เมนู

ศาสน์และข้อวินิจฉัยของบุรพาจารย์นี้จึงปรารถนาจะ
พรรณนาความด้วยความเคารพอย่างมา ในพระสัทธ-
ธรรม ไม่ได้ประสงค์จะยกตนข่มท่าน ขอท่านทั้งหลาย
จงตั้งใจ สดับการพรรณนาความนั้น เทอญ.


การกำหนดขุททกปาฐะ


เพราะข้าพเจ้ากล่าวไว้ในคำปรารภนั้นว่า จักทำการพรรณนาความ
แห่งขุททกปาฐะ บางปาฐะ. ข้าพเจ้าจำต้องกำหนดขุททกปาฐะทั้งหลายเสียก่อน
แล้ว จึงจักทำการพรรณนาความภายหลัง เอกเทศส่วน ๆ หนึ่งของขุททกนิกาย
ชื่อว่า ขุททกะ. เอกเทศส่วนหนึ่ง ๆ ของนิกายทั้ง 5 ชื่อ ขุททกนิกาย ว่าโดยธรรม
และโดยอรรถ คัมภีร์เหล่านั้น มี 5 นิกาย คือทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สัง.-
ยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย ชื่อว่า นิกาย 5.
บรรดานิกายทั้ง 5 นั้น พระสูตร 34 สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น
ชื่อว่า ทีฆนิกาย จริงดังที่ท่านกล่าวว่า
นิกายที่รวบรวมพระสูตร 34 สูตร 3 วรรค ชื่อว่า ทีฆนิกาย
อนุโลมที่ 1
.
พระสูตร 152 สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น ชื่อว่า มัชฌิมนิกาย.
พระสูตร 7,762 สูตร มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น ชื่อว่าสังยุตตนิกาย.
พระสูตร 9,557 สูตรมีจิตตปริยาทานสูตรเป็นต้น ชื่อว่า อังคุตตร-
นิกาย
.
ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ
เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน พุทธ-
วงศ์ จริยาปิฎก พระพุทธพจน์ที่เหลือเว้นวินัยปิฎกและอภิธรรมปิฎก หรือ
นิกาย 4 ชื่อว่า ขุททกนิกาย.

เหตุไร นิกายนี้ ท่านจึงเรียกว่า ขุททกนิกาย เหตุเป็นที่รวม
เป็นที่อยู่ของหมวดธรรมเล็ก ๆ จำนวนมาก. จริงอยู่ การรวมกันอยู่ ท่าน
เรียกว่า นิกาย ว่าโดยศาสนาและโดยโลก ในข้อนี้ มีสาธกเป็นต้นอย่างนี้
คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราตถาคตมองไม่เห็นหมู่สัตว์หมู่หนึ่งอื่นวิจิตรเหมือน
อย่างหมู่สัตว์เดียรฉานเลย. หมู่กษัตริย์โปณิกะ หมู่กษัตริย์จิกขัลลิกา. เอกเทศ
ส่วนหนึ่งของขุททกนิกายนั้น มีดังนี้ หมวดธรรมเล็ก ๆ ที่นับเนื่องในพระ-
สุตตันปิฎกเหล่านี้ มุ่งหมายที่จะเปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายโดยอรรถ
ขุททกปาฐะ 9 ประเภท คือ สรณะสิกขาบท ทวัตตึงสาการ กุมารปัญหา
[สามเณรปัญหา] มงคลสูตร รตนสูตร ติโรกุฑฑสูตร นิธิกัณฑสูตรและ
เมตตสูตร เป็นข้อต้นของหมวดธรรมแม้เหล่านั้น โดยอาจารย์ต่อมายกขึ้นสู่
ทางการบอกการสอน มิใช่โดยเป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้.
จริงอยู่ คาถาเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหสิ
สพฺพา เต มาสุกา ภคฺคา ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.

เราแสวงหาช่างผู้ทำเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบ
ได้ท่องเที่ยวไปแล้ว สิ้นสงสารนับด้วยชาติมิใช่น้อย
ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
ดูก่อนช่างผู้ทำเรือนคือ อัตภาพ เราพบท่านแล้ว
ท่านจักทำเรือนคืออัตภาพของเราอีกไม่ได้ โครงบ้าน

ของท่านทั้งหมด เราทำลายแล้ว ยอดแห่งเรือนคือ
คือว่า เรารื้อแล้ว จิตของเราถึงพระนิพพานแล้ว
เพราะเราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาทั้งหลายแล้ว.

ชื่อว่าเป็นพระปฐมพุทธวจนะ แม้ทั้งหมดโดยเป็นพระดำรัสที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ ที่ชื่อว่าพระปฐมพุทธดำรัสนั้น ก็โดยที่ตรัสทางพระมนัส
มิใช่ทรงเปล่งพระวาจาตรัส ส่วนพระคาถามีว่า
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ.
เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มี
เพียรเพ่งอยู่เนื้อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์
นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ชัดธรรมพร้อมทั้งเหตุ.

ชื่อว่าเป็นพระปฐมพุทธดำรัส โดยที่เป็นพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เปล่งพระวาจาตรัส. เพราะฉะนั้น ขุททกปาฐะ 9 ประเภทนี้ใด ชื่อว่าเป็นข้อต้น
ของหมวดธรรมเล็ก ๆ เหล่านั้น เราจะเริ่มพรรณนาความแห่งขุททกปาฐะนั้น
ตั้งแต่ต้นไป.

นิทานโสธนะ


การชำระคำเริ่มต้น


วาจานี้ว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

เป็นข้อต้นของคำเริ่มต้นนั้น หัวข้อพรรณนาความของคำเริ่มต้นนั้น มีดังนี้
พระสรณตรัย ใครกล่าว กล่าวที่ไหน กล่าวเมื่อ
ใด กล่าวเพราะเหตุไร อนึ่ง ที่มิได้ตรัสไว้มาแค่แรก
เพราะเหตุไร ในที่นี้จึงว่า ตรัสไว้เป็นข้อแรก จำต้อง
ชำระคำเริ่มต้น ต่อจากนั้นไปในคำเริ่มต้น ก็จะชี้
แจงเรื่องพระพุทธะ เรื่องการถึงสรณะ และเรื่องบุคคล
ผู้ถึงสรณะ จะแสดงการขาดการไม่ขาดแห่งสรณคมน์
ทั้งผล ทั้งสรณะที่ควรถึง แม้ในสองสรณะ มีธมฺมํ
สรณํ เป็นต้น ก็รู้กันแล้วว่ามีนัยอย่างนี้ จะอธิบาย
เหตุในการกำหนดโดยลำดับ และจะประกาศสรณตรัย
นั้น ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย.

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาแรก ก่อนอื่น มีปัญหา 5 ข้อ คือ
1. พระสรณตรัยนี้ใครกล่าว
2. กล่าวที่ไหน
3. กล่าวเมื่อไร
4. กล่าวเพราะเหตุไร