เมนู

อรรถกถานิธิกัณฑสูตร


เหตุตั้งพระสูตร


นิธิกัณฑสูตร

นี้ ข้าพเจ้ายกขึ้นตั้ง โดยนัยว่า นิธึ นิเธติ ปุริโส
เป็นต้น ต่อลำดับจากติโรกุฑฑสูตร บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวเหตุตั้งและจัก
แสดงเหตุเกิดเรื่องแห่งนิธิกัณฑสูตรไว้ในที่นี้แล้ว จึงจักทำการพรรณนาความ
แห่งนิธิกัณฑสูตรนั้น.
บรรดาเหตุทั้งสองนั้น ในที่นี้พึงทราบเหตุตั้งนิธิกัณฑสูตรนั้นก่อน.
แท้จริง นิธิกัณฑสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้มิได้ตรัสไว้ตามลำดับนี้
เพราะเหตุที่เป็นสูตรคู่ของติโรกุฑฑสูตร โดยเป็นเรื่องอนุโมทนา ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงยกขึ้นตั้งไว้ในที่นี้. หรือว่า พึงทราบว่า ข้าพเจ้าครั้นแสดงวิบัติ
ของหมู่ชนที่ปราศจากบุญด้วยติโรกุฑฑสูตรแล้ว จึงยกนิธิกัณฑสูตรนี้ตั้งไว้ใน
ที่นี้ ก็เพื่อแสดงสมบัติของหมู่ชนที่ทำบุญไว้ด้วยสูตรนี้. เหตุดังนี้กัณฑสูตร
นั้นไว้ในที่นี้มีเท่านี้.

เหตุเกิดพระสูตร


นิธิกัณฑสูตรนั้น มีเหตุเกิดดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี กุฎุมพีคนหนึ่ง มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี
โภคะมาก แต่เขาเป็นคนมีศรัทธาปสาทะ มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่
อยู่ครองเรือน. วันหนึ่ง เขาถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข สมัยนั้น พระราชามีพระราชประสงค์ทรัพย์ จึงทรงส่งราชบุรุษคน
หนึ่งไปที่สำนักเขา ด้วยพระราชดำรัสสั่งว่า พนาย เจ้าจงไปนำกุฎุมพีชื่อนี้

มา. ราชบุรุษผู้นั้น ไปพูดกะกุฎุมพีนั้นว่า ท่านคฤหบดี พระราชาขอเชิญ
ท่านกุฎุมพี มีใจประกอบด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น กำลังอังคาสเลี้ยงดูพระภิกษุ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จึงกล่าวว่า ไปก่อนเถิดท่านราชบุรุษ ข้าพเจ้า
จะมาทีหลัง ข้าพเจ้าจะฝังขุมทรัพย์ในขณะนี้เสียก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสวยเสร็จทรงชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว เพื่อทรงแสดงบุญสัมปทาว่า
นิธิโดยปรมัตถ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า นิธึ นิเธติ ปุริโส เป็นต้น เพื่อ
อนุโมทนาแก่กุฎุมพีนั้น. นิธิกัณฑสูตรนั้น มีเหตุเกิด ดังกล่าวมานี้.
ข้าพเจ้ากล่าวเหตุตั้ง และแสดงเหตุเกิดของนิธิ-
กัณฑ์สูตรไว้ในที่นี้แล้ว จักทำการพรรณนาความของ
นิธิกัณฑสูตรนั้น ดังต่อไปนี้.

พรรณนาคาถาที่ 1


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิธึ นิเธติ ปุริโส ความว่า ชื่อว่า
นิธิ เพราะฝังไว้ อธิบายว่า ตั้งไว้ รักษาไว้. นิธินั้นมี 4 คือ ถาวรนิธิ
ชงคมนิธิ อังคสมนิธิ อนุคามิกนิธิ.
บรรดานิธิ 4 นั้น ทรัพย์ที่ติดพื้นดินก็
ดี ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในอากาศก็ดี เงินก็ดี ทองก็ดี นาก็ดี ที่ดิน [ปลูกบ้าน]
ก็ดี ก็หรือทรัพย์เห็นปานนั้น แม้อื่นใดที่เว้น จากเคลื่อนที่ด้วยตัวเอง ชื่อว่า
ถาวร มั่นคง ขุมทรัพย์นี้ ชื่อว่า ถาวรนิธิ. ทาสหญิง ทาสชาย ช้าง โคม้า ลา แพะ
แกะ ไก่ สุกร ก็หรือว่า ทรัพย์เห็นปานนั้น แม้อื่นใด ที่ประกอบด้วยเคลื่อนที่
ได้ด้วยตัวเอง ชื่อว่าชังคมะ เคลื่อนที่ได้ ขุมทรัพย์นี้ ชื่อว่า ชังคมนิธิ.
พาหุสัจจะความเป็นพหูสูต อันเป็นบ่อเกิดการงาน บ่อเกิดศิลปะ. ที่ตั้งแห่ง
วิทยาการ ก็หรือว่า พาหุสัจจะเห็นปานนั้น แม้อื่นใด ที่ศึกษาเเล้วศึกษาอีก
ชำนาญติดตัวประหนึ่งอวัยวะใหญ่น้อย ชื่อว่าอังคสมะ เสมอด้วยอวัยวะ ขุม-