เมนู

2. พรรณนาสิกขาบท


หัวข้อปาฐะว่าด้วยสิกขาบท


ครั้นแสดงการเข้าสู่พระศาสนาด้วยการถึงสรณคมน์อย่างนี้แล้ว เพื่อ
จะพรรณนาปาฐะที่ว่าด้วยสิกขาบท ซึ่งตั้งเป็นบทนิกเขปไว้ เพื่อแสดงสิกขาบท
ทั้งหลาย อันอุบาสกหรือบรรพชิต ผู้เข้ามาสู่พระศาสนาจะพึงศึกษา เป็นอัน
ดับแรก บัดนี้ข้าพเจ้าจะกล่าวมาติกาหัวข้อดังต่อไปนี้
สิกขาบทเหล่านี้ ผู้ใดกล่าว กล่าวที่ใด กล่าว
เมื่อใด กล่าวเพราะเหตุใด จำต้องกำหนดกล่าวทำ
นัยนั้น โดยความแปลกแห่งสิกขาบททั่วไป จำต้อง
กำหนดโทษทั้งเป็นปกติวัชชะ และปัณณัตติวัชชะ ทำ
การชี้แจงนัยทั่วไป ทั่วทุกสิกขาบท โดยพยัญชนะ
และอรรถะของบททั้งหลาย.
แต่ใน 5 สิกขาบทต้น พึงทราบวินิจฉัย โดย
ประกาศความแปลกกัน ของสิกขาบททั่วไปโดยความ
เป็นอย่างเดียวกัน และความต่างกันเป็นอาทิ ตั้งต้นแต่
ปาณาติบาตเป็นต้นไป โดยอารมณ์ การสมาทานและ
การขาด โดยความมีโทษมาก โดยประโยค องค์และ
สมุฏฐาน โดยเวทนา มูลและกรรม โดยการงดเว้นและ
โดยผล.

ข้อยุติคือความถูกต้องจากการพรรณนา 5 สิก-
ขาบทต้น พึงนำมาใช้ใน 5 สิกขาบทหลัง พึงกล่าว
สิกขาบทเป็นข้อ ๆ พึงทราบว่า สิกขาบท มีอย่างเลว
เป็นต้นไว้ด้วย.

ในมาติกาหัวข้อนั้น 10 สิกขาบทมีปาณาติปาตาเวรมณีเป็นต้น นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวตรัสไว้ มิใช่พระสาวก. จริงอยู่ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ถึงกรุงสาวัตถี ทรงให้ท่านพระราหุลบรรพชา
แล้ว ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถี ตรัสสิกขาบท
10 นั้น เพื่อทรงกำหนดสิกขาบทสำหรับสามเณรทั้งหลาย สมจริงดังที่ท่าน
กล่าวคำนี้ไว้ว่า
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับสำราญตามพระพุทธอัธยา
ศัยอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เมื่อเสด็จ
จาริกมาตามลำดับ ก็ถึงกรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของทานอนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ฯลฯ สามเณรทั้งหลายเกิดความคิดว่า สิกขาบททั้งหลายสำหรับ
พวกเรามีเท่าไรกันหนอ พวกเราจะพึงศึกษาในสิกขาบท จำนวนเท่าไร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำความกราบทูลแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตอนุญาตสิกขาบท
10 สิกขาบท สำหรับสามเณรทั้งหลาย เพื่อสามเณรทั้งหลายศึกษา
ในสิกขาบท 10 นั้นคือ ปาณาติปาตา เวรมณี ฯลฯ ชาตรูป-
รชตปฏิคฺคหณา เวรมณี " ดังนี้.

สิกขาบทที่ 10 นี้นั้น พึงทราบว่า ท่านยกขึ้นใช้บอกสอน โดย
แนวพระสูตรว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ สมาทานศึกษา ในสิก-

ขาบททั้งหลาย และโดยแนวปาฐะที่ท่านแสดงไว้ ในสรณคมน์ อย่างนี้ว่า
ปาณาติปาตา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท
คือเจตนางดเว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น พึงทราบนัยที่ว่า "สิกขาบทเหล่า
นี้ ผู้ใดกล่าว กล่าวที่ใด กล่าวเมื่อใด กล่าวเพราะเหตุไร จะกล่าวนัยนั้น"
เท่านี้ก่อน.

กำหนดความแปลกกันของสิกขาบททั่วไป


ก็บรรดาสิกขาบทเหล่านั้น สิกขาบทที่ 4 - 5 สองสิกขาบทข้างต้น
ทั่วไปทั้งอุบาสก ทั้งสามเณรโดยเป็นนิจศีล แต่ว่าโดยเป็นอุโบสถศีล ของ
พวกอุบาสก เว้นสิกขาบทหลังหมด เพราะรวบสิกขาบทที่ 7 และ 8 เข้าเป็น
องค์เดียวกัน สิกขาบททั้งหมด ก็ทั่วไปกับสามเณรทั้งหลาย ส่วนสิกขาบท
หลังเป็นพิเศษสำหรับสามเณรเท่านั้น พึงทราบกำหนดโดยความแปลกกันของ
สิกขาบททั่วไปดังกล่าวมาฉะนี้ พึงกำหนดปกติวัชชะ และปัณณัตติวัชชะ อย่าง
นี้คือ บรรดาสิกขาบทเหล่านั้น 5 สิกขาบทข้างต้น กำหนดด้วยเจตนางดเว้น
จากปกติวัชชะ ของปาณาติบาตเป็นต้น เพราะมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐานส่วนเดียว
สิกขาบทนอกนั้น กำหนดด้วยเจตนางดเว้นจากปัณณัตติวัชชะ.

ชี้แจงบททั่วไป


ก็เพราะเหตุที่บรรดาบทเหล่านั้น บทเหล่านั้นว่า เวรมณีสิกฺขาปทํ
สมาทิยามิ
เป็นบททั่วไปทั้งหมด ฉะนั้น พึงทราบการชี้แจงบทเหล่านั้นทั่ว
ไป ทั้งโดยพยัญชนะ ทั้งโดยอรรถะดังต่อไปนี้.
ในบทเหล่านั้น พึงทราบโดยพยัญชนะก่อน ชื่อว่า เวรมณี เพราะ
เว้นเวร อธิบายว่า ละบรรเทาเวร คือทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี. อีกนัย