เมนู

บริบูรณ์ด้วยดี ข้อที่กล่าวมาดังนี้ เป็นประโยชน์แห่งการตั้งเมตตสูตรนั้นไว้
ในที่นี้.

การชำระนิทาน


บัดนี้ ข้าพเจ้ายกมาติกาหัวข้อนี้ใดไว้ว่า
พึงทราบการชี้แจงบทเหล่านี้ว่า เมตตสูตรนี้ผู้ใด
กล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ใด และกล่าวเพราะเหตุ
ใด ข้าพเจ้าชำระนิทานแล้วจึงจักทำการพรรณนาความ
แห่งเมตตสูตรนั้น
ดังนี้.
ในมาติกาหัวอันนี้ พึงทราบการชี้แจงบทเหล่านั้นและการชำระนิทาน
โดยสังเขปอย่างนี้ก่อนว่า เมตตสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวตรัส
พระสาวกเป็นต้น มิได้กล่าว. ก็แต่ว่า เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายถูกเทวดาทั้งหลาย
รบกวนข้างภูเขาหิมวันต์ จึงพากันมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสเมตตสูตรนั้น เพื่อป้องกันและเพื่อเป็นกรรมฐานสำหรับ
ภิกษุเหล่านั้น.
ส่วนโดยพิศดาร พึงทราบอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง ใกล้ดิถีเข้าจำพรรษา พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุง
สาวัตถี. สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจากชาวเมืองต่าง ๆ จำนวนมาก รับกรรมฐาน
ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประสงค์จะเข้าจำพรรษาใน ที่นั้น ๆ จึงเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยินว่าสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกรรมฐาน
ทั้งหลายที่อนุกูลแก่จริตจำนวน 84,000 ประเภท โดยนัยนี้คือ อสุภกรรม-
ฐาน 11 อย่าง คือ อสุภที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ สำหรับคนราคจริต,
กรรมฐานมีเมตตากรรมฐานเป็นต้น 4 อย่าง สำหรับคนโทสจริต, กรรมฐาน

มีมรณัสสติกรรมฐานเป็นต้นสำหรับคนโมหจริต, กรรมฐานมีอานาปานัสสติ
และปฐวีกสิณเป็นต้นสำหรับคนวิตกจริต, กรรมฐานมีพุทธานุสสติกรรมฐาน
เป็นต้นสำหรับคนสัทธาจริต, กรรมฐานมีจตุธาตุววัตถานกรรมฐานเป็นต้น
สำหรับคนพุทธิจริต.
ลำดับนั้น ภิกษุประมาณ 500 รูป เรียนกรรมฐานในสำนักพระผู้มี-
พระภาคเจ้า กำลังแสวงหาเสนาสนะที่เป็นสัปปายะและโคจรคาม เดินไปตาม
ลำดับ ได้พบภูเขา พ้นศิลาคล้ายมณีสีคราม ประดับด้วยราวป่าสีเขียวมีร่มเงา
ทีบเย็น มีภูมิภาคเกลื่อนด้วยทรายเสมือนแผ่นเงินข่ายมุกดา ล้อมด้วยชลาลัย
ที่สะอาดเย็นดี ติดเป็นพืดเดียวกับป่าหิมวันต์ ในปัจจันตประเทศ. ภิกษุ
เหล่านั้น พักอยู่คืนหนึ่ง ณ ที่นั้น เมื่อราตรีรุ่งสว่างทำสรีรกิจแล้ว ก็พากันเข้า
ไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้ ๆ นั้นเอง หมู่บ้านประกอบด้วยตระกูล
1,000 ตระกูล ซึ่งอาศัยอยู่กันหนาแน่นในหมู่บ้านนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีศรัทธา
ปสาทะ พวกเขาเห็นภิกษุทั้งหลายเท่านั้น ก็เกิดปีติโสมนัส เพราะการเห็น
บรรพชิตในปัจจันตประเทศหาได้ยาก นิมนต์ภิกษุเหล่านั้นให้ฉันแล้ว ก็วอน
ขอว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านอยู่ในที่นี้ตลอดไตรมาสเถิด แล้วช่วยกันสร้างกุฏิ
สำหรับทำความเพียร 500 หลัง จัดแจงเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่าง มีเตียง ตั่ง
หมอน้ำฉัน น้ำใช้เป็นต้น ณ ที่นั้น.
วันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายเข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านตำบลอื่น. ในหมู่
บ้านแม้นั้น มนุษย์ทั้งหลาย ก็บำรุงอย่างนั้นเหมือนกัน อ้อนวอนให้อยู่จำ
พรรษา. ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อไม่มีอันตราย จึงพากัน
เข้าไปยังราวป่านั้น เป็นผู้ปรารภความเพียรตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ตีระฆัง
บอกยาม เป็นผู้มากด้วยโยนิโสมนสิการอยู่จึงเข้าไปนั่งที่โคนไม้. รุกขเทวดาทั้ง

หลาย ถูกเดชของเหล่าภิกษุผู้ศีลกำจัดเดชเสียแล้ว ก็ลงจากวิมานของตน ๆ
พาพวกลูก ๆ เที่ยวระหกระเหินไป เปรียบเหมือนเมื่อพระราชา หรือราชมหา-
อมาตย์ ไปยังที่อยู่ของชาวบ้าน ยึดโอกาสที่ว่างในเรือนทั้งหลาย ของพวกชาว
บ้าน พวกชาวบ้านก็ต้องออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น ก็ได้แต่มองดูอยู่ไกล ๆ
ด้วยหวังว่า เมื่อไรหนอ ท่านจึงจักไปกัน ฉันใด เทวดาทั้งหลายต้องละทิ้ง
วิมานของตน ๆ กระเจิดกระเจิงไป ได้แต่มองดูอยู่ไกล ๆ ด้วยหวังว่า เมื่อไร
หนอ ท่านจึงจักไปกัน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. แต่นั้น เทวดาทั้งหลายก็ร่วมคิด
กันอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เข้าพรรษาแรกแล้ว จักอยู่กันตลอดไตรมาสแน่
แต่พวกเราไม่อาจจะพาพวกเด็กอยู่อย่างระหกระเหินได้นาน ๆ เอาเถิด
พวกเราจักแสดงอารมณ์ที่น่ากลัวแก่ภิกษุทั้งหลาย. เทวดาเหล่านั้น จึงเนรมิต
รูปยักษ์ที่น่ากลัว ยืนอยู่ข้างหน้า ๆ เวลาภิกษุทั้งหลายทำสมณธรรมตอนกลาง
คืน และทำเสียงที่น่าหวาดกลัว เพราะเห็นรูปเหล่านั้น และได้ยินเสียงนั้น
หัวใจของภิกษุทั้งหลาย ก็กวัดแกว่ง ภิกษุเหล่านั้น มีผิวเผือดและเกิดเป็น
โรคผอมเหลือง ด้วยเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงไม่อาจทำจิตให้มีอารมณ์เดียวได้
เมื่อจิตไม่มีอารมณ์เดียวสลดใจบ่อย ๆ เพราะความกลัว สติของภิกษุเหล่านั้น
ก็หลงเลือนไป แต่นั้น อารมณ์ที่เหม็น ๆ ก็ประจวบแก่ภิกษุเหล่านั้น ซึ่งมี
สติหลงลืมแล้ว. มันสมองของภิกษุเหล่านั้น ก็เหมือนถูกกลิ่นเหม็นนั้นบีบคั้น
โรคปวดศีรษะก็เกิดอย่างหนัก. ภิกษุเหล่านั้น ก็ไม่ยอมบอกเรื่องนั้นแก่กันและ
กัน.
ต่อมาวันหนึ่ง เมื่อภิกษุทุกรูปประชุมกันในเวลาบำรุงพระสังฆเถระ.
พระสังฆเถระก็ถามว่า ผู้มีอายุ เมื่อพวกท่านเข้าไปในราวป่านี้ ผิวพรรณดูบริสุทธิ์
ผุดผ่องอย่างเหลือเกินอยู่ 2 - 3 วัน ทั้งอินทรีย์ก็ผ่องใส แต่บัดนี้ ในที่นี้พวก

ท่านซูบผอม ผิวเผือด เป็นโรคผอมเหลือง ในที่นี้พวกเธอไม่มีสัปปายะหรือ.
ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า ท่านขอรับ ตอนกลางคืนกระผมเห็นและได้
ยินอารมณ์ที่น่ากลัวอย่างนี้ ๆ สูดแต่กลิ่นเช่นนี้ ด้วยเหตุนั้น จิตของกระผมจึง
ไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ. ภิกษุเหล่านั้นทุกรูปจึงพากันบอกเรื่องนั้น โดยอุบายนี้
เหมือนกัน. พระสังฆเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติการ
เข้าจำพรรษาไว้ 2 อย่าง ก็เสนาสนะนี้ไม่เป็นสัปปายะแก่พวกเรา มาเถิดผู้มีอายุ
พวกเราจะพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามถึงเสนาสนะที่เป็นสัปปายะอื่น ๆ
ภิกษุเหล่านั้น รับคำพระเถระว่าดีละขอรับ ทุกรูปก็เก็บงำเสนาสนะ ถือบาตร
จีวรไม่บอกกล่าวใคร ๆ ในตระกูลทั้งหลาย พากันจาริกไปทางกรุงสาวัตถี ก็
ถึงกรุงสาวัตถีตามลำดับแล้ว ก็พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงเที่ยวจาริกไปภายในพรรษา
เหตุไร พวกเธอจึงยังจาริกกันอยู่เล่า. ภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลเรื่องทั้งหมด
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนึก ก็ไม่ทรงเห็นเสนาสนะที่
เป็นสัปปายะอื่นสำหรับภิกษุเหล่านั้น ทั่วชมพูทวีป โดยที่สุด แม้แต่เพียงตั่งมี
4 เท้า ดังนั้น จึงตรัสบอกภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะที่
เป็นสัปปายะอื่นสำหรับพวกเธอไม่มีดอก พวกเธออยู่ในที่นั้นนั่นแหละจักบรรลุ
ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ไปเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าไปอาศัยเสนาสนะนั้น
นั่นแหละอยู่กันเถิด แต่ถ้าว่าพวกเธอปรารถนาความไม่มีภัยจากเทวดาทั้งหลาย
ก็จงพากัน เรียนพระปริตรนี้ . ด้วยว่าพระปริตรนี้จักเป็นเครื่องป้องกัน และจัก
เป็นกรรมฐานสำหรับพวกเธอ ดังนี้ แล้วจึงตรัสพระสูตรนี้.

แต่อาจารย์พวกอื่นอีกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ว่า
ไปเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเข้าไปอาศัยเสนาสนะนั้นนั่นแหละ อยู่กันเถิด
แล้วจึงตรัสว่า อนึ่งเล่า ภิกษุผู้อยู่ป่าควรรู้จักบริหาร. บริหารอย่างไร. บริ-
หารอย่างนี้คือ แผ่เมตตา 2 เวลา คือทำเวลาเย็นและเช้า ทำพระปริตร 2 เวลา
เจริญอสุภ 2 เวลา เจริญมรณัสสติ 2 เวลา และนึกถึงมหาสังเวควัตถุ 8 ทั้ง
2 เวลา ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ. อบายทุกข์ 4 ชื่อมหาสังเวควัตถุ 8.
อีกนัยหนึ่ง ชาติชราพยาธิมรณะ 4 อบายทุกข์เป็นที่ 5 ทุกข์มีวัฏฏะ
เป็นมลในอดีต 1 ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอนาคต 1 ทุกข์มีการแสวงอาหารเป็น
มูล ในปัจจุบัน 1. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงบอกการบริหารอย่างนี้แล้ว
จึ้งได้ตรัสพระสูตรนี้เพื่อเป็นเมตตา เพื่อเป็นพระปริตรและเพื่อฌานอันเป็น
บาทแห่งวิปัสสนาแก่ภิกษุเหล่านั้น. พึงทราบการชี้แจงบทเหล่านั้นว่า เยน วุตฺตํ
ยทา ยตฺถ ยสฺมา เจ
และการชำระนิทาน ด้วยประการฉะนี้.
มาติกาหัวข้อนั้นใด ข้าพเจ้าตั้งไว้ว่า เยน วุตฺตํ ยทา ยตฺถ ยสฺมา
เจเตส ทีปนา นิทานํ โสธยิตฺวา.
มาติกาหัวข้อนั้น เป็นอันข้าพเจ้ากล่าว
พิศดารแล้ว โดยอาการทั้งปวง ด้วยกถามีประมาณเพียงนี้.

พรรณนาคาถาที่ 1


บัดนี้ จะเริ่มพรรณนาความแห่งพระสูตรนั้น ที่ทำการชำระนิทานแล้ว
อย่างนี้ เพราะข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า จึงจักทำการพรรณนาความแห่งพระสูตรนั้น
ดังนี้. ในคาถานั้น จะเริ่มพรรณนาบทแห่งคาถานี้ว่า กรณียมตฺถกุสเลน
ก่อน ดังนี้. บทว่า กรณียํ แปลว่า พึงทำ อธิบายว่า ควรแก่การทำ.
ปฏิปทา ชื่อว่าอรรถ หรือประโยชน์เกื้อกูลแก่คนอย่างใดอย่างหนึ่งประโยชน์
เกื้อกูลนั้นทั้งหมด ท่านเรียกว่าอรรถะ เพราะไม่มีกิเลสดังข้าศึก ชื่อว่า