เมนู

ศาสน์และข้อวินิจฉัยของบุรพาจารย์นี้จึงปรารถนาจะ
พรรณนาความด้วยความเคารพอย่างมา ในพระสัทธ-
ธรรม ไม่ได้ประสงค์จะยกตนข่มท่าน ขอท่านทั้งหลาย
จงตั้งใจ สดับการพรรณนาความนั้น เทอญ.


การกำหนดขุททกปาฐะ


เพราะข้าพเจ้ากล่าวไว้ในคำปรารภนั้นว่า จักทำการพรรณนาความ
แห่งขุททกปาฐะ บางปาฐะ. ข้าพเจ้าจำต้องกำหนดขุททกปาฐะทั้งหลายเสียก่อน
แล้ว จึงจักทำการพรรณนาความภายหลัง เอกเทศส่วน ๆ หนึ่งของขุททกนิกาย
ชื่อว่า ขุททกะ. เอกเทศส่วนหนึ่ง ๆ ของนิกายทั้ง 5 ชื่อ ขุททกนิกาย ว่าโดยธรรม
และโดยอรรถ คัมภีร์เหล่านั้น มี 5 นิกาย คือทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สัง.-
ยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย ชื่อว่า นิกาย 5.
บรรดานิกายทั้ง 5 นั้น พระสูตร 34 สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น
ชื่อว่า ทีฆนิกาย จริงดังที่ท่านกล่าวว่า
นิกายที่รวบรวมพระสูตร 34 สูตร 3 วรรค ชื่อว่า ทีฆนิกาย
อนุโลมที่ 1
.
พระสูตร 152 สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น ชื่อว่า มัชฌิมนิกาย.
พระสูตร 7,762 สูตร มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น ชื่อว่าสังยุตตนิกาย.
พระสูตร 9,557 สูตรมีจิตตปริยาทานสูตรเป็นต้น ชื่อว่า อังคุตตร-
นิกาย
.
ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ
เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน พุทธ-
วงศ์ จริยาปิฎก พระพุทธพจน์ที่เหลือเว้นวินัยปิฎกและอภิธรรมปิฎก หรือ
นิกาย 4 ชื่อว่า ขุททกนิกาย.