เมนู

นิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ



พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอนคฤหบดีอุบาสก ตรัสพระคาถาว่า
[9] บุรุษย่อมฝังขุมทรัพย์ไว้ในน้ำลึก ด้วยคิดว่า
เมื่อกิจที่จำเป็นเกิดขึ้น ทรัพย์นี้จักเป็นประโยชน์แก่
เรา เพื่อเปลื้องตนจากราชภัยบ้าง เพื่อช่วยตนให้พ้น
จากโจรภัยบ้าง เพื่อเปลื้องหนี้บ้าง ในคราวทุพภิกข-
ภัยบ้าง ในคราวคับขันบ้าง ขุมทรัพย์ที่เขาฝั่งไว้ใน
โลก ก็เพื่อประโยชน์นี้แล.
ขุมทรัพย์นั้น ย่อมหาสำเร็จประโยชน์แก่เข้าไป
ทั้งหมด ในกาลทุกเมื่อที่เดียวไม่ เพราะขุมทรัพย์
เคลื่อนจากที่ไปเสียบ้าง ความจำของเขาคลาดเคลื่อน
เสียบ้าง นาคทั้งหลายลักไปเสียบ้าง ยักษ์ทั้งหลายลัก
ไปเสียบ้าง ผู้รับมรดกที่ไม่เป็นที่รักขุดเอาไปเมื่อเขา
ไม่เห็นบ้าง ในเวลาที่เขาสิ้นบุญ ขุมทรัพย์ทั้งหมด
นั้น ย่อมสูญไป.
ขุมทรัพย์คือบุญ ของผู้ใด เป็นสตรีก็ตาม เป็น
บุรุษก็ตาม ฝังไว้ดีแล้วด้วยทาน ศีล สัญญมะความ
สำรวม ทมะความฝึกตน ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี
ในบุคคลก็ดี ในแขกก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี
ในพี่ชายก็ดี.

ขุมทรัพย์นั้น ชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว ใคร ๆ ไม่อาจ
ผจญได้ เป็นของติดตามตนไปได้ บรรดาโภคะ
ทั้งหลายที่เขาจำต้องละไป เขาก็พาขุมทรัพย์คือบุญ
นั้นไป.
ขุมทรัพย์คือบุญ ไม่สาธารณะแต่ชนเหล่าอื่น
โจรก็ลักไปไม่ได้ บุญนิธิอันใด ติดตามตนไปได้
ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น.
บุญนิธินั้น อำนวยผลที่น่าปรารถนาทุกอย่างแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. เทวดาและมนุษย์ปรารถนา
นักซึ่งอิฐผลใด ๆ อิฐผลทั้งหมดนั้น ๆ อันบุคคลย่อม
ได้ด้วยบุญนิธินี้.
ความมีวรรณะงาม ความมีเสียงเพราะ ความมี
ทรวดทรงดี ความมีรูปงาม ความเป็นใหญ่ยิ่ง ความ
มีบริวาร อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญ
นิธินี้.
ความเป็นพระราชาเฉพาะประเทศ ความเป็น
ใหญ่ [คือจักรพรรดิราช] สุขของพระเจ้าจักรพรรดิที่
น่ารัก ความเป็นพระราชาแห่งเทวดาในทิพยกายทั้ง
หลาย อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญ-
นิธินี้.

สมบัติของมนุษย์ ความยินดีในเทวโลก และ
สมบัติคือพระนิพพานอันใด อิฐผลทั้งหมดนั้นอัน
บุคคลย่อมได้ ด้วยบุญนิธินี้.
ความที่บุคคลอาศัยสัมปทา คุณเครื่องถึงพร้อม
คือมิตรแล้ว ถ้าประกอบโดยอุบายที่ชอบ เป็นผู้ชำนาญ
ในวิชชาแล้วมุตติ อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้
ด้วยบุญนิธินี้.
ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ สาวกบารมี ปัจเจกโพธิ
และพุทธภูมิอันใด อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อม
ได้ ด้วยบุญนิธินี้.
บุญสัมปทา คุณเครื่องถึงพร้อมคือบุญนั้น เป็น
ไปเพื่อประโยชน์ใหญ่อย่างนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิต
ผู้มีปัญญา จึงสรรเสริญความเป็นผู้ทำบุญไว้แล.


จบนิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ

อรรถกถานิธิกัณฑสูตร


เหตุตั้งพระสูตร


นิธิกัณฑสูตร

นี้ ข้าพเจ้ายกขึ้นตั้ง โดยนัยว่า นิธึ นิเธติ ปุริโส
เป็นต้น ต่อลำดับจากติโรกุฑฑสูตร บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวเหตุตั้งและจัก
แสดงเหตุเกิดเรื่องแห่งนิธิกัณฑสูตรไว้ในที่นี้แล้ว จึงจักทำการพรรณนาความ
แห่งนิธิกัณฑสูตรนั้น.
บรรดาเหตุทั้งสองนั้น ในที่นี้พึงทราบเหตุตั้งนิธิกัณฑสูตรนั้นก่อน.
แท้จริง นิธิกัณฑสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้มิได้ตรัสไว้ตามลำดับนี้
เพราะเหตุที่เป็นสูตรคู่ของติโรกุฑฑสูตร โดยเป็นเรื่องอนุโมทนา ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงยกขึ้นตั้งไว้ในที่นี้. หรือว่า พึงทราบว่า ข้าพเจ้าครั้นแสดงวิบัติ
ของหมู่ชนที่ปราศจากบุญด้วยติโรกุฑฑสูตรแล้ว จึงยกนิธิกัณฑสูตรนี้ตั้งไว้ใน
ที่นี้ ก็เพื่อแสดงสมบัติของหมู่ชนที่ทำบุญไว้ด้วยสูตรนี้. เหตุดังนี้กัณฑสูตร
นั้นไว้ในที่นี้มีเท่านี้.

เหตุเกิดพระสูตร


นิธิกัณฑสูตรนั้น มีเหตุเกิดดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี กุฎุมพีคนหนึ่ง มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี
โภคะมาก แต่เขาเป็นคนมีศรัทธาปสาทะ มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่
อยู่ครองเรือน. วันหนึ่ง เขาถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข สมัยนั้น พระราชามีพระราชประสงค์ทรัพย์ จึงทรงส่งราชบุรุษคน
หนึ่งไปที่สำนักเขา ด้วยพระราชดำรัสสั่งว่า พนาย เจ้าจงไปนำกุฎุมพีชื่อนี้