เมนู

อรรถกถาติโตกุฑฑสูตร


ประโยชน์แห่งการตั้งพระสูตร


บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาความติโรกุฑฑสูตร ที่ยกขึ้นตั้งต่อลำดับ
รัตนสูตรโดยนัยว่า ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺฐนฺติ เป็นต้น จักกล่าวประโยชน์แห่ง
การตั้งติโรกุฑฑสูตรนั้นไว้ในที่นี้แล้วจึงจักทำการพรรณนาความ.
ในข้อนั้น ความจริง ติโรกุฑฑสูตรนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้
ตรัสตามลำดับนี้ แต่ก็ทรงแสดงการปฏิบัติกุศลกรรมนี้ได้ โดยประการต่าง ๆ
ไว้ก่อนพระสูตรนี้ เพราะเหตุที่บุคคลประมาทในการปฏิบัติกุศลกรรมนั้น อยู่
เมื่อเกิดในฐานะ ที่แม้เศร้าหมองกว่านรกและกำเนิดสัตว์เดียรฉาน ก็ย่อมเกิด
ในจำพวกเปรตเห็นปานนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสรัตนสูตร เพื่อ
แสดงว่าบุคคลไม่ควรทำความประมาทในการปฏิบัติกุศลกรรมนั้น และเพื่อ
ระงับอุปัทวะแห่งกรุงเวสาลี ที่พวกหมู่ภูตเหล่าใดเบียดเบียนแล้ว หรือตรัสเพื่อ
แสดงว่า ในหมู่ภูตเหล่านั้น มีหมู่ภูตบางพวกมีรูปเห็นปานนั้น พึงทราบ
ประโยชน์แห่งการตั้งติโรกุฑฑสูตรนี้ในที่นี้.

กถาอนุโมทนา


แต่เพราะเหตุที่ ติโรกุฑฑสูตร ผู้ใดประกาศ ประกาศที่ใด ประกาศ
เมื่อใด และประกาศเพราะเหตุใด การพรรณนาความของติโรกุฑฑสูตรนั้น
ครั้นประกาศติโรกุฑฑสูตรนั้นหมดแล้ว เมื่อทำตามลำดับ ชื่อว่าทำดีแล้ว
ฉะนั้น ข้าพเจ้าก็จักทำการพรรณนาความนั้น อย่างนั้นเหมือนกันแล.

ข้อว่า ก็ติโรกุฑฑสูตรนี้ใครประกาศ ประกาศที่ไหน ประกาศเมื่อไร
ขอชี้แจงดังนี้ ติโรกุฑฑสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศ ก็ติโรกุฑฑสูตร
นั้นแล ทรงประกาศเพื่อทรงอนุโมทนา แก่พระเจ้ามคธรัฐในวันรุ่งขึ้น เพื่อ
ทำความข้อนี้ให้เเจ่มแจ้ง ควรกล่าวเรื่องไว้พิสดารในข้อนี้ดังนี้.
ในกัปที่ 92 นับแต่กัปนี้ มีนครชื่อกาสี ในนครนั้น มีพระราชา
พระนามว่า ชัยเสน พระเทวีของพระราชานั้น พระนามว่า สิริมา. พระ-
โพธิสัตว์ พระนามว่า ปุสสะ เกิดในครรภ์ของพระนาง ตรัสรู้สัมมาสัม
โพธิญาณตามลำดับ พระราชาชัยเสนทรงเกิดความรู้สึกถึงความเป็นของพระองค์
ว่า โอรสของเราออกทรงผนวชเกิดเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็เป็นของ
เรา พระธรรมก็ของเรา พระสงฆ์ก็ของเรา ทรงอุปรากด้วยพระองค์เองตลอด
ทุกเวลา ไม่ยอมประทานโอกาสแก่คนอื่น ๆ.
เจ้าพี่เจ้าน้องของพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างพระมารดา 3 พระองค์ พา
กันดำริว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จอุบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อ
กูลแก่โลกทั้งปวง มิใช่เพื่อประโยชน์แก่บุคคลคนเดียวเท่านั้น แต่พระบิดาของ
เรา ไม่ทรงประทานโอกาสแก่เราและคนอื่น ๆ เลย เราจะได้การอุปรากอย่าง
ไรหนอ พระราชโอรสเหล่านั้น จึงตกลงพระหฤทัยว่า จำเราจะต้องทำอุบาย
บางอย่าง ทั้ง 3 พระองค์จึงให้หัวเมืองชายแดงทำประหนึ่งแต่งเมือง ต่อนั้น
พระราชาทรงทราบข่าวว่าหัวเมืองชายแดนกบฏ จึงทรงส่งพระราชโอรสทั้ง 3
พระองค์ออกไปปราบกบฏ. พระราชโอรสเหล่านั้น ปราบกบฏเสร็จแล้วก็
เสด็จกลับมา พระราชาทรงดีพระราชหฤทัย พระราชทานพรว่า เจ้าปรารถนา
สิ่งใด ก็จงรับสิ่งนั้น. พระราชโอรถทั้ง 3 พระองค์กราบทูลว่า ข้าพระบาท
ปรารถนาจะอุปฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เว้นพร

ข้อนั้นเสีย รับพรอย่างอื่นไปเถิด. พระราชโอรสกราบทูลว่า พวกข้าพระบาทไม่
ปรารถนาพรอย่างอื่นดอก พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจง
กำหนดเวลามาแล้วรับไป. พระราชโอรสทูลขอ 7 ปี. พระราชาไม่พระราชทาน
พระราชโอรสจึงทูลขอลดลงอย่างนี้ คือ 6 ปี 5 ปี 4 ปี 3 ปี 2 ปี 1 ปี 7
เดือน 6 เดือน 5 เดือน 4 เดือน จนถึงไตรมาส พระราชาจึงพระราชทาน
ว่า รับได้. พระราชโอรสเหล่านั้น ได้รับพระราชทานพรแล้วก็ทรงยินดีอย่างยิ่ง
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พวกข้าพระองค์ประสงค์จะอุปฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอดไตรมาส ขอพระผู้
มีพระภาคเจ้าโปรดทรงรับจำพรรษาตลอดไตรมาสนี้ สำหรับข้าพระองค์ด้วยเถิด
พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงรับ โดยอาการดุษณีภาพ คือนิ่ง ต่อ
นั้น พระราชโอรสทั้ง 3 พระองค์ ก็ส่งหัตถเลขา ลายพระหัตถ์ไปแจ้งแก่
พนักงานเก็บส่วย [ผู้จัดผลประโยชน์] ในชนบทของพระองค์ว่า เราจะอุปฐาก
พระผู้มีพระภาคเจ้าตลอดไตรมาสนี้ เจ้าจงจัดเครื่องประกอบการอุปฐากพระผู้
มีพระภาคเจ้าไว้ให้พร้อมทุกประการ ตั้งแต่สร้างพระวิหารเป็นต้นไป เจ้า
พนักงานเก็บส่วยนั้น จัดการพร้อมทุกอย่างแล้ว ก็ส่งหนังสือรายงานให้ทรง
ทราบ. พระราชโอรสเหล่านั้น ก็ทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะ ทรงอุปฐากพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าโดยเคารพ ด้วยบุรุษไวยาจักร 2,500 คน นำเสด็จสู่ชนบทมอบถวาย
พระวิหาร ให้ทรงอยู่จำพรรษา.
บุตรคฤหบดีผู้หนึ่ง เป็นพนักงานที่รักษาเรือนคลังของพระราชโอรส
เหล่านั้น พร้อมทั้งภรรยา เป็นคนมีศรัทธาปสาทะเขาได้ปฏิบัติการถวายทานแก่
พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขโดยเคารพ. เจ้าพนักงานเก็บส่วยในชนบท พา
บุตรคฤหบดีนั้น ให้ดำเนินการถวายทานโดยเคารพ พร้อมด้วยบุรุษชาวชนบท

ประมาณ 11,000 คน. บรรดาคนเหล่านั้น ชนบางพวก มีจิตถูกอิสสามัจ-
ฉริยะครอบงำ พวกเขา ก็พากันทำอันตรายแก่ทาน กินไทยธรรมด้วยตนเอง
บ้าง ให้แก่พวกลูก ๆ เสียบ้าง และเอาไฟเผาโรงอาหาร. ครั้น ปวารณาออก
พรรษา พระราชโอรสทั้งหลาย ก็ทรงทำสักการะยิ่งใหญ่แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าไปเฝ้าพระราชบิดา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จ
ไปในที่นั้นแล้ว ก็ปรินิพพาน. พระราชา พระราชโอรส เจ้าพนักงานเก็บส่วย
ในชนบทและเจ้าพนักงานรักษาเรือนคลัง ทำกาละไปตามลำดับก็เกิดในสวรรค์
พร้อมด้วยบริษัทบริวาร. เหล่าชนที่มีจิตถูกอิสสามัจฉริยะครอบงำ ก็พากันไป
เกิดในนรกทั้งหลาย เมื่อคน 2 คณะนั้นจากสวรรค์เข้าถึงสวรรค์ จากนรกเข้า
ถึงนรกด้วยอาการอย่างนี้ กัปก็ล่วงไป 92 กัป.
ต่อมา ในภัทรกัปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป ชนที่มี
จิตถูกอิสสามัจฉริยะครอบงำเหล่านั้น ก็เกิดเป็นเปรต. ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลาย
ถวายทาน อุทิศเพื่อประโยชน์แก่พวกเปรตที่เป็นญาติของตนว่า ขอทานนี้จงมี
แก่พวกญาติของเรา. เปรตเหล่านั้นก็ได้สมบัติ. ขณะนั้น เปรตแม้พวกนี้เห็น
ดังนั้น ก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ทำอย่างไรหนอ พวกข้าพระองค์จึงจะได้สมบัติบ้าง พระเจ้าข้า. พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บัดนี้ พวกท่านยังไม่ได้ดอก ก็แต่ว่า ในอนาคต จักมี
พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จัก
มีพระราชาพระนามว่าพิมพิสาร ท้าวเธอได้เป็นญาติของพวกท่าน นับแต่นี้ไป
92 กัป ท้าวเธอจักถวายทานแด่พระพุทธเจ้า อุทิศส่วนกุศลแก่พวกท่าน ครั้ง
นั้น พวกท่านจึงจักได้. เขาว่า เมื่อมีพุทธดำรัสอย่างนี้แล้ว พระพุทธดำรัส
นั้น ได้ปรากฏแก่เปรตเหล่านั้น ประหนึ่งตรัสว่า พวกท่านจักได้ในวันพรุ่งนี้.

ต่อมา เมื่อล่วงไปพุทธันดรหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ก็
เสด็จอุบัติในโลก. พระราชโอรสทั้ง 3 พระองค์นั้น ก็จุติจากเทวโลก พร้อม
ด้วยบุรุษ 2,500 คนเหล่านั้น ไปเกิดในสกุลพราหมณ์ทั้งหลาย ในแคว้นมคธ
บวชเป็นฤาษีโดยลำดับ ได้เป็นชิฏิล 3 คน ณ คยาสีสประเทศ. เจ้าพนักงาน
เก็บส่วยในชนบท ได้เป็นพระเจ้าพิมพิสาร บุตรคฤหบดี เจ้าพนักงานรักษา
เรือนคลัง ได้เป็นมหาเศรษฐีชื่อวิสาขะ ภรรยาของเขาได้เป็นธิดาของเศรษฐี
ชื่อธรรมทินนา บริษัทที่เหลือ เกิดเป็นราชบริขารของพระเจ้าพิมพิสารทั้งหมด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราเสด็จอุบัติในโลก ล่วงไป 7 สัปดาห์ ก็เสด็จ
มายังกรุงพาราณสี โดยลำดับ ประกาศพระธรรมจักร โปรดพระภิกษุปัญจวัคคีย์
เป็นต้นไป จนถึงทรงแนะนำชฏิล 3 ท่าน ซึ่งมีบริวาร 2,5001 จึงเสด็จไป
กรุงราชคฤห์ ณ กรุงราชคฤห์นั้น โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเสด็จเข้าไปเฝ้า
ในวันนั้นเอง ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตตผล พร้อมด้วยพราหมณ์และคฤหบดี
ชาวมคธ 11 นหุต. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์พระเจ้าพิมพิสาร
เพื่อเสวยภัตตาหารในวันพรุ่ง. ครั้นวันรุ่งขึ้น อันท้าวสักกะจอมทวยเทพนำ
เสด็จ ทรงชมเชยด้วยคาถาทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า
ทนฺโต ทนฺเตหิ สห ปุราณชฏิเลหิ
วิปฺปมุตฺโต วิปฺปมุตฺเตหิ
สิงคินิกฺขสุวณฺโณ
ราชคหํ ปาวิสิ ภควา.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกแล้ว กับเหล่า
ปุราณชฏิล ผู้ฝึกแล้ว พระผู้หลุดพ้นแล้ว กับเหล่า
ปรุราณชฏิลผู้หลุดพ้นแล้ว ผู้มีพระฉวีวรรณงามดังแท่ง
ทองสิงคี เสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์
ดังนี้.

1. ในพระวินัยปิฏกมหาวรรค 4/ข้อ 37 เป็น 1,000

เสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์ ทรงรับมหาทานในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร
เปรตเหล่านั้นยืนห้อมล้อมด้วยหวังอยู่ว่า บัดนี้ พระราชาจักทรงอุทิศทานแก่
พวกเรา บัดนี้ จักทรงอุทิศทานแก่พวกเรา.
ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแล้ว ทรงพระดำริว่า พระผู้มีพระภาค-
เจ้าจะพึงประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ทรงพระดำริถึงแต่เรื่องที่ประทับอยู่ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น มิได้ทรงอุทิศทานนั้นแก่ใคร ๆ.
เปรตทั้งหลายสิ้นหวัง ตอนกลางคืน จึงพากันทำเสียงแปลกประหลาด
น่าสะพรึงกลัวอย่างเหลือเกินใน พระราชนิเวศน์. พระราชาทรงสลดพระราช-
หฤทัยหวาดกลัว ต่อรุ่งสว่างกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินเสียงเช่นนี้ เหตุอะไรหนอ จักมีแก่ข้าพระองค์
พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพรมหาบพิตร โปรดอย่าทรง
กลัวเลย จักไม่มีสิ่งชั่วร้ายอะไร ๆ แก่มหาบพิตรดอก ก็แต่ว่า พวกพระญาติ
เก่า ๆ ของมหาบพิตร เกิดเป็นเปรตมีอยู่ เปรตเหล่านั้น เที่ยวอยู่สิ้นพุทธันดร
หนึ่ง หวังอยู่ต่อมหาบพิตรว่า จักทรงถวายทานแด่พระพุทธเจ้า แล้วจักทรง
อุทิศส่วนกุศลแก่พวกเรา เมื่อวันวาน มหาบพิตรมิได้ทรงอุทิศส่วนกุศลแก่
เปรตพวกนั้น เปรตพวกนั้นสิ้นหวัง จึงพากันทำเสียงแปลกประหลาดเช่นนั้น.
พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลว่า พระเจ้าข้า บัดนี้ เมื่อข้าพระองค์ถวาย
ทาน พวกเขาก็ควรได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพร มหาบพิตร.
พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น ขอพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า โปรดทรงรับนิมนต์เสวยภัตตาหารเช้าพรุ่งนี้ ของข้าพระองค์ด้วยนะ

พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอุทิศทานแก่เปรตพวกนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
รับ. พระราชาเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์ จัดแจงมหาทาน แล้วให้กราบทูลเวลา
ภัตตาหารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าภายในพระราช-
นิเวศน์ ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.
เปรตพวกนั้น พากันไปยืนที่นอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยหวังว่า วันนี้
พวกเราคงได้อะไรกันบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำโดยอาการที่เปรตพวก
นั้น จะปรากฏแก่พระราชาหมดทุกตน.
พระราชาถวายน้ำทักษิโณทก ทรงอุทิศว่า ขอทานนี้จงมีแก่พวก
ญาติของเรา. ทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีดารดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่เปรต
พวกนั้น. เปรตพวกนั้นก็อาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ระงับความกระวน
กระวายความลำบากและหิวกระหายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทอง.
ลำดับนั้น พระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินเป็นต้น
แล้วทรงอุทิศ. ในทันใดนั้นเอง ข้าวยาคูของเคี้ยวและของกินอันเป็นทิพย์ ก็
บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. เปรตพวกนั้น ก็พากินบริโภคของทิพย์เหล่านั้น มี
อินทรีย์เอิบอิ่ม.
ลำดับนั้น พระราชาถวายผ้าและเสนาสนะเป็นต้น ทรงอุทิศให้
เครื่องอลังการต่าง ๆ มีผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาดและที่นอน
เป็นต้น ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. สมบัติแม้นั้นของเปรตพวกนั้น ปรากฏ
ทุกอย่างโดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงอธิษฐาน (ให้พระราชา
ทรงเห็น) โดยประการนั้น. พระราชาทรงดีพระทัยยิ่ง. แต่นั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺฐนฺติ เป็นต้น เพื่อทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้ามคธรัฐ.

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ มาติกาหัวข้อนี้ว่า เยน ยตฺถ ยทา ยสฺมา
ติโรกฑฺฑํ ปกาสิตํ ปกาสยิตฺวา ตํ สพฺพํ
ก็เป็นอันจำแนกแล้วทั้งโดย
สังเขปทั้งโดยพิศดาร.
บัดนี้ จักกล่าวพรรณนาความแห่งติโรกุฑฑสูตรนี้ตามลำดับไป คือ

พรรณนาคาถาที่ 1


จะพรรณนาความในคาถาแรกก่อน. ส่วนภายนอกแห่งฝาทั้งหลาย
เรียกกันว่า ติโรกุฑฑะ. คำว่า ติฏฺฐนฺติ เป็นคำกล่าวถึงอิริยาบถยืน
เพราะห้ามอิริยาบถนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงพวก
เปรตที่ยืนอยู่ที่ส่วนอื่นของฝาเรือนไว้แม้ในที่นี้ว่า ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺฐนฺติ
ยืนกันอยู่ที่นอกฝาเรือน เหมือนที่ท่านกล่าวถึงท่านผู้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ซึ่งไป
ณ ส่วนอื่นแห่งกำแพง และส่วนอื่นแห่งภูเขาว่า ไปนอกกำแพงนอกภูเขา
ไม่ติดขัด ฉะนั้น. ในคำว่า สนฺธิสึฆาฏเกสุ จ นั้น ทาง 4 แพร่ง หรือ
แม้ที่ต่อเรือนที่ต่อฝาและกรอบหน้าต่าง ท่านเรียกว่าสนธิ ทาง 3 แพร่ง ท่าน
เรียกว่า สิงฆาฏกะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำคำนั้นไว้แห่งเดียวกัน เชื่อม
กับคำต้น จึงตรัสว่า สนฺธิสึฆาฏเกสุ จ. บทว่า ทฺวารพาหาสุ ติฏฺฐนฺติ
ได้แก่ ยืนพิงบานประตูพระนครและประตูเรือน. เรือนญาติแต่ก่อนก็ดี เรือน
ของตนที่เคยครอบครองเป็นเจ้าของก็ดี ชื่อว่า เรือนของตน ในคำว่า
อาคนฺตฺวาน สกํ ฆรํ นี้. เพราะเหตุที่เปรตพวกนั้น พากันมาโดยสกสัญญา
เข้าใจว่าเป็นเรือนของตน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสถึงเรือนทั้งสอง
นั้นว่า อาคนฺตฺวาน สกํ ฆรํ มายังเรือนของตน.