เมนู

พรรณนาคาถาที่


พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงแก่พระราชาถึงเปรตเป็นอันมาก
ที่พากันมายังพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร อันเป็นเรือนญาติแต่ก่อน
แม้ตนไม่เคยครอบครองมาแต่ก่อน ด้วยสำคัญว่าเรือนของตน ยืนกัน อยู่นอก
ฝาที่ทาง 4 แพร่งและทาง 3 แพร่ง และบานประตู เสวยผลแห่งความริษยา
และความตระหนี่ บางพวกมีหนวดและผมยาวหน้า มีอวัยวะใหญ่น้อยผูก
หย่อนและยาน ผอมหยาบดำ เสมือนต้นตาลถูกไฟป่าไหม้ ยืนต้นอยู่ในที่นั้น ๆ
บางพวกมีเรือนร่างถูกเปลวไฟที่ตั้งขึ้นจากท้องแลบออกจากปาก เพราะความสี
กันแห่งไม้สีไฟ คือความระหาย แผดเผาอยู่ บางพวกไม่ได้รสอื่นนอกจาก
รสคือความหิวระหาย เพราะถึงได้ข้าวน้ำก็ไม่สามารถบริโภคได้ตามต้องการ
เพราะมีหลอดคอมีขนาดเล็กเท่ารูเข็ม และเพราะมีท้องใหญ่ดังภูเขา บางพวก
มีเรือนร่างไม่น่าดู แปลกประหลาดและน่าสะพึงกลัวเหลือเกิน ได้น้ำเลือดน้ำ
หนอง ไขข้อเป็นต้นที่ไหลออกจากแผลหัวฝีที่แตก ของกันและกันหรือของ
สัตว์เหล่าอื่น ลิ้มเลียเหมือนน้ำอมฤต จึงตรัสว่า
ฝูงเปรตพากันมายังเชื่อนี้ตน ยืนอยู่ที่นอกฝา
เรือนก็มี ยืนอยู่ที่ทางสี่แพร่งสามแพร่งก็มี ยืนใกล้
บานประตูก็มี.

เมื่อทรงแสดงความที่กรรมอันเปรตเหล่านั้น ทำมาแล้วเป็นกรรมทารุณ จึงตรัส
คาถาที่ 2 ว่า ปหูเต อนฺนปานมฺหิ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหูเต ได้แก่ ไม่น้อย. ท่านอธิบายว่า
มาก จนพอต้องการ. เอา เป็น ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ปหุ สนฺโต
น ภรติ
ผู้มีมากก็ไม่เลี้ยงดู. แต่อาจารย์บางพวกสวดว่า ปหูเต ก็มี พหูเก


ก็มี. ปาฐะเหล่านั้น เป็นปาฐะที่เขียนด้วยความพลั้งเผลอ. ข้าวด้วย น้ำด้วย
ชื่อว่าข้าวและน้ำ ของเคี้ยวด้วย ของกินด้วย ชื่อว่าของเคี้ยวและของกิน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอาหาร 8 อย่าง คือของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว
และของลิ้ม ด้วยบทนี้. บทว่า อุปฏฺฐิเต ได้แก่ เข้าไปตั้งไว้. ท่านอธิบายว่า
จัดแจง ตบแต่ง รวบรวม. บทว่า น โกจิ เตสํ สรติ สตฺตานํ ความ
ว่า เมื่อสัตว์เหล่านั้นเกิดในปิตติวิสัย ใคร ๆ ไม่ว่ามารดาหรือบุตร ก็ไม่
ระลึกถึง. เพราะเหตุไร. เพราะกรรมเป็นปัจจัย คือเพราะกรรมคือความตระ-
หนี่ที่ตนทำ ต่างโดยปฏิเสธการรับและการให้เป็นต้นเป็นปัจจัย เพราะว่ากรรม
ของสัตว์เหล่านั้น ไม่ให้ญาติระลึกถึง.

พรรณนาคาถาที่ 3


พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงว่าไม่มีญาติไร ๆ ที่พอจะระลึกถึง
เพราะกรรมที่มีวิบากเป็นทุกข์เผ็ดร้อน ที่สัตว์เหล่านั้นทำไว้เป็นปัจจัย แก่
สัตว์ที่เป็นเปรตเหล่านั้น ซึ่งเที่ยวมุ่งหวังต่อญาติทั้งหลายว่า เมื่อข้าวน้ำเป็นต้น
แม้ไม่ใช่น้อย ที่ญาติเข้าไปตั้งไว้ [ในสงฆ์] น่าที่ญาติทั้งหลาย จะพึงให้
อะไร ๆ อุทิศพวกเรากันบ้างอย่างนี้ จึงตรัสว่า
เมื่อข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของกิน อัน เขาเข้าไปตั้ง
ไว้เป็นอันมา [ในสงฆ์] ญาติไร ๆ ของสัตว์เหล่านั้น
ก็ระลึกไม่ได้ เพราะกรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย.

เมื่อทรงสรรเสริญทานที่พระราชาถวายอุทิศพวกพระประยูรญาติของพระราชา ที่
เกิดในปิตติวิสัย [เกิดเป็นเปรต] อีก จึงตรัสพระคาถาที่ 2 ว่า เอวํ ททนฺติ
ญาตีนํ
เป็นต้น.