เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เยื่อมันสมองในสมอง.
จบทวัตติงสาการ

3. พรรณานาทวัตติงสาการ


พรรณนาการสัมพันธ์แห่งบท


กรรมฐาน คือกายคตาสตินี้ใด ที่พวกเดียรถีย์ทั้งปวง ไม่เคยให้เป็น
ไปแล้ว นอกพุทธกาล เพื่อความบริสุทธิ์แห่งอาสยญาณ สละเพื่อจิตตภาวนา
ของกุลบุตรผู้มีประโยคอันบริสุทธิ์ด้วยสิกขาบท 10 อย่างนี้ ผู้ดำรงอยู่ในศีล
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้ โดยอาการเป็นอันมากในพระสูตรนั้น ๆ
อย่างนี้ว่า1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว
เป็นไปเพื่อสังเวคะ [ ความสลดใจ ] ใหญ่ เป็นไปเพื่ออรรถะ [ ประโยชน์ ]
ใหญ่ เป็นไปเพื่อโยคักเขมะ [ ความเกษมจากโยคะ ] ใหญ่ เป็นไปเพื่อ
สติสัมปชัญญะ [ ความระลึกรู้ตัว ] ใหญ่ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ


1. อัง.เอก. 21/ข้อ 234 - 238.

[ ความรู้เห็น ] เป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร [อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน]
เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งวิชชาวิมุตติและผลธรรมอย่างหนึ่ง คือกายคตาสติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ภิกษุเหล่านั้น
ชื่อว่าไม่บริโภคอมตะ ภิกษุเหล่าใดบริโภคกายคตาสติ ภิกษุเหล่านั้น
ชื่อว่าบริโภคอมตะ ภิกษุเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ชื่อว่า ไม่ได้บริโภค
อมตะ ภิกษุที่บริโภคกายคตาสติ ชื่อว่าได้บริโภคอมตะ ภิกษุที่เสื่อม
กายคตาสติ ชื่อว่าเสื่อมอมตะ ภิกษุที่ไม่เสื่อมกายคตาสติ ชื่อว่าไม่
เสื่อมอมตะ ภิกษุที่พลาดกายคตาสติ ชื่อว่าพลาดอมตะ ภิกษุที่
สำเร็จการคตาสติ ชื่อว่าสำเร็จอมตะ.

ดังนี้แล้วทรงแสดงไว้เป็นปัพพะ 14 ปัพพะ คือนาปานปัพพะ
อิริยาปถปัพพะ จตุสัมปชัญญปัพพะ ปฏิกูลมนสิการปัพพะ ธาตุมนาสิการปัพพะ
สีวถิกาปัพพะ 9 ปัพพะ โดยนัยว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันภิกษุเจริญอย่างไร ทำ
ให้มากอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปป่าก็ดี
ดังนี้เป็นต้น.
บัดนี้ นิทเทสแห่งการเจริญกายคตาสติกรรมฐานนั้น มาถึงตามลำดับ
แล้ว ในนิทเทสนั้น ข้าพเจ้ากล่าวเป็นวิปัสสนาไว้ 3 ปัพพะ นี้คือ อิริยาปถ-
ปัพพะ จตุสัมปชัญญปัพพะ ธาตุมนสิการปัพพะ กล่าวสีวถิกาปัพพะทั้ง 9 เป็น
อาทีนวานุปัสสนาไว้ในวิปัสสนาญาณ ส่วนสมาธิภาวนาในอุทธุมาตกอสุภเป็นต้น
ในนิทเทสนั้นที่พึงปรารถนา ข้าพเจ้าก็ประกาศไว้การแล้วในอสุภภาวนา
นิทเทส คัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้งนั้น. สองปัพพะนี้คือนานาปานปัพพะและปฏิกูล
มนสิการปัพพะก็กล่าวเป็นสมาธิไว้แล้วในนิทเทสนั้น ใน 2 ปัพพะนั้น อานา-
ปานปัพพะ เป็นกรรมฐานแผนกหนึ่งโดยแท้ โดยเป็นอานาปานัสสติ ส่วน

กรรมฐานคือทวัตติงสาการนั้นใด เป็นปริยายแห่งภาวนาส่วนหนึ่งของกายคตา-
สติ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสงเคราะห์มันสมองไว้ด้วยเยื่อในกระดดูก
ในบาลีประเทศนั้น ๆ อย่างนี้ว่า1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้นี่แล
ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มไปด้วยของ
ไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า ในการนี้มี ผม ขน ฯลฯ มูตร
ดังนี้
ข้าพเจ้าเริ่มไว้แล้ว กรรมฐานคือทวัตติงสาการนั้น จะพรรณนาความดังต่อไปนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่. บทว่า อิมสฺมึ
ความว่า ที่กล่าวว่าตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มโดยรอบ
เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ. บทว่า กาเย ได้แก่ ในสรีระ.
จริงอยู่ สรีระ เรียกกันว่า กาย เพราะสะสมของไม่สะอาด หรือเพราะเป็นที่
เจริญเติบโตของผมเป็นต้นที่น่าเกลียด และของโรคตั้งร้อยมี โรคตา เป็นต้น
บทว่า เกสา ฯ เป ฯ มุตฺตํ คืออาการ 32 มีผมเป็นต้นเหล่านั้น ใน
ทวัตติงสาการนี้ พึงทราบความสัมพันธ์เชื่อมความอย่างนี้ว่า ผมอยู่ในกายนี้
ขนมีอยู่ในกายนี้ เป็นต้น. เป็นอันตรัสอะไรไว้ ด้วยทวัตติงสาการกรรมฐาน
นั้น เป็นอันตรัสไว้ว่าใครๆ เมื่อพิจารณานั้น แม้โดยอาการทุกอย่างในกเฬวระ
เรือนร่างขนาดวาหนึ่งนี้ คือประมาณเท่านี้คือ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป
เบื้องล่างตั้งแต่ปลายผมลงมา หุ้มด้วยหนังโดยรอบ ย่อมจะไม่เห็นอะไร ไม่ว่า
แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ กฤษณา จันทน์ หญ้าฝรั่น การบูร หรือผงอบ
เป็นต้นแม้ขนาดเล็กว่าสะอาด โดยที่แท้ย่อมจะเห็นกายต่างโดยผมขนเป็นต้น
ที่มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง ไม่มีสิริที่น่าดูเลยมีประการต่างๆ ว่าไม่สะอาด
อย่างเดียว.

1. ม.อุปริ. 14/ข้อ 297

พรรณนา โดยความสัมพันธ์แห่งบทในทวัตติงสาการกรรมฐานนี้เท่านี้
ก่อน.

อสุภภาวนา


พึงทราบการพรรณนาทวัตติงสาการกรรมฐานนั้น เป็นอสุภภาวนา
ดังต่อไปนี้.
ก่อนอื่น อันดับแรก กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน เป็นผู้ตั้งอยู่ใน
ศีล ต่างโดยปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบทเป็นต้นอย่างนี้แล้ว มีประโยคอัน
บริสุทธิ์ ประสงค์จะประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งอนุโยคะคือ การบำเพ็ญกรรมฐานส่วน
ทวัตติงสาการ เพื่อบรรลุความบริสุทธิ์แห่งอาสยญาณ กุลบุตรนั้น ย่อมมี
กังวล 10 ประการ คือ กังวลด้วยที่อยู่ ด้วยตระกูล ด้วยลาภ ด้วยคณะ
ด้วยการงาน ด้วยการเดินทาง ด้วยญาติ ด้วยการเรียนคัมภีร์ ด้วยโรคและ
ด้วยอิทธิฤทธิ์ หรือด้วยการกังวลด้วยเกียรติ เมื่อเป็นดังนั้น กุลบุตรผู้นี้ก็ต้อง
ตัดกังวล 10 เหล่านั้นเสีย ด้วยวิธีอย่างนี้ คือ ด้วยการละความเกี่ยวข้องใน
อาวาส ตระกูล ลาภ คณะ ญาติและเกียรติเสีย ด้วยการไม่ขวนขวายใน
การงาน, การเดินทางและการเรียนคัมภีร์เสีย ด้วยการเยียวยาโรค เมื่อเป็น
ดังนั้น กุลบุตรผู้นี้ตัดกังวลได้แล้ว ไม่ตัดความยินดียิ่งในเนกขัมมะ กำหนด
ความปฏิบัติขัดเกลาอันถึงบั้นปลาย ไม่ละเลยอาจาระทางวินัยแม้เล็กน้อย ก็พึง
เข้าไปหาพระอาจารย์ผู้ให้กรรมฐาน ซึ่งเป็นผู้ประกอบด้วยอาคม [ การปริยัติ ]
และอธิคม [ ปฏิบัติปฏิเวธ ] หรือประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งจาก
อาคมและอธิคมนั้น ด้วยวิธีที่เหมาะแก่พระวินัย และพึงแจ้งความประสงค์
ของตนแก่พระอาจารย์นั้น ซึ่งตนทำให้ท่านมีจิตยินดีด้วยข้อวัตรสัมปทา พระ-