เมนู

ขาบททั้งหลาย และโดยแนวปาฐะที่ท่านแสดงไว้ ในสรณคมน์ อย่างนี้ว่า
ปาณาติปาตา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท
คือเจตนางดเว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น พึงทราบนัยที่ว่า "สิกขาบทเหล่า
นี้ ผู้ใดกล่าว กล่าวที่ใด กล่าวเมื่อใด กล่าวเพราะเหตุไร จะกล่าวนัยนั้น"
เท่านี้ก่อน.

กำหนดความแปลกกันของสิกขาบททั่วไป


ก็บรรดาสิกขาบทเหล่านั้น สิกขาบทที่ 4 - 5 สองสิกขาบทข้างต้น
ทั่วไปทั้งอุบาสก ทั้งสามเณรโดยเป็นนิจศีล แต่ว่าโดยเป็นอุโบสถศีล ของ
พวกอุบาสก เว้นสิกขาบทหลังหมด เพราะรวบสิกขาบทที่ 7 และ 8 เข้าเป็น
องค์เดียวกัน สิกขาบททั้งหมด ก็ทั่วไปกับสามเณรทั้งหลาย ส่วนสิกขาบท
หลังเป็นพิเศษสำหรับสามเณรเท่านั้น พึงทราบกำหนดโดยความแปลกกันของ
สิกขาบททั่วไปดังกล่าวมาฉะนี้ พึงกำหนดปกติวัชชะ และปัณณัตติวัชชะ อย่าง
นี้คือ บรรดาสิกขาบทเหล่านั้น 5 สิกขาบทข้างต้น กำหนดด้วยเจตนางดเว้น
จากปกติวัชชะ ของปาณาติบาตเป็นต้น เพราะมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐานส่วนเดียว
สิกขาบทนอกนั้น กำหนดด้วยเจตนางดเว้นจากปัณณัตติวัชชะ.

ชี้แจงบททั่วไป


ก็เพราะเหตุที่บรรดาบทเหล่านั้น บทเหล่านั้นว่า เวรมณีสิกฺขาปทํ
สมาทิยามิ
เป็นบททั่วไปทั้งหมด ฉะนั้น พึงทราบการชี้แจงบทเหล่านั้นทั่ว
ไป ทั้งโดยพยัญชนะ ทั้งโดยอรรถะดังต่อไปนี้.
ในบทเหล่านั้น พึงทราบโดยพยัญชนะก่อน ชื่อว่า เวรมณี เพราะ
เว้นเวร อธิบายว่า ละบรรเทาเวร คือทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี. อีกนัย

หนึ่ง บุคคลย่อมเว้นจากเวร ด้วยเจตนาตัวการเท่านั้น เหตุนั้น เจตนานั้น
จึงชื่อว่า เวรมณี เพราะเอาวิอักษรเป็น เวอักษร. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ในคำนี้
พุทธบริษัทจึงสวดกันเป็น 2 อย่างว่า เวรมณีสิกขาปทํ วิรมณีสิกขาปทํ.
ชื่อว่า สิกขา เพราะอันบุคคลพึงศึกษา. ชื่อว่า บท เพราะเป็นเครื่องถึง
บทแห่งสิกขา, บทแห่งสิกขา ชื่อว่า สิกขาบท อธิบายว่าอุบายเป็นเครื่อง
ถึงสิกขา. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า เป็นมูล เป็นที่อาศัย เป็นที่ตั้ง. สิกขาบท
คือเจตนาเครื่องงดเว้น ชื่อว่า เวรมณีสิกขาบท หรือ วิรมณีสิกขาบท
ตามนัยที่สอง. ข้าพเจ้ายึดถือโดยชอบ ชื่อว่า สมาทิยามิ ท่านอธิบายว่าข้าพเจ้า
ยึดถือโดยประสงค์จะไม่ล่วงละเมิด เพราะเป็นผู้กระทำสิกขาบทไม่ให้เป็นท่อน
ไม่ให้ขาด ไม่ให้ด่างพร้อย.
แต่เมื่อว่าโดยอรรถะ บทว่า เวรมณี ได้แก่ วิรัติ เจตนางดเว้น
ประกอบด้วยจิตอันเป็นกามาวจรกุศล. วิรัตินั้น ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณา-
ติบาต ท่านกล่าวไว้ในวิภังค์ โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า เจตนางด เจตนางดเว้น
เว้นขาด งดเว้น ไม่ทำ ไม่กระทำ ไม่ล่วง ไม่ละเมิดขอบเขต การชักสะพาน
เสียด้วยอริยมรรค ชื่อว่า เสตุ จากปาณาติบาต ในสมัยนั้น อันใด. ธรรมดาว่า
เวรมณีนั้น แม้เป็นโลกุตระมีอยู่ก็จริง ถึงอย่างนั้นในที่นี้ ก็ควรเป็นเวรมณี
ที่เป็นไปโดยการสมาทาน เพราะผู้สมาทานกล่าวว่า สมาทิยามิ เพราะฉะนั้น
เวรมณีที่เป็นโลกุตระนั้น จึงไม่มี ข้าพเจ้ากล่าวว่าวิรัติ เจตนางดเว้น ประกอบ
ด้วยจิตอันเป็นกามาวจรกุศล.
บทว่า สิกขา ได้แก่ สิกขา 3 คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา. แต่ในที่นี้ ศีลคือสัมปัตตวิรัติ วิปัสสนาฝ่ายโลกิยะ
รูปฌานและอรูปฌาน
และอริยมรรค ท่านประสงค์ว่า สิกขา ในบท
ว่าสิกขานี้
, เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ธรรมเหล่าไหน ชื่อว่าสิกขา สมัยใด จิตเป็น
กุศลฝ่ายกามาวจร เกิดขึ้น ไปกับโสมนัส ประกอบ
ด้วยญาณ ฯลฯ สมัยนั้น ผัสสะ ก็มี ฯลฯ ความไม่
กวัดแกว่งก็มี ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สิกขา.
ธรรมเหล่าไหน ชื่อว่าสิกขา สมัยใด พระ-
โยคาวจรเจริญมรรค ด้วยการเข้าถึงรูปฌานสงัดจาก
กามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง
ปฐมฌาน ฯลฯ เข้าถึงปัญจมฌานอยู่ ฯลฯ ความไม่
กวัดแกว่งก็มี ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าสิกขา.
ธรรมเหล่าไหน ชื่อว่าสิกขา สมัยใด พระ-
โยคาวจรเจริญมรรคด้วยการเข้าถึงอรูปฌาน ไป
กับเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ ความไม่กวัด-
แกว่งก็มี ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าสิกขา.
ธรรมเหล่าไหน ชื่อว่าสิกขา สมัยใด พระ-
โยคาวจรเจริญโลกกุตรฌาน เป็นธรรมนำสัตว์ออกจาก
ทุกข์ ฯลฯ ความไม่กวัดแกว่งก็มี ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า
สิกขา.

บทคืออุบายเครื่องถึง อีกอย่างหนึ่งเป็นมูล เป็นที่อาศัย เป็นที่ตั้ง
แห่งสิกขาอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาสิกขาเหล่านั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า สิกขา
บท
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า "พระโยคาวจรอาศัยศีลตั้งอยู่ในศีล
เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7"
อย่างนี้เป็นต้น. พึงทำการชี้แจงโดย
พยัญชนะ โดยอรรถะ ทั่ว ๆ ไปแก่บททั้งหลายทั่วไป ในบทเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้.

พรรณนา 5 สิกขาบทข้างต้น


คำใดข้าพเจ้า กล่าวไว้ว่า แต่ใน 5 สิกขาบทข้างต้น จำต้องชี้แจง
โดยประกาศความที่แปลกกัน ฯลฯ พึงทราบวินิจฉัย ฯลฯ ในคำนั้น บัดนี้
ข้าพเจ้าจะกล่าวชี้แจงดังนี้ ก่อนอื่น ในคำว่า ปาณาติปาโต นี้ บทว่า ปาโณ
ได้แก่ความสืบต่อแห่งขันธ์ที่นับเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์. อีกนัยหนึ่ง ได้แก่ สัตว์
ที่บัณฑิตอาศัยความสืบต่อแห่งขันธ์นั้น บัญญัติไว้. ก็วธกเจตนา เจตนาคิดจะ
ฆ่าของบุคคลผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้นว่าเป็นสัตว์มีชีวิต เป็นสมุฏฐาน
แห่งความพยายามที่จะตัดชีวิตินทรีย์ของสัตว์มีชีวิตนั้น เป็นไปทางกายทวาร
และวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่าปาณาติบาต.
ในคำว่า อทินฺนาทานํ นี้ บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ ทรัพย์สิ่งของ
ที่เจ้าของหวงแหน. ซึ่งเจ้าของเองเมื่อทำตามที่ต้องการ ก็ไม่ต้องโทษ ไม่ถูก
ตำหนิเถยยเจตนา เจตนาคิดจะลัก ของบุคคลผู้มีความสำคัญในทรัพย์สิ่งของที่
เจ้าของหวงแหนว่าเป็นทรัพย์สิ่งของที่เจ้าของหวงแหน เป็นสมุฏฐานแห่งความ
พยายามที่จะลักทรัพย์สิ่งของนั้น เป็นไปทางกายทวารและวจีทวาร ทวารใด
ทวารหนึ่งนั้นแล ชื่อว่าอทินนาทาน.
บทว่า อพฺรหฺมจริยํ ได้แก่ ความประพฤติไม่ประเสริฐ. เจตนา
เป็นเหตุละเมิดฐาน. คือ การซ่องเสพอสัทธรรม เป็นไปทางกายทวารโดยการ
ซ่องเสพเมถุนคือการสมสู่กันสองต่อสอง ชื่อว่า อพรหมจรรย์.
ในคำว่า มุสาวาโท นี้ บทว่า มุสา ได้แก่ วจีประโยคหรือ กาย
ประโยค ที่หักรานประโยชน์ของบุคคลผู้มุ่งจะให้คลาดเคลื่อนจากความจริงเป็น
เบื้องหน้า มิจฉาเจตนา เจตนาที่จะพูดผิด ทำผิด ของบุคคลนั้น ด้วยประสงค์
จะให้ผู้อื่นเข้าใจผิด เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยคที่จะทำผู้อื่น